หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ลมมีกี่ประเภท



ลักษณะของลมแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท


  1. ลมประจำวัน ได้แก่ ลมบก ลมทะเล 

  • ซึ่งเกิดจากการที่พื้นดิน และพื้นน้ำมีความแตกต่างกันในด้านการรับและการคลายความร้อน ซึ่งกลางวันพื้นดินจะได้รับความร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้นทำให้มีความกดอากาศต่ำ  พื้นน้ำที่มีการไหลเวียนอุณหภูมิจะต่ำความกดอากาศจะสูงกว่า จะเกิดลมพัดจากพื้นน้ำเข้าสู่พื้นดิน เรียกว่า ลมทะเล ทำให้ชายฝั่งทะเลในเวลากลางวันอากาศจะเย็นสบาย
  •  ส่วนกลางคืนพื้นดินจะคลายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทำให้มีอุณหภูมิต่ำ ความกดอากาศจะสูงกว่าจึงเกิดลมพัดจากพื้นดินลงสู่พื้นน้ำ เรียกลมนี้ว่า ลมบก

    2.  ลมประจำถิ่น ได้แก่ ลมตะเภา และลมข้าวเบา 


  • ลมตะเภาเป็นลมประจำถิ่นของภาคกลางตอนล่าง ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือน พฤษภาคม พื้นดินหลังการเก็บเกี่ยวถูกปล่อยให้ว่างเปล่า ทำให้อุณหภูมิค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพื้นน้ำบริเวณอ่าวไทย ความกดอากาศเหนือพื้นน้ำจึงสูงกว่า จึงเกิดกระแสลมพัดจากอ่าวไทยเข้าสู่ภาคกลางตอนล่าง เรียกลมนี้ว่าลม ตะเภา 
  • ส่วนลมว่าวเป็นลมเย็นที่พัดมาจากทางเหนือลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน ของทุกปี

  3. ลมประจำฤดู ได้แก่ ลมมรสุมและลมพายุหมุน

  • ลมมรสุมเป็นลมที่พัดเปลี่ยนทิศทางไปมาระหว่างพื้นดินและพื้นน้ำ ฤดูร้อน และฤดูหนาว
  • ส่วนพายุหมุน เป็นลมที่เกิดจาก บริเวณศูนย์กลางมีความกดอากาศต่ำ ส่วนอากาศบริเวณรอบๆจะสูงกว่า และพัดเข้าหาศูนย์กลาง พายุหมุนจะมีความแรงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอัตราความกดอากาศ

พายุหมุนมีความเร็วใกล้จุดศูนย์กลาง 3 ระดับได้แก่

  • พายุดีเปรสชั่นมีความเร็วไม่เกิน 33 น๊อต (61 กม./ ชม. )
  • พายุโซนร้อนมีความเร็วลม 34-63 น๊อต ( 62-117 กม./ชม.)
  • พายุไต้ฝุ่นมีความเร็ว 64 น๊อต ขึ้นไป (118 กม./ชม.)

  • พายุหมุนส่วนใหญ่ที่พัดเข้าสู่ประเทศไทย มีผลทำให้ฝนตกติดต่อกันหลายวัน
  • ส่วนพายุโซนร้อนที่พัดเข้าไทยจะสร้างความเสียหายได้อย่างมากมายเช่นพายุโซนร้อน แฮเรียต ที่พัดเข้าแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2505 สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากมาย หรือ พายุไต้ฝุ่นเกย์ ที่พัดเข้า อำเภอพิปูนและกระทูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอ บางสะพาน จังประจวบคีรีขันธ์ อำเภอท่าแซะจังหวัดชุมพร เมื่อเดือนพฤษจิกายน พ.ศ.2532 ด้วย






พายุหมุนในต่างประเทศ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น