วรรณคดีไทย
- วรรณคดีไทยในสมัยต่างๆมักมีอิทธิพลของสภาพแวดล้อม ทั้ง สภาพการเมือง วัฒนธรรม ศิลธรรม เข้าแทรกอยู่ในเนื้อหาแทบทุกเรื่อง
- ดังนั้นรูปแบบของวรรณคดีแต่ละยุคแต่ละสมัยจึงแตกต่างไปตามแต่สภาพบ้านเมืองในยุคนั้นๆ
จริงอยู่แม้ วรรณคดีไม่สามารถอ้างอิงหรือพิสูจน์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งหมด แต่ก็ปฏิสธไม่ได้ว่าหลักฐานส่วนหนึ่งทางประวัติศาสตร์ก็สามารถ ใช้วรรณคดีเทียบเคียงได้
- หมายเหตุ งานเขียนทุกชนิด เราเรียกว่า วรรณกรรม แต่วรรณกรรมทุกเรื่อง ไม่สามารถเป็นวรรณคดีได้ทั้งหมด จะมีวรรณกรรมเพียงบางเรื่องเท่านั้น ที่ได้รับการยอมรับ ว่าสามารถเป็นวรรณคดีได้
วรรณคดีสมัยสุโขทัย
1.ศิลาจารึกหลักที่ 1
มีการสันนิษฐานว่า จารึก 2 ครั้ง ครั้งแรกจารึกตามพระราชโองการของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ครั้งที่ สอง เป็นของพระมหาธรรมราชาลิไท พระข้อความส่วนใหญ่เป็นการกล่าวเชิดชูยกย่องพ่อขุนรามฯ
ลักษณะคำประพันธ์ เป็นความเรียงร้อยแก้ว บางตอนมีสัมผัส เนื้อหาเป็นการบรรยายสภาพบ้านเมืองในยุคนั้น
2. ไตรภูมิพระร่วง
ผู้แต่งคือ พระมหาธรรมราชาลิไท
ลักษณะคำประพันธ์ เป็นความเรียงร้อยแก้ว
ลักษณะเนื้อเรื่อง เป็นการแสดงคำสอนต่างๆในศาสนาพุทธ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเชื่อของคนไทยแต่โบราณ พรรณนา ถึง นรก สวรรค์ เปรต ฯลฯ เป็นการสอนให้คนเกลียดความชั่ว และให้สร้างความดี
เนื้อเรื่องโดยย่อ ขึ้นต้นด้วยชื่อผู้แต่ง วันเดือนปีที่แต่งและที่มาของเรื่องอย่างละเอียด ความมุ่งหมายในการแต่ง ระบุว่าเพื่อเทศนาโปรดพระมารดา และสั่งสอนประชาชน เนื้อเรื่องกล่าวถึงภูมิทั้ง 3 คือ
กามภูมิ คือ แดนที่เกี่ยวข้องกับกามตัณหา ได้แก่ แดนนรก เดรัจฉาน เปรต และอสูรกาย เรียกว่าทุติยภูมิ หรืออบายภูมิ ส่วนสุขคติภูมิ คือมนุสสภูมิฉกามาพจรภูมิ ได้แก่ จาตุมาหาราช ดาวดึงส์ ยามะ ดุสิต นิมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตถี
รูปภูมิ คือ แดนที่ไม่มีการเกี่ยวข้องกับกามตัณหา ผู้ที่เกิดในแดนนี้ เรียกว่า พรหม มีทั้งหมด 16 ชั้น เรียกว่า โสฬสพรหม ประกอบด้วย
- ปฐมฌาน 3 ได้แก่ พรหม ปาริสัชชา พรหมปโรหิตา และมหาพรหม
- ทุติยฌาน 3 ประกอบด้วย ปริตตาภา อัปปมาฌาภา และอาภัสสรา
- ตติยฌาน 7 ประกอบด้วย อสัญญีสัตตา เวทัปผลา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกุนิฎฐกา
อรูปภูมิ คือ แดนของพรหม ซึ่งไม่มีรูปกาย มีแต่ จิต มีอยู่ 4 แดนได้แก่
อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และ อากิญจัญญายตนะ
ลักษณะของภูมิทั้งสี่ชั้น
ไตรภูมิพระร่วงนี้ เดิมมีชื่อว่า เตภูมิกถา ต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เปลี่ยนชื่อใหม่ มาเป็น ไตรภูมิพระร่วง เมื่อ พ.ศ.2455 จากหลักฐานแจ้งว่า เพื่อให้สอดรับกับ สุภาษิตพระร่วง
ตัวอย่างคำประพันธ์ในไตรภูมิพระร่วง
เปรตลางจำพวกตัวเขาใหญ่ ปากเขาน้อยเท่ารูเข็มนั้นก็มี
เปรตลางจำพวกผอมหนักหนาเพื่ออาหารจะกินบ่มิได้แม้ว่าจะขอดเอาเนื้อน้อย 1 ก็ดี เลือดหยดหนึ่งก็ดี บ่มิได้เลยเท่าว่ามีแต่กระดูก และหนังพอกกระดูกภายนอกอยู่ไส้ หนังท้องนั้นเหี่ยวติดกระดูกสันหลังแลตานั้นลึก แล กลวงดังแสร้างควักเสีย ผมเขานั้นยุ่งรุ่ยร่ายลงมาปกบ่าเขา ฯ
3. สุภาษิตพระร่วง
สันนิษฐานว่าผู้แต่งคือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ลักษณะคำประพันธ์ ตอนต้น แต่งด้วยร่ายโบราณ แต่ส่วนท้าย เป็นร่ายสุภาพ และจบลงด้วยโคลง กระทู้
เนื้อเรื่องวรรณคดีเรื่องนี้ เป็น ภาษิตไทย ใช้ภาษา พื้นๆ ไม่มีภาษิตต่างประเทศหรือพันทางเข้ามาปะปน ภาษาที่ใช้คล้ายกับที่จารึกในศิลาจารึกหลักที่ 1 จุดมุ่งหมายเพื่อสั่งสอนประชาชน
เนื้อเรื่องโดยย่อ
เริ่มด้วยการกล่าวถึงพระร่วงเจ้าที่ครองกรุงสุโขทัย ที่ทรงเห็นเหตุการณ์ในอนาคตจึงทรงบัญญัติสุภาษฺตขึ้นเพื่อสั่งสอนประชาชนทั่วไป เนื้อความสุภาษิตบทแรกคือ เมื่อน้อยให้เรียนวิชาให้หาสินมาเมื่อใหญ่ และจบลงด้วยโคลงกระทู้หนึ่งบท
ตัวอย่างคำประพันธ์ในสุภาษิตพระร่วง
เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินมาเมื่อใหญ่
อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน อย่าริระร่านแก่ความ
ประพฤติตามบูรพระบอบ เอาแต่ชอบเสียผิด
อย่าประกอบกิจเป็นพาล อย่าอาจหาญแก่เพื่อน
เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า หน้าศึกอย่านอนใจ
ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน การเรือนตนเร่งคิด
อย่านั่งชิดผู้ใหญ่ อย่าใฝ่สูงให้พ้นศักดิ์
ที่รักอย่าดูถูก ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง
สร้างกุศลอย่ารู้โรย อย่าโดยคำคนพรอด
เข็นเรือทอดทางถนน เป็นคนอย่าทำใหญ่ ฯ
4. ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
ผู้แต่ง นางนพมาศ ธิดาพระศรีมโหสถ กับนางเรวดีได้รับตำแหน่งสนมเอกมีนามว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์
ลักษณะคำประพันธ์ แต่งเป็นความเรียงร้อยแก้ว มีบางตอน เป็นบทกลอน ดอกสร้อย
เนื้อเรื่องคล้ายสุภาษิตพระร่วง แต่สำนวนการเขียนไม่เก่าถึงสุโขทัย เป็นการกล่าวถึงชาติ ภาษา ยอเกียรติพระร่วง ประวัติของนางนพมาศเองและตลอดจนพระราชพิธีต่างๆ
ตัวอย่างคำประพันธ์
พระศรีมโหสถ ยศกมเลสควรไลหงส์
มีธิดาประเสริฐเฉิดโฉมยง ชื่ออนงค์นพมาศวิลาศลักษณ์
ละไมละม่อมพร้อมพริ้งยิ่งนารี จำเริญศรีสมบูรณ์ประยูรศักดิ์
เนื้อเหลืองเล่ห์ทองผ่องผิวพักตร์ เป็นที่รักดังดวงจิตบิดรเอย
กังวาล ทองเนตร ค้นคว้าเรียบเรียง ติดตามได้ตอนต่อไป ในสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์