หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สายอากาศกับสายนำสัญญานแตกต่างกันอย่างไร



สายอากาศ ( Antena )


  • สายอากาศ คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาน ทั้งภาพและเสียง เข้าไปยังภาครับของเรา ไม่ว่าจะเป็นวิทยุหรือโทรทัศน์ ก็ตาม

  • แต่ในประเทศไทยมักจะเรียกสายอากาศว่า เสาอากาศ ซึ่งผิด เรียกให้ถูกต้องต้องเรียกว่าสายอากาศ
  • สายอากาศที่ดีจะต้องสามารถรับสัญญาณที่ต้องการได้แรงที่สุด
  • มีอัตราการขยายสูง หรือที่เรียกว่า GAIN  จะต้องไม่รับสัญญานแปลกปลอมหรือสัญญานสะท้อนกลับ และต้องมีอิมพิแดนซ์เหมาะสมกับสายนำสัญญาน หรือ ฟีดเดอร์  เพื่อถ่ายทอดไปยังเครื่องรับได้อย่างเต็มที่


  • สัญญานที่รับเข้ามาผ่านสายอากาสจะมีขนาดเล็กมาก มีค่าเป็นไมโครโวลท์เท่านั้นเอง หากเครื่องรับอยู่ใกล้เครื่องส่งสัญญานก็จะแรง และเช่นกันเมื่อเครื่องรับอยู่ห่างไกลสัญญานก็จะลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน


  • สายอากาศที่ใช้กันทั่วไปมีอยู่ 3 ประเภทดังนี้

1.สายอากาศ แบบ ยากิ ( YAGI ) หรือที่คนไทยเรียกว่าก้างปลา ประกอบด้วย ส่วนหน้าของแผง เรียกว่ารีเฟลคเตอร์ทำหน้าที่รับสัญญานสะท้อนกลับให้เข้าไปยัง โฟลเดทไดโปล ถัดจากส่วนหน้ามา เรียกว่า โฟลเดทไดโปล คือซี่ที่ สอง ต่อจาก รีเฟลคเตอร์ ส่วนที่สามอยู่ท้ายสุดของแผงเรียกว่า ไดเร็คเตอร์

สายอากาศแบบ  ยากิ  ( YAGI )




2. สายอากาศแบบ วี ( V ) หรือเรามักได้ยินว่าเสาแบบหนวดกุ้ง
สายอากาศแบบ วี ( V )


3. สายอากาศแบบเทเลสโคปิด ( Telescopic ) คือสายอากาศที่ดึงยืดออกและหดตัวลงมาได้ คล้ายกับแบบ วี แต่มี สายเดียว




สายอากาศแบ เทเลสโคปิค ( Telescopic)



  • การที่รับสัญญาน ให้ได้ดีจะต้องประกอบกันด้วย วัสดุที่นำมาทำสายอากาศ  สายนำสัญญาน รวมถึง อิมพิแดนซ์ของเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และ สายอากาศ สายนำสัญญานต้องเท่ากันพอดีด้วยจึงจะส่งผลให้การรับสัญญานเป็นไปด้วยดี





การตั้งเสาเพื่อติดตั้งสายอากาศให้เหมาะกับเครื่องส่งที่สถานีส่งมามีดังนี้

  • รัศมี 0-50 กิโลเมตร  เสาของสายอากาศควรสูงเกินสิ่งกีดขวาง
  • รัศมี 50-65 กิโลเมตร ควรตั้งเสา สายอากาศให้สูง  12 เมตร
  • รัศมี 65-75 กิโลเมตร  ควรตั้งเสาของสายอากาศให้สูง  24 เมตร
  • รัศมี 75 กิโลเมตรขึ้นไป ควรตั้งเสาสายอากาศให้สูง  30 เมตรขึ้นไป


ทั้งหมดนี้ต้องพิจารณา สภาพแวดล้อมรอบข้างด้วย   เช่น  สิ่งกีดขวางต่างๆ    อาทิ ภูเขา ต้นไม้ ตึก เป็นต้น







ภาพแสดงกาเดินทางและการหักเหของคลื่น ผ่านชั้นบรรยากาศในระดับต่างๆของโลก













สายอากาศแบบยากิ หรือที่บ้านเราเรียกแบบก้างปลา


ฟีดเดอร์ ( Feeder ) หรือสายนำสัญญาน

  • ฟีดเดอร์ หรือสายนำสัญญาน ทำหน้าที่รับสัญญาน จากสายอากาศเข้าไปยังเครื่องรับ ฟีดเดอร์ที่ดี จะต้องทำให้มีการสูญเสียของสัญญานให้น้อยที่สุด และจะต้องไม่รับสัญญานรบกวนจากภายนอกด้วย


  • การสูญเสียในฟิดเดอร์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเหล่านี้

  1. คุณภาพของสายที่มีราคาถูก ไม่มีมาตรฐานจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาดจะมีการสูญเสียสัญญานมาก
  2. แบบของสายฟีดเดอร์ เช่น RG-59  สูญเสียมากกว่า RG-140
  3. อิมพิแดนซ์ของสายอากาศและเครื่องรับไม่เท่ากันก็จะมีการสูญเสียมากเช่นกัน
  4. ความยาวของฟีดเดอร์ ถ้าสายยาวมากการสูญเสียก็จะมีมากเช่นเดียวกัน
  5. ความถี่ของสัญญาน ถ้าความถี่ยิ่งสูงการสูญเสียยิ่งมีมากตามไปด้วย
  6. การต่อสาย นำสัญญาน หลายเส้นเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดการสูญเสีย หรือ สายสั้นไม่ถึงเครื่องใช้วิธีต่อสายก็ไม่สมควรกระทำ ควรจะใช้สายเส้นเดียวโดยไร้รอยต่อ เพื่อลดการสูญเสียของสัญญาน

ฟิดเดอร์ หรือสายนำสัญญาน มีอยู่ 2 ประเภทคือ
  1. สายโคแอคเชี่ยล (  Coaxial ) เป็นสายนำสัญญานที่มีอิมพิแดนซ์ 75 โอห์ม คุณภาพและมาตรฐานแตกต่างกันตามราคา รวมถึงวัสดุที่นำมาผลิตด้วย โดยทั่วไปสายโคแอคเชี่ยลจะมีแกนนำสัญญานอยู่ภายในสุด และมีฉนวนหุ้มอีกชั้น ถัดออกมาจะมีสายทองแดงเส้นฝอยถักคลุมรอบ หรือ กระดาษฟอยด์ ก็มีตามราคา  ส่วนที่เป็นสายหุ้มนี้ วัตถุประสงค์เพื่อ ชีลด์ หรือ ดักกรองสัญญานรบกวนจากภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนสายแกนที่นำสัญญานตัวจริงได้ และยังป้องกันไม่ให้ สัญญานภายในแกนสาย หลุดออกไปภายนอกได้ เกิดการสูญเสียภายในสายขึ้น  ดังนั้นสาย โคแอคเชี่ยนจึงเป็นสายที่มีคุณภาพสูง




สายนำสัญญานแบบโคแอกเชี่ยลแบบต่างๆ




  2.สายนำสัญญานแบบทวีนลีด ( Twin Lead ) ทวีน หรือแฝด เป็นสายนำสัญญานแบบสายคู่ ตัวนำสัญญานจะเป็นโลหะ ฝอย ไม่ใช่แกนเดียวเหมือนอย่าง แบบโคแอคเชี่ยน สายแบบนี้ มีค่าอิมพิแดนซ์สูง 300 โอห์ม นั่นหมายถึง มีแรงต้านทานภายในสายสูงมาก ทำให้นำสัญญานได้ไม่ดี มีการสูญเสียภายในสายสูง ป้องกันการรบกวนจากสัญญานภายนอกไม่ได้ มีราคาถูกกว่าสายแบบโคแอคเชี่ยล






สายแบบทวีนลีด


บาลัน ( Balun )

  • บาลันคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ อิมพิแดนซ์แมทชิ่ง มีชื่อเรียกตามลักษณะการใช้งานที่ต่างกัน แต่มันก็คือตัวเดียวกันคือ บาลัน เช่น  สปลิตเตอร์ คัปเปอร์ มิกเซอร์ คอมไบเนอร์ ซึ่งจะเรียกตามการต่อใช้งานแต่ละชนิด ไม่ต้องการแรงไฟ มีส่วนที่เป็น เอ้าท์ พุท และ อินพุท เพื่อต่อสายนำสัญญาน เข้าและออก






บาลัน Balun


  • นอกจากนี้แล้วยังมีอุปกรณ์เสริมอย่างอื่นอีกมากมายที่นำมาต่อใช้งาน เช่น 


  • แอทเท็นนูเอเตอร์ ATTENUATOR เป็นอุปกรณ์ที่ใช้นำมาต่อเพื่อลดความแรงของสัญญาน กรณีที่เครื่องรับอยู่ใกล้กับสถานีส่งสัญญาน ทำให้มีสัญญานแรงเกินไปจนเกิดการเพี้ยนผิดรูปของสัญญาน ก็จะนำอุปกรณ์ชนิดนี้มาต่อใช้เพื่อลดทอนความแรงของสัญญานลง


กังวาล  ทองเนตร

ช่างอิเลคทรอนิคส์ สาขาช่างวิทยุ ช่างโทรทัศน์ขาวดำ โรงเรียนแสงทองอิเลคทรอนิคส์ ช่างโทรทัศน์สี วีดีโอ เลเซอร์คอมแพ็คดิสก์ โรงเรียนช่างเทคนิคเทพนิมิตร ( เทคนิคไทยญี่ปุ่น ) รัฐศาสตร์ การปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง -การสื่อสารมวลชน คอมพิวเตอร์ - คอมพิวเตอร์กราฟฟิคดีไซน์-มัลติมิเดียส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ATTENUATORS 





สายใยแก้วนำแสงอ้อปติคอล



อุปกรณ์ต่อเชื่อม




โครงสร้างของสายนำสัญญานแบบโคแอกเชี่ยน



สายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง หรือสายอ๊อปติคอล





























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น