หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเป็นหมันในผู้ชายและการปฏิสนธิในมนุษย์



การเป็นหมัน และการปฏิสนธิ ในมนุษย์


  • เซลล์สืบพันธุ์ของผู้ชาย คือ สเปิร์ม ตัวยาว หัวกลมรี หางยาว 
  • ปกติผู้ชายจะมีการหลั่งอสุจิออกมาประมาณ 2-7 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร ต่อครั้ง 
  • ในจำนวนนี้จะมีตัวสเปิร์มอยู่ ประมาณ 150-500 ล้าน ตัว 
  • ( ถ้าต่ำกว่า 150 ล้านตัว ก็แสดงว่า เป็นหมัน )  

  • สเปิร์มเหล่านี้จะเคลื่อนที่โดยอาศัยแรงจากการหดตัวของมดลูกเข้าไปหาไข่ที่รอคอยอยู่แล้วที่ส่วนบนของท่อนำไข่เมื่อพบกันสเปิร์มจะใช้ส่วนหัวเจาะเข้าไปผนังของรังไข่ 
  • ส่วนหางของสเปิร์มคงทิ้งไว้ข้างนอก ( ด้วยเหตุนี้เลยทำให้คนไม่มีหาง ..พูดเล่น ไม่เกี่ยวครับ ) 
  • ในส่วนหัวที่เจาะผนังรังไข่เข้าไปได้เพราะมีเอนไซม์ เรียกว่า ไฮยาลูโรนิเดส ( Hyaluronidase ) และเอนไซม์ ไฮโดโลติค 
  • หลังจากนั้นผนังของไข่จะมีการเปลี่ยนแปลงให้แข็งแรงกว่าเดิม จะเรียกผนังรังไข่ใหม่นี้ว่า เฟอติไลเซชั่น เมมเบรน ( Fertilization Membrane ) เพื่อป้องกันเอนไซม์จากหัวของสเปิร์มตัวอื่นไม่ให้เจาะเข้าผนังไข่มาได้อีก 
  • สเปิร์มที่เหลือก็จะตายไปภายใน 48ชั่วโมง ส่วนไข่ที่ผสมแล้ว ก็จะแตกตัว แบบ โมโตซิส เป็นระยะ พร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างไปด้วย เรียกว่าระยะ คลีฟเวจ ( Cleavage ) ซึ่งจะสามารถเห็นได้หลังจากไข่ได้รับการผสมดีแล้ว 30 ชั่วโมง และจะแบ่งตัวออกเป็นสองเท่าทุก 10 ชั่วโมง ไปเรื่อยๆในขณะที่แบ่งตัวก็เคลื่อนที่เข้าสู่มดลูกไปด้วยซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 -7 วัน 

  • หลังจากไข่ถูกผสมแล้ว จำนวนเซลล์ที่แบ่งตัวได้เป็น 32 เซลล์ เรียกว่า โมรูล่า ( Morula ) ระยะนี้เป็นระยะที่ไข่แบ่งตัวจนเป็นหลายส่วนแล้วจะเกาะกันอยู่ และเตรียมฝังตัวลงภายในมดลูก หลังจาก 8 สัปดาห์ไปแล้วจะเป็นตัวอ่อน ( Embryo ) ที่เป็นรูปร่างแล้ว เรียกว่า ฟีตัส ( Fetus )






โครโมโซม และการ แยกเพศ



  • มนุษย์เราจะมี โครโมโซมอยู่ 23 คู่ 
  • เพศหญิงจะมี จะมีโครโมโซม เอ็กซ์ ( X ) 
  • เพศชายจะมีโครโมโซม เอ็กซ์วาย ( XY ) 
  • ดังนั้นลูกที่เกิดมา ถ้าได้โครโมโซม X จากแม่ และได้โครโมโซม X จากพ่อ ก็จะเป็น XX ลูกคนนั้นจะเป็นเพศหญิง 
  • แต่ถ้าได้ โครโมโซม X จากแม่ และได้ โครโมโซม Y จากพ่อ ก็จะเป็น XY ลูกคนนั้นจะเป็นเพศชาย 











ขอบคุณภาพที่ใช้ประกอบเนื้อหาทั้งหมดจากเพื่อนบล็อกเกอร์ทุกท่าน
ข้อมูลจากหนังสือ SPECIAL BIOLOGY
กังวาล ทองเนตร เรียบเรียง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น