วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
- วันสำคัญทางศาสนาหมายถึง วันที่เกิดเหตุการณ์พิเศษ บางอย่างขึ้นในพระพุทธศาสนา โดยมากจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า
วันสำคัญในพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่พุทธศาสนิกชน จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยจะมีอยู่ 7 วันดังนี้
1. วันมาฆะบูชา
- วันมาฆะบูชา แปลว่า การบูชาในเดือน 3 ซึ่งนับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนาท่ามกลางพระสงฆ์ ณ เวฬุวันมหาวิหาร โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงปรารภเหตุสำคัญ 4 ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาตร แปลว่าการประชุมที่พร้อมด้วยองค์ 4 คือ
- วันนั้นเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
- วันนั้นพระอรหันตขีณาสพ จำนวน 1,250 รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
- พระอรหันตขีณาสพ ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้บรรลุอภิญญา 6 แล้วทั้งสิ้น
- พระอรหันตขีณาสพทั้งหมดในวันนั้น เป็น เอหิภิกขุ คือผู้ที่ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
- และอีก 44 ปี ต่อมาในวันเดียวกันนี้มีการปลงพระชนมายุสังขารของพระพุทธเจ้า โดยพรรษาสุดท้ายขณะประทับอยู่ที่ ปาวาลเจดีย์ ใกล้เมืองเวสาลี
- พระองค์ได้แสดงนิมิตโอภาสแก่ พระอานนท์ว่า ผู้ใดเจริญอิทธิบาทธรรม 4 ประการดีแล้ว ถ้าปรารถนาก็มีอายุยืนอยู่ได้ถึงกัป หรือเกินกัป ( 1 กัป เท่ากับ 120 ปี ) แต่พระอานนท์คิดไม่ถึงจึงไม่อาราธนาให้พุทธเจ้าอยู่ต่อ
- เมื่อพระอานนท์ออกไปจากเข้าเฝ้า มารจึงเข้ามาให้พระองค์ปรินิพพาน พระองค์จึงรับอาราธนา โดยกำหนดปริพพานในอีก 3 เดือน ข้างหน้า คือวันวิสาขบูชา ดังนั้นวันที่ทรงตัดสินพระทัยปริพพานจึงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 นั่นเอง
2. วันวิสาขบูชา
- วิสาขบูชา แปลว่าการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
วิสาขบูชา เป็นวันสำคัญพิเศษที่สุดในพระพุทธศาสนา คือเป็นวันที่ พุทธองค์ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ทั้งหมดเกิดขึ้นในวันเดียวกัน ต่างปีกันเท่านั้นเอง แต่เกิดในวันเพ็ญ เดือน 6 เหมือนกันทุกเหตุการณ์ กล่าวคือ
- ประสูติ เมื่อ วันศุกร์ วันเพ็ญเดือน 6 เวลาใกล้เที่ยงก่อนพุทธศักราช 80 ปี ณ ป่าลุมพินีเขตต่อระหว่าง กรุงกบิลพัสด์ และกรุงเทวทหะ
- ตรัสรู้ เมื่อ วันเพ็ญ เดือน 6 อีก 35ปีต่อมา หลังจากพระองค์ประสูติ และออกบวชแสวงโมกขธรรมได้ 6 ปี ที่ใต้ต้นโพธิ์ ชื่อว่า อัสสถะ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุ แคว้น มคธ ปัจจุบัน เรียกว่า ตำบล พุทธคยา ประเทศอินเดีย
- ปรินิพพาน เมื่อ วันเพ็ญ เดือน 6 ในปีที่ 80 ของพระชนมายุของพระองค์ ณ แท่น บรรทม ระหว่าต้นรังคู่ ป่าสาละ เมืองกุสินารา ปัจจุบันเป็นตำบลกุสินาราหรือ กุสินาคาร์ รัฐ อุตตรประเทศ อินเดีย
3.วันอาสาฬหบูชา
- อาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาใน เดือน 8 เป็นวันสำคัญยิ่งอีกวันหนึ่ง เนื่องจากเป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนา เป็นครั้งแรก หลังจากที่พระองค์ทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เรียกว่า ปฐมเทศนา โดยพระธรรมที่ทรงแสดงในวันนั้นเรียกว่า ธรรมจักกัปปวัตนสูตร โดยพระองค์แสดงธรรมโปรดครั้งคือคือปัญจวัคคีย์ และโกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรมก่อน และขอบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์เป็นสงฆ์ รูปแรกในพระพุทธศาสนา ได้นามใหม่ว่า อัญญา โกณฑัญญะ
บทสวดธรรมจักกัปปวัตนะสูตร (ปิดวิทยุที่ด้านข้างบล็อกก่อนค่อยคลิกเปิด )
- แปลว่าการบูชาในวันอัฏฐมี หมายถึง การบูชาในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวัน ถวายพระเพลิงพระสรีระสังขารของพระพุทธองค์ ซึ่งเกิดขึ้นถัดจากวันวิสาขบูชามาเพียง 8 วัน
5.วันเข้าพรรษา
- วันเข้าพรรษาตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน แปด หลังในปีอธิกมาส หรือ ปีที่มี 8 สองหน เป็นวันที่พุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่จำวัด หรืออยู่ประจำที่มิให้ไปพักแรมที่อื่นตลอดระยะเวลา 3 เดือน ไปสิ้นสุดเมื่อ วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 11
แต่ก็มีข้อยกเว้นเอาไว้ในกรณีจำเป็น 4 กรณี ที่ภิกษุ มีเหตุต้องไปจำวัดที่อื่นดังนี้
- เพื่อนสหธรรมิก คือภิกษุสามเณร บิดามารดาเจ็บป่วย เพื่อไปพยาบาลได้
- เพื่อนสหธรรมิกอยากจะลาสิกขา ไปเพื่อระงับมิให้ลาสิกขาได้
- ไปเพื่อกิจของสงฆ์ เช่น หาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิ วิหารที่ชำรุด
- หากทายก นิมนต์ไปทำบุญ จะไปเพื่อฉลองศรัทธาก็ได้ ด้วยอนุโลม
แต่การไปพักแรมที่อื่นตามเหตุ 4 ประการที่กล่าวมานั้นพระองค์อนุญาตได้ครั้งละไม่เกิน 7 วัน เรียกกรณีนี้ว่า สัตตาหะ
- การเข้าพรรษานี้กำหนดให้เป็น 2 ช่วงคือพรรษาแรก กำหนดตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงกลางเดือน 11 เรียกพรรษานี้ว่า ปุริมพรรษา หรือพรรษาแรก
- พรรษาหลังหรือช่วงที่ 2 กำหนดตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 9 ถึงกลางเดือน 12 เรียกว่า ปัจฉิมพรรษา หรือพรรษาหลัง พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้เผื่อ กรณีสงฆ์ที่หาที่อยู่จำพรรษาไม่ได้หรือยังมีกิจที่ต้องทำค้างอยู่ ให้เข้าพรรษาใน ช่วงนี้แทนได้โดยไม่ผิดพระวินัย
6.วันออกพรรษา
- ออกพรรษาตรงกับวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันครบ 3 เดือนแห่งการจำพรรษาพอดี และได้ปฏิบัตตนในพรรษาไม่จาริกไปสถานที่ต่างๆและเหล่าสงฆ์ทั้งหลายได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันตลอดพรรษา มีโอกาสได้ตักเตือน เกี่ยวกับความประพฤติที่เสื่อมเสีย หรือเรียกอีกอย่างว่า วันมหาปวารณา
7. วันเทโวโรหนะ
- วันเทโวโรหนะ หมายถึงวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงจากเทวโลก มาสู่มนุษย์โลก ปัจจุบันประเพณีนี้ได้จำลองเหตุการณ์ อัญเชิญพระพุทธรูปปางประทับยืน 1 องค์ นำหน้าแถวสงฆ์ ส่วนประชาชนที่มาใส่บาตรจะยืนหรือนั่ง 2 แถวหันหน้าเข้าหากัน โดยเว้นทางหว่างกลางให้สงฆ์เดินผ่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น