หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กำเนิดศาสนาอิสลาม





ศาสนาอิสลาม


  • ศาสนาอิสลาม จัดอยู่ในกลุ่ม ศาสนา เอกเทวนิยม คือ เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว และเป็นศาสนา ที่มาสายเดียวกันกับ ศาสนา ยิว และศาสนาคริสต์ มีความมุ่งหมายคือ พระเจ้าสูงสุดองค์เดียวเท่านั้น ผู้ก่อตั้งศาสนา หรือศาสดาของศาสนาคือ ท่าน นบีมูฮัมหมัด


ชีวประวัติของท่านนบีมูฮัมหมัดพอสังเขป


  • ท่านนบีมูฮัมหมัด เกิดที่เมืองเมกกะ ประเทศอาหรับ ( ปัจจุบันคือซาอุดีอารเบีย ) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.1113 เป็นบุตรคนเดียวของท่านอับดุลเลาะห์ และนางอามีนะฮ์
  • ท่านนบี กำพร้าบิดามารดาตั้งแต่เยาว์วัย ผู้เป็นปู่ จึงนำไปอุปการะเลี้ยงดู ต่อมาปู่ของท่านก็ถึงแก่กรรมไปอีก ผู้เป็นลุงจึงนำไปอุปการะจนอายุได้ 25 ปีท่านจึงได้แต่งงานกับหญิงหม้ายวัย 40 ปี ชื่อนางคอดียะห์ มีบุตรด้วยกัน 6 คน เป็นชาย 2 เป็นหญิง 4 คน แต่บุตรชายของท่าน เสียชีวิตหมดทั้ง 2 คน ท่านจึงได้นำ อาลี บุตรของลุงมาเลี้ยงแทน
  • เมื่ออายุได้ 40ปี ท่านนบีได้ออกแสวงหาความวิเวก ณ ถ้ำ ฮิรอฮ์ ห่างจากเมือง เมกกะประมาณ 3 ไมล์
  • วันหนึ่งท่านนบีได้พบกับเทพญิบรออิล ผู้เป็นฑูตแห่งสวรรค์ซึ่งได้ยื่นโองการจากสวรรค์ให้ท่าน เมื่อกลับบ้าน ท่านนบีได้เล่าให้ภรรยาฟัง ภรรยาจึงกล่าวกับท่านว่าท่านจะได้เป็นศาสดา



การประกาศศาสนา

  • การประกาศศาสนาเริ่มขึ้นที่เมกกะ เมื่อท่านนบีอายุได้ 40 ปี โดยช่วง 3 ปีแรกการประกาศศาสนาเป็นไปอย่างเร้นลับ ต้องต่อสู้กับอุปสรรคมากมาย เพราะผู้คนยังเชื่อและยึดติดอยู่กับความเชื่อดั้งเดิม
  • ท่านนบีจึงถูกปองร้ายจึงได้อพยพไปยังเมืองยัทริบ ( Yarthrib) การอพยพครั้งนี้ ตรงกับวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.1165 คือเริ่มศักราชที่ 1 ของการอพยพ และนับเป็นการเริ่มต้น แห่งฮิจเราะห์ศักราชของศาสนาอิสลาม
  • ในขณะที่ท่านนบีได้พำนักอยู่ที่เมือง ยัทริบ กองทัพของเมกกะได้ยกมารุกราน ถึงแม้กำลังจะมีน้อยกว่า แต่ท่านนบีก็สามารถปราบทัพของเมกกะได้อย่างราบคาบ 
  • ต่อมาเมืองยัทริบได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นเมือง เมดินา และท่านนบีมูฮัมหมัดได้รับเกียรติให้ปกครองเมืองนี้
  • และช่วงเวลานี้ท่านนบีก็ได้ทำสงครามกับชาวเมืองเมกกะอีกหลายครั้งและได้รับชัยชนะ ในพ.ศ. 1173
  • และในที่สุด ศาสนาอิสลามก็ได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองเมกกะนี้ และได้สถาปนาอาณาจักรของชาวอาหรับขึ้น
  • ท่านนบีได้นำเผยแผ่ศาสนาอิสลามมาได้ 23 ปี ท่านก็ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. 1175 รวมอายุของท่านได้ 63 ปี



คัมภีร์ของศาสนาอิสลาม

คัมภีร์ของศาสนาอิสลามมีทั้งหมด 104 คัมภีร์ แต่ที่สำคัญมี 4 คัมภีร์คือ

  1. คัมภีร์เตารอต ได้แก่พันธสัญญาเดิมของศาสนายิวและศาสนาคริสต์ประทานแก่ โมเสส หรือ นบีมูชา
  2. คัมภีร์ชาบูร ประทานแก่นบีดาวูด หรือ เดวิด
  3. คัมภีร์อินญิล ประทานแก่ บีอีซา ( พระเยซู ) คือคัมภีร์ พันธสัญญาใหม่ ซึ่งผมจะนำเสนอในโอกาสต่อไป
  4. คัมภีร์อัลกุรอาน หรือโกรัน ( Koran )ประทานแก่ นบีมูฮัมหมัด ซึ่งถือว่าเป็นภาคจบหรือภาคสุดท้าย ของคัมภีร์ที่พระเจ้าประทานต่อมนุษย์ 

นิกายของศาสนาอิสลาม

  • ศาสนาอิสลามก็เช่นเดียวกับสาสนาอื่น เมื่อสิ้นองค์ศาสดา ก็จะมีผู้ตีความพระคัมภีร์ตามความเชื่อของตนจนเกิดนิกายใหม่และวิธีปฏิบัติที่แตกต่างจากเดิมออกไป
  • ศาสนาอิสลามคล้ายคลึงกับศาสนาคริสต์คือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว โดยอิสลามใช้สัญลักษณ์ของศาสนา เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว คล้ายจะอมดวงดาว และมีนิกายสำคัญดังนี้
  1. นิกายซุนนี ( Sunni ) คำว่าซุนนี หรือสุหนี่ เป็นคำที่มีรากศัพย์มาจากภาษาอาหรับ คือคำว่า ซุนนะฮ์ ที่แปลว่า จารีต  นิกายนี้มีการปฏิบัติตามคำสอนขององค์ศาสดา โดยยึดคัมภีร์อัลกุรอาน เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตด้วย เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุด และมีผู้นับถือมากที่สุดในศาสนาอิสลาม  โดยใช้หมวกสีขาว เป็นเครื่องหมายแห่งนิกาย มีหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัด นิกายนี้ยกย่องว่า กาหลิบ และอิหม่าม เป็นผู้สืบทอดศาสนา ต่อจากท่านนบี กาหลิบคนแรกของนิกาย ซุนนี คือ  อาบูบากร์ ซึ่งเป็นพ่อตาของท่านนบีมูฮัมหมัด และถือเอาว่าผู้ที่สืบเชื้อสายจาก อาบูบากร์ เป็นกาหลิบที่แท้จริง
  2. นิกายชีอะห์ ( Shiah )  หรือ Shi- ite หรือ มะงุ่น คือพวกเจ้าเซนบุตรอาลี โดยนิกายนี้ใช้หมวกสีแดงเป็นเครื่องหมาย นิกายยกยกเอาอาลี ซึ่งเป็นบุตรเขยของท่านนบีมูฮัมหมัด และไม่ยอมรับ อาบูบากร์ ว่าเป็นศาสนทายาทที่แท้จริงของท่านนบี พิธีสำคัญของนิกาย เช่นจะมีการเต้นเจ้าเซน ในเดือนโมหรั่ม เพื่อรำลึกถึงวันสิ้นชีพของบุตรของอาลี
  3. นิกายวาฮะบี ( Wahabi ) ผู้สถาปนานิกายนี้คือ มุฮัมหมัด บินอับดุล วาฮับ เกิดนิกายนี้ขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2234-2299 มีจุดประสงค์คือต้องการรักษาศาสนาอิสลามไว้ให้คงความบริสุทธิ์เหมือนเดิมทุกประการ โดยนับถือความเป็นใหญ่ของคัมภีร์อัลกุรอาน เป็นที่สุด และมีความพยายามแปลคัมภีร์นี้ให้ตรงพระคัมภีร์เดิมทุกตัวอักษร ปฏิเสธคำอธิบายของนิกายสุหนี่ นับถือพระอัลเลาะห์ เพียงพระองค์เดียว ไม่นับถือ นบี หรือ กาหลิบ คนใดทั้งสิ้น ว่าเป็นผู้สืบต่อศาสนา เพราะนิกายนี้ถือว่าการทำเช่นนั้นถือเป็นการยกย่องเอาบุคคลขึ้นมาเทียบเท่าพระอัลเลาะห์ รวมถึงนิกายนี้ไม่ยอมรับ อิหม่าม หรือนักปราชญ์อื่นในศาสนาอิสลามในฐานะผู้ตีความคำสอนของศาสนาอิสลาม และไม่อนุญาตให้มีพิธีกรรมใดๆ ที่นอกเหนือจากที่มีบัญญัติไว้ในอัลกุรอานเท่านั้น
หลักคำสอนสำคัญของศาสนาอิสลาม

หลักศรัทธา 6 ประการ ที่ผู้เป็นมุสลิมต้องยึดมั่นไว้ตลอด มีดังนี้

  1. ศรัทธาในพระเจ้า ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องมีศรัทธาในพระอัลเลาะห์ หรือพระเจ้าองค์เดียว ห้ามมุสลิมทุกคนสักการะสิ่งอื่นนอกจากพระอัลเลาะห์
  2. ศรัทธาใน มลาอีกะห์ ( เทวฑูต ) มลาอีกะห์ คือผู้รับใช้พระเจ้า เป็นเทวฑูต หรือฑูตสวรรค์ มีคุณสมบัติต่างไปจากมนุษย์ คือ ไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่นอน ไม่มีเพศสัมพันธุ์ เป้นวิญญาณที่มองไม่เห็น ไม่กระทำตามอารมณ์ที่ชอบ เพราะเราไม่อาจทราบรูปร่างและจำนวนที่แท้จริงของมลาอีกะห์ พระเจ้าสร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น ญิบรออิล เป็นผู้นำโองการจากพระเจ้ามาถ่ายทอด แก่ศาสนาอิสรออิล ทำหน้าที่ทอดวิญญาณของมนุษย์ออกจากร่างเวลาตาย รกิบอติ๊ก ทำหน้าที่บันทึกความดีความชั่วของมนุษย์ มุสลิมต้องเชื่อว่า มลาอีกะห์ มีอยู่จริง
  3. ศรัทธาในพระคัมภีร์ทั้งหลาย คัมภีร์อัลกุรอาน ถือเป็นคัมภีร์สุดท้ายที่พระเจ้าประทานให้แก่มนุษย์ ดดยผ่านท่าน นบีมูฮัมหมัด
  4. ศรัทธาในบรรดาศาสนฑูต ศาสนฑูตเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่ อัลเลาะห์ทรงเลือก มาเพื่อนำคำสอนของพระองค์มาประกาศแก่มนุษย์ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ นบี หมายถึงผู้ได้รับโองการจากพระเจ้าและปฏิตนตามนั้น และรอซูล หมายถึง นบี ที่นอกจากจะปฏิบัติตามคำสอนของพระเจ้าแล้วยังต้องนำคำสอนดังกล่าวไปประกาศแก่มนุษย์ด้วย เช่น โมเสส พระเยซู และนบีมูฮัมหมัด 
  5. ศรัทธาในวันพิพากษา มุสลิมเชื่อว่าเมื่อมนุษย์ถึงแก่ความตายร่างกายจะเน่าเปื่อย แต่วิญญาณซึ่งเป็นอมตะ จะรอรับผลแห่งการกระทำ ของตนเองสำหรับโลกนี้และต้องถึงวันสิ้นโลก ซึ่งมุสลิมเรียกว่า วันกียามะห์ หรือวันปรโลก การพิพากษา พระเจ้าจะตอบแทนความดีความชั่วให้แก่ทุกดวงวิญญาณ อย่างยุติธรรม และทุกชีวิตจะบังเกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งหลังจากถูกพิพากษา และจะมีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร เสวยผลแห่งคำพิพากษาของพระผู้เป็นเจ้าตลอดไป  โลกใหม่นี้เรียกว่า โลกอาคีวัต
  6. ศรัทธาในกฎกำหนดสภาวการณ์ คือ กฎอันแน่นอนที่พระเจ้าทรงกำหนดสำหรับโลกและมนุษยชาติ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
               6.1 กฎที่ตายตัว เป็นสิ่งเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่นการถือกำเนิด ชาติพันธุ์ รูปร่างหน้าตา ปรากฎการณ์ผ่านธรรรมชาติ
                6.2 กฎที่ไม่ตายตัวเป็นกฎที่ดำเนินไปตามเหตุปัจจัย คือ การทำดี ทำชั่ว รวมถึงผลตอบแทนที่เกิดขึ้น มนุษย์มีปัญญา มีเหตุผล สามารถเลือกปฏิบัติและไม่ปฏิบัติก็ได้ มุสลิมถือว่าพระเจ้าได้ประทานสติปัญญาและแนวทางชีวิตที่ดีงามมาให้แล้ว เพียงแต่มนุษย์จะดำเนินตามหรือไม่เท่านั้น


หลักปฏิบัติ 5 ประการของมุสลิม


1. การปฏิญานตน 


  • คือการปฏิญานตนยอมรับ พระอัลเลาะห์เป็นพระเจ้าแต่เพียงองค์เดียว และยอมรับว่า นบีมูฮัมหมัด เป็น รอซูล ของพระอัลเลาะห์
2.การละหมาด 

  • คำว่าละหมาด หรือ นมาช มีรากศัพท์เดิมมาจากภาษา เปอร์เซีย ( อิหร่านปัจจุบัน ) หมายถึงการขอพร เป็นการนมัสการพระเจ้าแสดงความเคารพทั้งกายและใจ แสดงถึงความภักดีต่อพระเจ้า การละหมาดจะปฏิบัติกันวันละ 5 ครั้งดังนี้
  • เช้า    เวลา ตี  4.30   น.    เรียกว่า        ซูบุห์
  • เที่ยง เวลา     12.00  น.     เรียกว่า      ลาฮอร์
  • บ่าย   เวลา     15.15 น.      เรียกว่า      อาซาอาร์
  • เย็น    เวลา      18.00 น.     เรียกว่า      มากริบ
  • ค่ำ      เวลา      19.15 น.     เรียกว่า      อีกซัก

    3.  การถือศีลอด
  • เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัศศิยาม แปลว่า การละ หรือ การงดเว้น หมายถึงการงดเว้น บริโภคอาหาร และเครื่องดื่ม การร่วมประเวณี การประพฤติชั่วทาง กาย วาจา ใจ ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนถึง พระอาทิตย์สิ้นแสง มีระยะเวลา การถืออด 1 เดือน เรียกว่าเดือน รอมฎอน คือ เดือน 9 ของฮิจเราะห์ ศักราช ซึ่งสำนักจุฬาราชมนตรีจะเป็นผู้ออกประกาศการเริ่มถือศีลอด ไปยังมุสลิม ให้ทราบโดยทั่วกัน
     4. กาซากาต หรือ การบริจาค 
  • ซากาต มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การทำให้บริสุทธิ์ หมายถึงการบริจาคทาน ให้มุสลิมบริจาคทรัพย์ของตนส่วนหนึ่งที่หามาได้ด้วยความสุจริต เป็นทานแก่คนยากจน คนขัดสน เพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้นลง ตามบทบัญญัติในพระคัมภีร์ระบุไว้ว่า ในรอบปีหนึ่ง จะซากาตในอัตรา ร้อยละ 2.5 % ของทรัพย์สินหมุนเวียนที่มีอยู่ 
  • สำหรับซากาตฟิตเราะห์ ได้แก่ บริจาคเนื่องในวันตรุษ อีดิลฟตรี คือหลังจากเสร็จสิ้นการถือศีลอด จะบริจาคเป็นข้าวหรืออาหารหลักของท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวสาลี เป็นต้น

   5. การประกอบพิธีฮัจญ์ 
  • คำว่า ฮัจญ์ หมายถึง การไปสู่ หรือการไปเยือน หมายถึงการปรพกอบพิธีศาสนกิจ ณ วิหาร กาบาห์ หรือ บัยตุลเลาะห์ ที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอารเบีย
  • พิธีฮัจญ์ เป็นหลักปฏิบัติเพียงข้อเดียว ของศาสนาอิสลามที่ไม่บังคับ ให้มุสลิมทุกคนต้องกระทำ โดยให้ปฏิบัติเฉพาะผู้ที่มีความพร้อม มีสุขภาพแข็งแรง มีเงิน สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เท่านั้น และต้องไม่เป็นหนี้สินเป็นการเดือดร้อน และการเดินทางไป ฮัจญ์จะต้องได้รับการยินยอมจากคนในครอบครัวด้วย

ปฏิทิน ฮิจเราะห์ 12 เดือน ในศาสนาอิสลาม




  1. เดือนมุฮัรรอม
  2. เดือนซอฟัร
  3.  เดือนร่อบีอุ้ลเอาวั้ล
  4. เดือนร่อบีอุซซานีย์
  5. เดือนญะมาดิ้ลอูลา
  6.  เดือนญะมาดิซซานีย์ 
  7. เดือนร่อญับ
  8.  เดือนชะอ์บาน 
  9. เดือนรอมฎอน
  10. เดือนเชาวาล
  11. เดือนซุ้ลเกาะอ์ดะห์
  12.  เดือนซุ้ลฮิจญะห์ 




                                                       



กังวาล ทองเนตร เรียบเรียง





การละหมาด 1


การละหมาด2


                 ติดตามอ่านเนื้อหาต่อเนื่องใน >> >> โลกอิสลาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น