แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวคือ ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณของขอบแผ่นเปลือกโลกเป็นแนวแผ่นดินไหวของโลก
- การเคลื่อนตัวดังกล่าวเกิดจากชั้นหินหลอมละลายใต้เปลือกโลก ได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลกและลอยตัวขึ้นผลักดันเปลือกโลกตอนบนตลอดเวลาทำให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นเคลื่อนที่ในทิศทางต่างๆพร้อมกับสะสมพลังงานไว้ภายใน
- บริเวณแผ่นเปลือกโลกที่มีการชนกัน เสียดสีกัน หรือแยกจากกันหากผ่านหรืออยู่ใกล้ประเทศใดประเทศนั้นก็จะมีความเสี่ยงภัยที่จะเกิดแผ่นดินไหวสูง เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น
- นอกจากนี้พลังงานที่สะสมใต้เปลือกโลกยังถูกส่งผ่านไปยังเปลือกโลกที่เป็นพื้นทวีปตรงบริเวณรอยร้าวของหินใต้พื้นโลก เรียกว่า รอยเลื่อน
- เมื่อแนวรอยร้าวที่ประกบกันอยู่ได้รับแรงอัดมากๆก็จะทำให้รอยเลื่อนมีการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน และเกิดเป็นแผ่นดินไหวได้
ขนาดของแผ่นดินไหว มีหน่วยวัดเป็น ริกเตอร์ ใช้ความสัมพันธ์ของขนาดโดย ประมาณการสั่นสะเทือนใกล้จุดศูนย์กลาง
- ขนาด 1-2.9 ริกเตอร์ เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนมีความรู้สึกได้ถึงการสั่นไหว หรืออาจมีการเวียนศรีษะได้
- ขนาด 3-3.9 ริกเตอร์ เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้ที่อยู่ในอาคารมีความรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
- ขนาด 4-4.9 ริกเตอร์ เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อยู่ทั้งภายในและนอกอาคารรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือน วัตถุที่ห้อยแขวนแกว่งไกว
- ขนาด 5-5.9 ริกเตอร์ เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือนและวัตถุมีการเคลื่อนที่
- ขนาด 6-6.9 ริกเตอร์ เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
- ขนาด 7.0 ริกเตอร์ขึ้นไป เกิดการสั่นไหวร้ายแรง สร้างความเสียหายให้กับอาคารและสิ่งก่อสร้างอื่นๆเป็นอย่างมาก แผ่นดินมีการแยกตัว วัตถุที่อยู่บนพื้นผิวถูกเหวี่ยง
ภาพความเสียหายจากแผ่นดินไหว
ข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่ กรมอุตุนิยมวิทยา
กังวาล ทองเนตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น