หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

กำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน


หลี่ ต้า เฉา


กำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน

  • ชาวจีนโดยทั่วไปได้เริ่มรู้จักกับลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเป็นจริงเป็นจังเมื่อประมาณ ต้นศตวรรษที่ 20 โดยหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งได้ตีพิมพ์ ประวัติของ คาร์ล มาร์กซ์

  • จากนั้นหนังสือที่เป็นต้นตำรับลัทธิคอมมิวนิสต์ก็เริ่มแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศจีน รวมถึง งานเขียนของ มาร์กซ์เอง และ เองเกล ผู้มีอิทธิพลต่อความคิดของมาร์กซ์
  • ในระยะแรกไม่ได้รับความสนใจจากปัญญาชนชาวจีนมากมายนัก เนื่องจากหลักการของคอมมิวนิสต์ไปขัดกับหลัก จารีต ธรรมเนียมปฏิบัติเก่าของชาวจีน 
  • รวมถึงความสัมพันธ์ทางครอบครัว กรรมสิทธิ์ ในที่ดิน เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันอย่างชัดเจน กับหลักการคอมมิวนิสต์ และปฏิญญา คอมมิวนิสต์ 8 ข้อ ของ มาร์กซ์
  • แต่หลังจากการประชุมที่พระราชวังแวร์ซายส์ ชาวจีนรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับการยกย่องจากชาติตะวันตกเท่าที่ควร ทำให้ชาวจีนมีความรู้สึกไม่ดีต่อชาติตะวันตก รวมถึงปฏิเสธความเจริญตามอย่างชาติตะวันตกอีกด้วย
  • ปัญญาชนจีนจึงหันเหไปสู่แนวคิดแนวทางใหม่ นั่นคือการแก้ปัญหาด้วยแนว สังคมนิยม รวมถึงการปฏิวัติสังคมตามแนวทางของ คาร์ล มาร์กซ์
  • โดยยึดแบบแผนการปฏิวัติพรรคบอลเชวิค ของเลนิน มาเป็นสมมุติฐาน ทำให้ปัญญาชนกลุ่มหนึ่งแน่ใจว่า จะเป็นแบบแผนที่ใช้แก้ปัญหาของจีนได้ด้วยวิธีการเดียวกันคือ ปฏิวัติสังคม ตามแนวทางของระบอบมาร์กซิส
  • พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงได้ถือกำเนิดขึ้นจากปัญญาชนผู้เลื่อมใสแนวคิดนี้จำนวน 12 มาประชุมกันและประกาศจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งจีนขึ้น ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1921
  • โดยกลุ่มปัญญาชนหัวก้าวหน้าผู้จบการศึกษาจากต่างประเทศ อาทิ เฉิน ตู เชี่ยว, ไฉ่ หยวน เผย ที่จบการศึกษามาจากฝรั่งเศส เกา โม โจ , ลู่ชุน จบการศึกษามาจากญี่ปุ่น รวมถึง หูฉื่อ และ เชียง มอนลิน ที่จบการศึกษามาจากอเมริกา และ หลี่ ต้า เฉา เป็นต้น
  • เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้เดินทางกลับบ้านเกิด ได้เผยแพร่แนวคิดของพวกเขา และเผยแพร่แนวปรัชญาจากฝรั่งเศส และได้ โจมตี ลัทธิ ขงจื๊อ ว่าเป็นลัทธิที่บั่นทอน ความสามารถของปัจเจกชน
  • เฉิน  ตู เชี่ยว ได้เรียกร้องให้เยาวชนจีน มีแนวคิดที่เป็นอิสระ ก้าวหน้า และเป็นชาตินิยม
  • ไฉ่ หยวน เผ่ย ได้เรียกร้องให้ การศึกษาของจีน จงหลุดพ้นจากการครอบงำจากการเมือง
  • ส่วน หู ฉื่อไ ด้ใช้วิธีเขียนเผยแพร่เอกสาร ใช้ภาษาง่ายๆที่ชาวบ้านเข้าใจโดยใช้ภาษาพูดมาเป็นภาษาเขียนเผยแพร่แนวคิดกระจายออกไป ซึ่งต่อมารัฐบาล ได้อนุญาตให้นำหลักการของ หู ฉื่อ มาใช้ด้วย


นี่จึงถือเป็นจุดกำเนิดของพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน


เฉิน ตู เชี่ยว


ไฉ่ หยวน เผ่ย



การเติบโตของพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน

  • อยู่ในสายตาของรัสเซียโดยตลอด และได้รับการช่วยเหลือ ด้วยดีเสมอมา โดยรัสเซียเองก็ต้องการใช้ แผ่นดินจีนเป็นกำแพงเพื่อป้องกันการรุกรานจากลัทธิทหารของญี่ปุ่นและลัทธิเผด็จการ ฟาสซิสต์ จากอิตาลี และเยอรมัน
  • และเมื่อ ค.ศ.1931 จีนถูกญี่ปุ่นเข้ารุกราน โดยได้ยึดแมนจูเรียเหนือได้เป็นแห่งแรก และได้จัดตั้งเป็นประเทศ แมนจูกัว ขึ้น อีก 6 ปีต่อมา ปักกิ่งถูกรุกราน
  • นขณะที่  เจียง ไค เช็ค ไม่ได้ให้ความสนใจ แต่กลับตั้งหน้าตั้งตาไล่บดขยี้พรรคคอมมิวนิสต์ ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองกับ พรรค ก๊ก มิน ตั๋ง ให้สิ้นซาก
  • ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ใช้เป็นข้ออ้างที่พรรคก๊กมิน ตั๋ง ไม่ปราบปรามญี่ปุ่น มาเป็นประเด็น ปลุกระดมมวลชนให้ชาวจีนรักชาติ ร่วมกันขับไล่ญี่ปุ่น และเจียง ไค เช็ค ออกไป จนประสบผลสำเร็จ
  • หลังจากก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์มาถึง 20 ปี พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ในปี ค.ศ. 1945
  • อเมริกา และรัสเซีย ตกลงแบ่งกันปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น
  • โดยอเมริกาเข้าปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นทางภาคใต้ และนำอาวุธที่ปลดนั้นมอบให้กับกองกำลังสหประชาชาติ
  • ส่วนรัสเซียเข้าปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นทางภาคเหนือ แต่ รัสเซียกับทำผิดข้อตกลง โดยนำอาวุธที่ปลดจากทหารญี่ปุ่นไปมอบให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน รวมถึงพื้นที่ยึดครองไปมอบให้ด้วย จึงเกิดการสู้รบกันขึ้น ระหว่าง 2 เสือขั้ว อำนาจในจีน คือ พรรค ก๊ก มินตั๋ง และ พรรคคอมมิวนิสต์


  อ่านเรื่องราวต่อเนื่องได้ ที่ด้านล่างนี้





สมัยสาธารณรัฐประชาชนจีน

  • กันยายน ค.ศ. 1949 เหมา เจ๋อ ตุง เรียกประชุมกรรมการที่ปรึกษาทางการเมืองขึ้น ผลของการประชุมคือ

  1. ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองปี ค.ศ.1949
  2. ประกาศใช้สัญลักษณ์ของธงประชาติ โดยที่ประชุมมีมติให้ใช้พื้นสีแดง มีดาวใหญ่ สีเหลือง และดาวเล็กอีก 4 ดวงโดยวางอยู่ต่ำลงมากว่าดาวใหญ่เล็กน้อย
ความหมายคือ


  • ดาวใหญ่ หมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีน
  • ส่วนดาวเล็ก 4 ดวง หมายถึง ชนชั้น 4 ชนชั้นที่ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนพัฒนาประเทศ ตามอุดมการณ์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ อันได้แก่ 
  1. ชนชั้นกรรมาชีพ
  2. ชนชั้นชาวไร่ชาวนา
  3. ชนชั้นนายทุนน้อย
  4. ชนชั้นนายทุนแห่งชาติ


ตามธรรมนูญการปกครองประเทศจีนปี ค.ศ. 1949 ได้กำหนดแนวทางการปกครองประเทศไว้ว่า เป็นรูปแบบประชาธิปไตยรวมศูนย์ ตามอุดมการณ์ของ เลนิน
กล่าวคือ มีสิทธิในการพิจารณาปัญหาร่วมกัน แต่ เมื่อมีมติแล้วให้ถือเป็นมติของพรรค แม้ส่วนตัวจะไม่เห็นด้วยก็ต้องปฏิบัติตามมตินั้นอย่างเคร่งครัด





โครงสร้างการปกครองระดับชาติของจีน ประกอบด้วย องค์กรสำคัญ 2 องค์กรคือ


  1. พรรคคอมมิวนิสต์
  2. รัฐบาล
ตามทฤษฎีว่ากันว่า ทั้งสองเป็นอิสระต่อกัน และต่างมีอำนาจควบคุมองค์กรในสังกัดที่ต่ำกว่า
เช่น พรรคคอมมิวนิสต์คุม พรรคสภาแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นองค์กรสูงสุดของพรรคอมมิวนิสต์จีน
และคณะกรรมการกลางจะควบคุมดูแลพรรคสภามณฑล
พรรคสภามณฑลก็จะดูแล พรรคสภาอำเภอ ลดหลั่นกันลงไปเรื่อยๆ เป็นต้น

ในส่วนของรัฐบาล ก็จะมอบอำนาจให้ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ตามลำดับ ( เดิมทีเดียวอำนาจสูงสุดมอบให้ประธานาธิบดี และเปลี่ยนมาเป็นประธานพรรคดูแลแทนภายหลัง )


ระบบทหาร

คือกองทัพปลดแอกประชาชน หรือกองทัพแดง ที่เป็นกองกำลังหลักให้พรรคคอมมิวนิสต์ได้คุมอำนาจรัฐ โดย ทหารในกองทัพแดงจะสมัครเข้ารับใช้  พรรค ด้วยความสมัครใจตามธรรมนูญปกครอง ค.ศ.1949
แม้ในปี 1954จีนจะได้มีการจัดตั้งกระทรวงกลาโหมขึ้นแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริงกระทรวงกลาโหมไม่ได้มีอำนาจในการบังคับบัญชาการกองทัพแดงแต่อย่างใด แต่ กลาโหมมีหน้าที่แค่ ดูแลเรื่องการปฏิวัติชนชั้นเท่านั้น

อำนาจที่แท้จริงที่บัญชาการกองทัพแดงของจีนคือ
  • คณะกรรมาธิการกิจการทหาร ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์อีกทอดหนึ่ง ( พูดง่ายๆก็คือ พรรคคอมมิวนิสต์มีอำนาจสูงสุด เหนือทุกองค์กรและมีอำนาจบัญชาการทิศทางของประเทศจีนในทุกระดับนั่นเอง )


กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครองจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง


ติดตามเนื้อหาอื่นเพิ่มเติมได้ที่นี่ >> [ 1 ] [ 2 ] [ 3 ] [ 4 ]



 สถานที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน





หออนุสรณ์การประชุมผู้แทนสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งแรก


                       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น