หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเภทของลำโพง



ลำโพง ( Speaker )

  • ลำโพงเป็นอุปกรณ์แสดงผลอย่างหนึ่งของอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ลำโพงมีหน้าที่หลักคือ เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นเสียงที่มนุษย์เราสามารถรับฟังได้ 20 เฮิร์ตซ์ - 2 หมื่นเฮิร์ต


ลักษณะโครงสร้างของลำโพง

โดยทั่วไปลำโพงจะมีโครงสร้างที่เหมือนกันคือ 
  • มีแม่เหล็กถาวร ( Magnet)
  • มีวอยซ์คอยล์    ( Voice Coil )
  • มีกรวยกระดาษหรือโลหะ ซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้อากาศรอบด้านเคลื่อนไหว หรืออกมาเป็นเสียง


ลำโพงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.ลำโพงฮอร์น ( Horn Speaker ) 
  • ลำโพงฮอร์นมีโครงสร้าง เป็น 2 ส่วน 
  • คือส่วนหน้า หรือส่วนที่เป็นตัวลำโพง ทำด้วยโลหะ เรียกส่วนนี้ว่า ฮอร์น ( Horn ) มีลักษณะเป็นกรวยปากกว้าง
  • ส่วนหลัง คือส่วนของไดร์เวอร์ ( Driver ) หรือเรียกแบบชาวบ้านว่าส่วนหัวกระโหลก ส่วนที่เป็นหัวกระโหลกนี้จะประกอบด้วย แม่เหล็กถาวร ขดลวดวอยซ์คอยล์ซึ่งพันอยู่บนแผ่น ไดอะแฟรม มีขนาดอิมพิแดนซ์ 4 โอห์ และ 16 โอห์ม


  • เสียงที่ผ่านลำโพงฮอร์นออกไปจะเป็นเสียงระดับกลาง คุณภาพเสียงไม่สมบูรณ์ดีนัก แต่ข้อดีคือส่งเสียงไปได้ระยะไกล จึงนิยมใช้กับงานนอกสถานที่งานประชาสัมพันธ์ต่างๆ ส่วนหน้าและส่วนหลังของ ลำโพง ฮอร์น จะมีเกลียวหมุนยึดเข้าหากันหรือคลายออกจากกันได้


ส่นหน้าของลำโพงฮอร์น


ไดร์เวอร์หรือส่วนหลังหรือส่วนหัวกระโหลกของลำโพงฮอร์น

2.ลำโพงไดนามิค ( Dynamic Speaker ) 
  • หรือเรียกอีกอย่างว่าลำโพงกรวยกระดาษ เป็นลำโพงที่ใช้กับวิทยุและเครื่องเสียงทั่วไป มีขนาดหน้ากว้างตั้งแต่ 1นิ้ว ถึง 24 นิ้ว หรือมากกว่า ตามแต่ประเภทการใช้งาน
  • ส่วนประกอบหลักคือโครงเหล็ก ทำหน้าที่ยึดส่วนประกอบอื่นๆเข้าด้วยกัน เช่น แม่เหล็กถาวร กรวยกระดาษ วอยซ์คอยล์



การเกิดเสียง

  • เมื่อเราป้อนสัญญานเสียง ( สัญญานเสียงคือ เสียงที่ถูกเปลี่ยนพลังงานไปเป็นรูปของพลังงานไฟฟ้าแล้ว เรียกว่าสัญญานเสียง ) ให้กับขดลวดวอยซ์คอยล์ของลำโพง จะเกิดกระแสไฟไหลในขดลวดและเกิดเส้นแรงของแม่เหล็กขึ้นโดยรอบ
  • อำนาจสนามแม่เหล็กของวอยซ์คอยล์จะดูดและผลักกันกับเส้นแรงของแม่เหล็กถาวร เนื่องจากสัญญานเสียงจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามความถี่ของสัญญานเสียงที่รับเข้าไป จังหวะนี้จะทำให้กรวยกระดาษที่ยึดติดอยู่กับวอยซ์คอยล์ เกิดการขยับเคลื่อนที่ ดูด และ ผลักอากาศบริเวณโดยรอบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามสัญญานเสียง และ เกิดเป็นเสียงดังออกมาภายนอกเช่นเดียวกับสันญานเสียงที่รับเข้ามา




  • ขดลวดวอยซ์คอยล์ที่ต่อออกมาใช้งานนั้น จะมีขั้ว บวก-ลบ ชัดเจน ที่ขั้วบวก มักจะมีการทำเครื่องหมายหรือตำหนิแสดงไว้อย่างชัดเจน เพื่อสะดวกต่อการต่อใช้งาน
  • หรือถ้ากรณีที่เราไม่ทราบขั้ว หรือไม่มีตำหนิเอาไว้
  • มีวิธีการที่นักอิเลคทรอนิคส์เราใช้ทดสอบหาขั้วกันคือ ใช้ถ่านไฟฉายมา 1 ก้อนแล้วต่อสายจั้มเข้าที่ขั้วของลำโพงทั้งสองขั้ว แล้วให้เราสังเกต อาการที่กรวยกระดาา หรือดอกลำโพง
  • ถ้าเราต่อขั้วบวกของถ่านไฟฉายตรงกับขั้วบวก ของลำโพง ( บวก ตรงบวก ลบตรงลบ ) กรวยกระดาษจะผลักออกมาด้านหน้า แสดงว่าขั้วที่เรากำลังต่อทดลองนั้นถูกขั้วแล้ว
  • ถ้าต่อขั้วบวกของถ่านไฟฉายไปจั้มที่ขั้วลำโพง แล้วกรวยกระดาษลำโพงหุบเข้า หรือยุบตัวลงข้างล่าง แสดงว่า ผิดขั้ว ตรงกันข้ามกับวิธีแรก เพียงเท่านี้เราก็แยกขั้วได้แล้ว



แผ่นไดอะแฟรม


ส่วนประกอบและโรงสร้างต่างๆของลำโพงไดนามิค



ส่วนของแม่เหล็กถาวรและวอยซ์คอยล์ ที่ทำหน้าที่เหนี่ยวนำและแปลงสัญญานเป็นเสียง




เมื่อเราผ่าลำโพงออกมา 
จะเห็นโครงสร้างที่เป็นแผ่นไดอะแฟรมและขดลวดวอยซ์คอยล์
 อยู่แกนกลางแม่เหล็กถาวร



ลำโพงไดนามิคประเภทต่างๆ





ตู้ลำโพงแบบ 3 ทาง ต่ำ-กลาง-แหลม

ชนิดของลำโพง
  • ลำโพงจะมีอยู่ 4 ชนิด แยกตามความสามารถที่ขับเสียงออกมาดังนี้คือ

  1. ลำโพงเสียงรวม หรือฟุลเร้งจ์ ( Full range speaker ) เป็นลำโพงที่สามารถตอบสนองได้ทุกความถี่ อย่างกว้าง คือมีทุกเสียงออกมาแต่จะหาคุณภาพที่ชัดเจนไม่ได้ ส่วนใหญ่จะติดตั้งในวิทยุ ทรานซิสเตอร์ ลำโพงเดียว หรือวิทยุเทปที่มีลำโพงเพียงซ้าย-ขวา สองดอก
  2. ลำโพงเสียงต่ำ หรือเสียงทุ้ม หรือวูฟเฟอร์ ( Woofer Speaker ) เป็นลำโพงที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ตอบสนองย่านความถี่ต่ำหรือเสียงทุ้มได้ดี
  3. ลำโพงเสียงกลาง หรือมิดเร้งจ์ ( Mid range speaker ) เป็นลำโพงที่สร้างขึ้นมาให้ตอบสนองย่านความถี่ปานกลางหรือเสียงคนพูดได้ดี
  4. ลำโพงเสียงแหลม หรือ ทวีตเตอร์ ( Tweeter Speaker ) เป็นลำโพงที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ตอบสนองย่านความถี่สูงหรือเสียงแหลมได้ดี 






ลำโพงวูฟเฟอร์หรือลำโพงเสียงต่ำ





 ลำโพงไฮเอนด์ สำหรับนักเล่นเครื่องเสียงมืออาชีพ


 การต่อลำโพงใช้งาน

  • การต่อลำโพงใช้งานต่อได้ 3 วิธีดังนี้


  1. ต่อแบบอนุกรม หรือแบบอันดับ ( Series )  การต่อแบบนี้ค่าอิมพิแดนซ์ของลำโพงจะสูงขึ้นเท่ากับค่าอิมพิแดนซ์ของลำโพงทุกตัวรวมกัน เช่น ลำโพงตัวที่ 1 มี 8 อิมพิแดนซ์ ตัวที่ 2 8 ตัวที่สาม 8 ก็จะได้ 8+8+8+=24 โอห์ม การต่อแบบนี้ถ้
  2. าลำโพงตัวใดตัวหนึ่งขาด ที่เหลือก็จะไม่ดังตามไปด้วย เพราะเป็นการต่อแบบอันดับกัน คือ ขั้วลบ เข้าขั้วบวกของอีกตัว ลบบวกๆๆๆ ไปเรื่อยจนครบ สูตรการคำนวนคือ Zt=Z1+Z2+Z3+.........ZN
  3. การต่อแบบขนาน ( Parallel ) การต่อแบบนี้ค่าของลำโพงทุกตัวจะลดลง
  4. การต่อแบบผสม ( Series-Parallel ) การต่อแบบนี้เราจะต่อใช้ในกรณีที่มีลำโพงหลายๆตัวและต้องการให้ทุกตัวต่อถึงกันหมด โดยให้มีอิมพิมแดนซ์กับขั้วออกของอิมพิแดนซ์ของเครื่องขยายเสียง (ดูอิมพิแดนซ์เครื่องขยายเสียงได้ตรงที่จุดต่อสัญานออก หรือจุด เอาท์พุท ส่วนใหญ่ จะเป้น 120 โอห์ม

เพิ่มเติม
  •  อิมพิแดนซ์คือ ค่าความต้านทานภายในของลำโพงแต่ละตัว ซึ่งจะมีไม่เท่ากัน เช่น 4 โอห์ม 6 โอห์ม 8 โอห์ม 16 โอห์ม 32 โอห์ม ดังนั้นค่าอิมพิแดนซ์ก็คือค่าความต้านทานที่เกิดจากขดลวด ในกรณีลำดพงก็คือ ขดลวดวอยซ์คอยล์นั่นเอง

  • นอกจากนี้ลำโพงจะมีเสียงดังหรือไม่ดัง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเลขวัตต์เป็นสำคัญ
  • แต่ขึ้นอยู่กับค่าความไวของลำโพงเป็นสำคัญ  เราจะพบตัวเลขพวกนี้อยู่ที่ด้านหลังตู้ลำโพงทุกตัว หรือพิมพ์ไว้ที่แม่เหล็กของลำโพง เช่น ลำโพงตัวหนึ่งมีค่า ความไว ที่ 90 เดซิเบล หรือ 90 db อีกตัว 86 db
  • แน่นอนว่า ลำโพงตัวที่ค่าความไวสูง 90 db จะต้องดังมากกว่าเพราะถ้าเราป้อนเสียง 5 วัตต์เท่ากัน ลำโพงตัวนี้รับเสียงได้เร็วกว่าในขณะที่อีกตัว จะขับไม่ออก ต้องใช้แอมป์ขับขนาดใหญ่กว่า
  • คือยิ่งลำโพงความไวสูง 90-120 db ยิ่งหาแอมป์มาขับง่ายกว่า แม้แอมป์วัตต์ต่ำก็ขับออกเสียงดังกว่า
  • ในขณะที่ ลำโพงความไวต่ำตั้งแต่ 89 db ลงไป จะต้องใช้แอมป์วัตต์สูงถึงจะขับออก
  • แต่ข้อควรจำคือ การที่ลำโพงเสียงดัง หรือเสียงไม่ดัง ไม่ใช่ข้อกำหนดว่าลำโพงตัวนั้นเสียงดี แต่จะต้องประกอบกันเป็นชุด ทั้งแอมป์ที่ขับ คุณภาพดี ลำโพง มีโครงสร้างมีมาตรฐานดี มีค่า ดีบี และค่า อิมพิแดนซ์ หรือค่าโอห์ม ที่สอดรับกับแอมป์ นอกจากนี้ยังรวมถึงวัสดุที่สร้างดอกลำโพง ขนาดตู้วัสดุที่ทำตู้ และสำคัญที่สุดอีกอย่างคือต้นทางคือที่มาของเสียง
  • นั่นคือ แผ่น และเครื่องเล่น รวมถึงตัวผ่องถ่ายสัญญานเสียงนั่นคือสายนำสัญญานเสียงที่ดีนั่นเอง

  • กังวาล ทองเนตร ช่างอิเลคทรอนิคศ์ สาขาช่างวิทยุ ช่างโทรทัศน์ขาวดำ โรงเรียนแสงทองอิเลคทรอนิคส์ สาขาช่างโทรทัศน์สี วีดีโอ เลเซอร์คอมแพ็คดิสก์ โรงเรียน ช่างเทคนิคเทพนิมิตร ( เทคนิคไทยญี่ปุ่น )


สายนำสัญญาน



มิกซ์เซอร์


คีมตัดสาย


เอวีรีซีฟเวอร์แอมป์ ยี่ห้อต่างๆ มีราคาตั้งแต่ 2 หมื่น ถึงหลายแสน มีจำหน่ายทั่วไปตามร้านเครื่องเสียงไฮเอนด์

สุดยอด เอวีรีซีฟเวอร์ ฮาร์แมนการ์ดอน ที่ให้เสียงกระหึ่ม เหมาะสมหรับดูหนังแอคชั่นและฟังเพลง เฮฟวี่ร็อคและลูกทุ่ง ที่มีระบบแยกเสียง เซอร์ราวด์รอบทิศทาง 7.1 ทั้งระบบดอลบี้ดิจิตอล DTS


ลำโพงโฮมเธียเตอร์ ไฮเอนด์ที่ให้คุณภาพเสียงที่ยิ่งกว่าโรงหนัง

ด้านหลังแอมไฮเอนด์ ชุดโฮมเธียเตอร์ เอวีรีซีพเวอร์แอมป์ ที่ให้เสียงสมจริงรอบทิศทางด้วยระบบแยกแยก 7.1



แอมป์หลอดที่มีนักนิยมเพลงทั้งหลายยังหลงไหลในน้ำเสียงที่อ่อนหวานพริ้วสบาย ไม่กระชากหู


โรงหนังส่วนตัวภายในบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น