ป่าไม้ในประเทศไทยจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ป่าไม้ผลัดใบ เป็นป่าในเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนสะวันนา ป่าไม้ประเภทนี้จะมีการผลัดใบในฤดูแล้งเพื่อลดปริมาณการคลายน้ำ โดยจะเริ่มทิ้งใบในช่วงปลายฤดูหนาว เช่น ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่มีต้นไม้ใหญ่และขนาดกลางขึ้นปะปนกัน บางบริเวณมีป่าไผ่ขึ้นปะปนด้วย ป่าเบญจพรรณจะพบเห็นอยู่ทั่วไปในประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบป่าแดงหรือป่าโคก ป่าประเภทนี้มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง และมีต้นหญ้าใบยาวขึ้นแซมปะปน พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
ลักษณะป่าเบญจพรรณ
2. ป่าไม้ไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่ขึ้นในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก มีช่วงฤดูร้อนสั้น ป่าที่พบในแบบนี้มีหลายประเภท เช่น ป่าดงดิบในภาคใต้และภาคตะวันออก ลักษณะเป็นป่าทึบ ต้นไม้มีลำต้นสูง มียอดแหลมและมีเถาวัลย์เกาะพันอยู่บริเวณลำต้นถ้าเป็นที่สูงและเทือกเขา เช่นในภาคเหนือ จะเป็นป่าดิบเขา แต่ถ้าสูงกว่า 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล จะเรียกป่าสนเขา สนสองใบ และสนสามใบ จะพบในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น ส่วนป่าชายเลนจะพบมากในภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคกลาง บริเวณอ่าวไทยที่เป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล
ลักษณะป่าดิบชื้น จะมีเถาวัลย์พันลำต้นไม้ใหญ่
- เมื่อปี พ.ศ.2504 ประเทศไทยมีเนื้อที่ป่าทั้งหมด273,624ตารางกิโลเมตร คิดเป็น ร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด
- เมื่อปี พ.ศ. 2525 พื้นที่ป่าของไทยเหลือเพียง 156,600 ตารางกิโลเมตร หรือ 97,875,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 30 ของ เนื้อที่ทั้งหมด
- เมื่อปี พ.ศ. 2539 ประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าเพียง ร้อยละ 28 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศเท่านั้น อีกไม่เกิน 20 ประเทศไทยจะไม่เหลือพื้นที่ป่าที่เป็นป่าผืนใหญ่อีกเลย
ลักษณะป่าสนเขา
ป่าสนภูสอยดาว
ป่าสน
ลักษณะป่าชายเลนของไทย
ขอบคุณภาพประกอบจากเพื่อนบล็อกเกอร์ทุกท่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น