หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563

ราชวงศ์ไทยที่ครองราชนานที่สุด



ราชวงศ์ไทยราชวงศ์ใดที่ครองราชย์ได้ยาวนานที่สุด


  • นับแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา
ราชวงศ์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดและไล่ลงไปจากมากสุดหาน้อยสุดดังนี้

  1. ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงส์ที่ครองราชยาวนานที่สุด จากปี พ.ศ.2325 นับถึงปัจจุบัน 2563 รวม238 ปี
  2. ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักสุโขทัย เป็นอันดับ 2 จาก พ.ศ.1792-1981 รวม 189 ปี 
  3. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 178ปี ปกครอง 2ครั้ง ครั้งแรกปกครอง 18 ปี คือจาก พ.ศ.1913-1931 แล้วถูกโค่นล้มโดยราชวงศ์ อู่ทอง จากนั้นกลับมาชิงอำนาจคืน จากราชวงศ์อู่ทอง และปกครองยาวนานถึง 160 ปี จาก พ.ศ.1952-2112 รวมสองสมัยเป็น 178 ปี
  4. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง 79 ปี จากปี พ.ศ.2231-2310 ปี
  5. ราชวงศ์สุโขทัย ปกครอง 61 ปี จากปี พ.ศ.2112-2172 มีกษัตริย์ 7 พระองค์
  6. ราชวศ์ปราสาททอง ปกครอง 58 ปี จาก พ.ศ.2172-2231 มีกษัตริย์ 4 พระองค์
  7. ราชวงศ์อู่ทอง ปกครอง สองครั้ง ครั้งแรก 20ปี จาก พ.ศ.1893-1913มีกษัตริย์ 2 พระองค์ และสมัยที่สอง ปกครอง 21 ปี จากปี พ.ศ.1931-1952 สิริรวม 41 ปี
  8. สมัยกรุงธนบุรี (ไม่มีชื่อราชวงศ์) ปกครอง 15ปี จาก พ.ศ.2310-2325 สิ้นสุดราชวงศ์
ราชวงศ์ที่มีกษัตริย์จำนวนมากที่สุดตามลำดับมากไปน้อยได้แก่

  1. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ทั้งสิ้น 13พระองค์
  2. ราชวงศ์จักรี มีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น นับถึงปัจจุบัน (2563 ) 10พระองค์
  3. ราชวงศ์พระร่วง มีทั้งสิ้น 9 พระองค์
  4. ราชวงศ์สุโขทัยมีทั้งสิ้น 7 พระองค์
  5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวงมีทั้งสิ้น 6 พระองค์
  6. ราชวงศ์ปราสาททองมีทั้งสิ้น 4 พระองค์
  7. ราชวงศ์อู่ทอง มีทั้งสิ้น 3 พระองค์
  8. สมัยกรุงธนบุรี มี 1 พระองค์
ส่วนราชวงศ์ที่ปกครองสั้นที่สุด คือสมัยธนบุรี (ไม่มีชื่อราชวงศ์ )โดยพระเจ้าตากสินมหาราช ปกครองจาก 2310-2325 รวม 15 ปี

กังวาล ทองเนตร ภาควิชาการปกครองคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง





วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ที่มาของรัฐธรรมนูญไทย 20ฉบับ





นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎร ตราบจนปัจจุบัน กันยายน พ.ศ.2563 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 20 ฉบับ โดยผมได้จำแนกแยกย่อยที่มาของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ออกให้เห็นทั้งหมด ดังนี้


มาจาก ส.ส.ร. หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 6ฉบับดังนี้



1. แม้จะยังไม่เรียกว่า ส.ส.ร คือใช้คำว่า กรรมการยกร่าง มี9คนก็คือร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่2ใช้แทนฉบับที่1ของคณะราษฎร

2. ส.ส.ร.ชุดที่2
ซึ่งครั้งนี้เรียกชื่อว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก จำนวน40คน มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่5เพื่อใช้แทนฉบับที่4 (2490,ใต้ตุ่ม)

3. ส.ส.ร.ชุดที่3
 จำนวน240คนมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่8เพื่อใช้แทนฉบับที่7(2502)ที่มาจากยึดอำนาจโดยสฤษดิ์

4.ส.ส.ร.ชุดที่4
จำนวน99คนมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่16(2540)

5. ส.ส.ร.ชุดที่5
แต่งตั้งโดย คมช.จำนวน100คนมาร่างฉบับที่18

6. ส.ส.ร.ชุดที่6
แต่งตั้งโดย คสช.มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่20 (ฉบับปัจจุบัน)



รัฐธรรมนูญที่ร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มี 6 ฉบับ

  • ฉบับที่ 2ชื่อรัฐธรรมนูญคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
  • ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
  • ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
  • ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
  • ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
  • ฉบับที่ 20รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560


มาจากวิธีการอื่นๆ 4 ฉบับดังนี้

  • มาจาก ส.ส.หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 เสนอร่างแล้วให้สภา อนุมัติ 1 ฉบับคือ ฉบับ ที่ 3
ชื่อรัฐธรรมนูญคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (สมัยนี้ ผู้แทนราษฎรมี 2 ประเภท )

  • มาจากสมัชชาแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการยกร่าง 24 คน ยกร่างแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีและสภาอนุมัติ 1 ฉบับคือ ฉบับคือฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

  • มาจาก สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ตั้งกรรมการยกร่างและอนุมัติ 2ฉบับคือ
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และ
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534



มาจากคณะยึดอำนาจและคณะรัฐประหารโดยตรง และคณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง 10 ฉบับดังนี้
  • ฉบับที่ 1พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 มาจากคณะราษฎร
  • ฉบับที่ 4 (ใต้ตุ่ม )รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยชั่วคราว พุทธศักราช 2490มาจากคณะรัฐประหารนำโดย จอมพล ผิน ชุณหวัณ (บิดาพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ )
  • ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 มาจากจอมพล ป.(นายกฯ ) เสนอให้สภาอนุมัติ
  • ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 มาจากคณะยึดอำนาจที่ใช้ชื่อว่า คณะปฏิวัติ นำโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
  • ฉบับที่ 9 ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 มาจาก คณะปฏิวัติโดยจอมพล ถนอม กิตติขจร
  • ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 มาจากคณะปฏิวัติ นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ประกาศใช้
  • ฉบับที่ 12รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 มาจากการยึดอำนาจซ้ำ นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
  • ฉบับที่ 14 ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 มาจาก คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์
  • ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยชั่วคราว พุทธศักราช 2549 มาจากคณะปฏิรูปการปกครอง (คมช.) นำโดย พล.อ สนธิ บุญยรัตกลิน
  • ฉบับที่ 19รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยชั่วคราว พุทธศักราช 2557 มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา
รวมทั้งสิ้น 20 ฉบับ

เรากำลังจะเดินไปสู่การตั้ง ส.ส.ร.ชุดที่7 เพื่อจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่21เพื่อจะได้ฉีกทิ้งเพื่อที่จะได้ตั้ง ส.ส.ร ชุดที่8+++++ไปอีกจนเมื่อไหร่
นี่คือ ลัทธิรัฐธรรมนูญConstitutionalism.แข่งกันร่างแข่งกันฉีกอยู่ร่ำไปอย่างนั้นหรือ ???


กังวาล ทองเนตร ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง







วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ข้อมูลการทำรัฐประหารในไทย





         ข้อมูลการยึดอำนาจ (รัฐประหาร )ในไทย ทั้งสำเร็จ และไม่สำเร็จ มีดังต่อไปนี้


ที่ยึดอำนาจสำเร็จ มี 11 ครั้ง
  1. เมื่อวันที่ 20 มิ.ย 2476 นำโดย พระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจ รัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
  2. .เมื่อ 8 พ.ย. 2490 นำโดย พล.ท ผิน ชุณหวัณ ( บิดา พล.อ. ชาติชาย ชุณหวัณ ) ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
  3. เมื่อ 29 พ.ย. 2494 นำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง ทำรัฐประหารตนเอง
  4. เมื่อ 16 ก.ย.2500 นำโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม
  5. เมื่อ 20 ต.ค. 2501 นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (เจ้าเก่า ) ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร
  6.  เมื่อ 17 พ.ย. 2514 นำโดย จอมพล ถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
  7. เมื่อ 6 ต.ค. 2519 นำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช
  8.  เมื่อ 20 ต.ค. 2520 นำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ( เจ้าเก่า ) ยึดอำนาจรัฐบาล นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร
  9. เมื่อ 23 ก.พ. 2534 นำโดย พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ (รสช.) ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ ชาติชาย ชุณหวัณ
  10.  เมื่อ19 ก.ย. 2549 นำโดย พล.อ. สนธิ บุญรัตน์กลิน ยึด อำนาจรัฐบาล พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร
11. เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 เวลา 16.30 น นำโดย พล.อ.ประยุทธ จันท์โอชา ภายใต้ชื่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช) ยึดอำนาจ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ( รักษาการ ) โดยมีนายนิวัฒน์ธำรงค์ บุญทรงไพศาล เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่นายกแทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ ถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด กรณีจำนำข้าว


***** หมายเหตุ  *****



  • ยังไม่รวมเหตุการณ์ที่ นายควง อภัยวงค์ โดนจี้ให้ลาออกใน 24 ชั่วโมง เมื่อ วันที่ 8 เม.ย. 2491....**
  • และยังไม่รวมเหตุการที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดางดใช้รัฐธรรมนูญ ด้วย

                                
   ยึดอำนาจไม่สำเร็จอีก 11 ครั้งดังนี้

  1.  เมื่อ 11ต.ค.2476 กบฎ บวรเดช นำโดย พล.อ.พระวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
  2.  เมื่อ 3 ส.ค.2478 กบฎ นายสิบ นำโดย ส.อ.สวัสดิ์ มะหะหมัด
  3. เมื่อ 29 ม.ค.2481 กบฏพระยาทรงสุรเดช นำโดยพระยาทรงสุรเดช
  4. เมื่อ 28 ก.พ. 2491 กบฎแยกดินแดน นำโดย ส.ส. อิสาน กลุ่มหนึ่งเช่น นาย ทิม ภูมิพัฒน์ นายเตียง ศิริขันธ์
  5. เมื่อ1 ต.ค. 2491 กบฎเสนาธิการ หรือกบฏนายพล นำโดย พล.ต. สมบูรณ ศรานุชิต
  6.  เมื่อ26 ก.พ. 2492 กบฎวังหลวง นำโดย นายปรีดี พนมยงค์ เหตุการณ์ครั้งนี้ ฝ่ายนายปรีดี โดนปราบและถูกฆ่ามากมาย
  7. เมื่อ 29 มิ.ย 2494 กบฎแมนฮัตตัน เกิดระหว่างจะไปรับมอบเรือแมนฮัตตัน นำโดย น.อ.อานนท์ บุณฑริกกาภา
  8. เมื่อ8 พ.ย.2497 กบฎสันติภาพ นำโดย กุหลาบ สายประดิษฐ์
  9. เมื่อ 26 มี.ค. 2520 กบฎนำโดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ
  10. เมื่อ 1 เม.ย. 2524 กบฎยังเตอร์ก (เมษาฮาวาย ) นำโดย พล.อ สัณห์ จิตรปฏิมา
  11. เมื่อ 9. ก.ย.2528 นำโดย พ.อ. มนูญ รูปขจร





  • เหตุการณ์ อภิวัฒน์ เมื่อ 24 มิ.ย 2475 ไม่นับรวม
  • เมื่อรวมการยึดอำนาจทั้งหมดทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จรวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง (รวมที่จอมพลผิน จี้นายควง และ พระยามโนปกรณ์ นิติธาดา งดใช้รัฐธรรมนูญด้วย แต่ไม่รวมเหตุการณ์ 24มิ.ย2475 เพราะถือเป็นการ กึ่งอภิวัฒน์ 


         กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง