หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

เหมาเจ๋อตุงกับการเมืองจีน

เหมา เจ๋อ ตุง



  • เหมาเจ๋อตุง เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ.1893 หรือ พ.ศ.2436 ในหมู่บ้าน เชาซาน มณฑลหูหนาน
  • บิดาเป็นชาวนา เหมาพี่น้อง 4 คน เป็นชาย 3 หญิง 1 คน


  • สมัยเรียนประถม เหมาเป็นคนชอบอ่านหนังสือนิยาย และเขาชอบอ่านหนังสือนิยายให้เด็กไม่รู้หนังสือฟัง โดนครูทำโทษด้วยการตี เมื่ออายุ 10 ขวบ เขาประท้วงด้วยการหนีเรียน แต่ก็ไม่กล้ากลับบ้านเพราะกลัวโดนพ่อตี เขาหนีไปถึง 3 วัน จนบิดามาเจอ การประท้วงของเขาครั้งนี้ทำให้ครูลดการเข้มงวดลง ทำให้เหมารู้สึกว่า การประท้วงครั้งนี้ได้ผลอย่างยิ่ง


  • เหมามักมีเรื่องเป็นปากเสียงกับบิดาอยู่ตลอด บิดาเหมาเรียนหนังสือเพียง 2 ปี ก็ออกจากโรงเรียน ส่วนมารดาไม่รู้หนังสือ แต่เป็นคนเคร่งในศาสนาพุทธ มารดาไม่เห็นด้วยกับการที่เหมามักใช้การปะท้วงรวมถึงประท้วงบิดาด้วย


  • พออายุได้ 13 ปี เหมาก็ออกจากโรงเรียนมาช่วยครอบครัวทำนา แต่เขายังรักการเรียน ส่วนบิดาจะดุด่าเขาเพราะไม่เห็นความสำคัญการการเรียน เขามักทะเลาะกับบิดาอยู่เป็นประจำ จนในที่สุด เหมาก็หนีออกจากบ้าน และไปเรียนหนังสืออยู่กับทนายตกงานคนหนึ่งเป็นเวลา 6 เดือน


  • ต่อมาที่ฉางซา เกิดการประท้วงของชาวนา มีการตั้งสมาคมลับ แต่ก็ถูกปราบอย่างทารุณ
  • เหมาได้เดินทางไปฉางซา และมีโอกาสได้อ่านหนังสือของขบวนการปฏิวัติเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ เกี่ยวกับปัญหาต่างภายในจีน เช่นความล้าหลัง 


  • เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาตั้งใจจะไปศึกษาต่อ ต่อบิดาไม่เห็นด้วย เขาจึงตัดสินใจยืมเงินจากญาติ เพื่อไปศึกษาต่อที่ เสียงเซียง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของมารดา เขาได้เรียนกับโรงเรียนคนรวย และครูสอนเป็นชาวญี่ปุ่นที่สอนดนตรีและภาษาอังกฤษ เมื่อจบประถม เขาก็ไปศึกษาต่อในชั้นมัธยมที่ เสียงฉา 




  • ที่เสียงฉานี่เอง ที่ทำให้เหมาได้มาเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิวัติต่อต้านพวกแมนจู และการล้มล้างระบอบกษัตริย์ ในปี ค.ศ. 1908 และเขาได้อ่านหนังสือพิมพ์ People's Strength  ที่พิมพ์บทความของ ดร. ซุน ยัด เซน ซึ่งเป็นนักศึกษาจีนที่เรียนในอเมริกา และก่อตั้งสมาคมลับ อยู่ที่ ฮอนโนลูลู ชื่อสมาคมว่า ทุงเหมง หุย เพื่อล้มล้างราชวงศ์แมนจู และให้จีนปกครองแบบสาธารณะรัฐ  เหมาชอบบทความนี้มาก และเขียนบทความสนับสนุน



ดร.ซุน ยัด เซน


  • ต่อมามีการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ แมนจูเป็นผลสำเร็จ เหมาถูกเกณฑ์ให้ไปเป็นทหารเกณฑ์ ได้เข้าร่วมกับการปฏิวัติด้วย ( การปฏิวัติจีน เหมาเป็นแค่ทหารเกณฑ์ที่ถูกเกณฑ์มา เท่านั้นเองยังไม่มีบทบาท )
  •  ตอนถูกเกณฑ์เหมามีอายุเพียง 18 ปี


  • ดร. ซุนยัดเซนได้ถูกเชิญให้เป็นประธานาธิบดีคนแรก ของสาธารณะรัฐ ประชาชนจีน และได้เปลี่ยน สมาคมลับ จากที่เคยชื่อ ทุงเหมง หุย เป็นศูนย์กลางของพรรค ก๊กมินตั๋ง เมื่อเกิดจราจลขึ้นในประเทศ ดร.ซุน ยัด เซน ไม่สามารถควบคุมสถานะการณ์ ในประเทศได้ จึงขอความร่วมมือจากอเมริกา และ อังกฤษ ให้ช่วย

แต่กลุ่มประเทศ ตะวันตกกลับ พลิกขั้วไปช่วย หยวน ซีไข ซึ่งเป็นขุนนาง ปักกิ่ง ของราชวงศ์ชิง  ด้วยความเป็น สุภาพบุรุษ ดร. ซุน เลยหลีกทางให้ หยวน ซีไข เข้าคุม อำนาจ

หยวนซีไข หรือ หยวนซื่อไข่


  • เมื่อเข้ามาคุมอำนาจ หยวน ซีไข ก็ล้มเหลว ไม่สามารถ ปกครองได้ เช่นกัน และนำความแตกแยกมาสู่ประเทศเพราะแต่งตั้งพวกพ้องตน มาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เกิดสงคราม กลางเมืองขึ้น และต่อสู้กันนานถึง 33 ปี


  • ญี่ปุ่นได้โอกาส เข้าแทรกแซง โดยยื่นคำขาดให้จีนทำตามข้อเรียกร้อง 21 ข้อ ซึ่งเป็นการควบคุมการเงินของจีน ควบคุมตำรวจ ทหาร การป้องกันประเทศ รวมถึงการสร้างทางรถไฟ
  • ในที่สุด หยวน ซี ไข ต้องยอมจำนน


  • และได้เกิดขบวนการชาตินิยมขึ้นมา เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น และรัฐบาล


  • เหมาได้ลาออกจากทหารเกณฑ์ มาศึกษาต่ออยู่หลายแห่ง เช่นโรงเรียนทำสบู่ โรงเรียนตำรวจ โรงเรียนกฎหมาย สุดท้ายก็ขออนุญาตบิดาเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนดีๆ แต่ก็เรียนได้เพียงเดือนเดียวก็ต้องลาออกเพราะโรงเรียนสอนเป็นภาษาอังกฤษ เหมาเข้าเรียนที่โรงเรียนประจำได้แค่ 6 เดือน ก็ลาออกอีก เพราะเห็นว่าเข้มงวดเกินไป


  • เหมาตัดสินใจอ่านหนังสือเองที่บ้าน โดยเขาสนใจ อ่าน หนังสือของ อดัม สมิธ เรื่อง The Wealth of Nation, ผลงานของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ เรื่อง  System of Logic
  • ผลงานของ ชาร์ล ดาร์วิน เรื่อง The origin of Spicies , ชังค์ ฌากส์ รุสโซ , มองเตสกิเออ และประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ


  • ค.ศ. 1917 เหมาเดินทางไปที่ ปักกิ่งไปทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์ ของ หลีต้าเฉา ช่วงนี้นี้เองทำให้เหมาได้อ่านบทความของ คาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน เหมาได้อ่าน Communist Manifesto    เหมาจึงเกิดแนวคิดที่จะก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้น


  • พรรคคอมมิวนิสต์ในจีนก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ เดือน กรกฎาคม ค.ศ. 1921 เมื่อมีการประชุมครั้งแรกที่เซี่ยงไฮ้ สมาชิกประกอบด้วยตัวแทน 2 คน จากจำนวน 6 กลุ่มที่ก่อตั้งในเมืองใหญ่ในจีน มีสมาชิกเข้าร่วมประชุม 70 คน เหมาเข้าร่วมประชุมด้วย แต่ หลีต้าเฉาไม่เข้าร่วม เป้าหมายครั้งนี้คือ โค่นล้มชนชั้นนายทุน และก่อตั้งเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ

เหมา เจ๋อ ตุง

  • ฝ่าย ดร.ซุนยัดเซน เมื่อเมื่อพ่ายต้องหลีกทางให้ หยวน ซีไข ก็มา ก่อตั้ง พรรค ก๊กมินตั๋ง อยู่ที่ กวางตุ้ง และจ้างทหารรับจ้างเพื่อรักษาอำนาจตน  เป็นเหตุให้ฝ่าย คอมมิวนิสต์ไม่พอใจ ดร.ซุน ที่คอมมิวนิสต์ มองว่าไม่ต่างอะไรจากพวกขุนนางเก่าที่แบ่งฝักฝ่ายตั้งตนเป็นรัฐอิสระ


  • แต่เมื่อ ค.ศ. 1922 ดร.ซุน ก็ได้ร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ ต่อต้านพวกขุนนาง และผู้ว่าการต่างๆ ขับไล่ ญี่ปุ่นและอังกฤษออกไปได้ การรวมตัวครั้งนี้ มีโซเวียตเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านทหาร และแนะนำให้พรรคก๊กมินตั๋งให้มีระบบจัดการอย่างถูกต้องเป็นระบบ


  • ความบาดหมางเริ่มเกิดขึ้น เมื่อ พรรคก๊กมินตั๋งคาดหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธและทหารจากโซเวียต


  • ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์คาดหวังว่าจะได้แผ่อิทธิพลของตนออกไป ส่วนพวก โคมินเทอนและคอมมิวนิสต์จีนต้องการเข้าแทรกแซงและควบคุมพรรค ก๊กมินตั๋ง ของ ดร.ซุน


ค.ศ.1925 เกิดการนัดหยุดงานในเขตที่ญี่ปุ่นปกครองคือเซี่ยงไฮ้ ตำรวจ อังกฤษยิงคนจีนเป็นชนวนเหตุให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ ที่ต่างชาติมายิงคนจีนเจ้าของประเทศ



เจียง ไค เชค

  • ค.ศ.1926 หลังจากดร.ซุน ยัดเซน ถึงแก่กรรมลงได้ 1 ปี พรรค ก๊กมินตั๋งได้ผู้ นำคนใหม่ คือ นายพล เจียงไคเชค ส่วนเหมา กลับหูหนานและได้ตั้งสมาคมชาวนาขึ้นนับสิบแห่งและรับหน้าที่เป็นฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อ ที่นำมาใช้ในการปฏิวัติ


ในปีเดียวกันหลังเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง เจียงไคเชค ได้นำทัพเข้ายึดเมืองต่างๆทั้งทางภาคกลางทางภาคเหนือได้ และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างล้นหลาม ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์เองก็เข้ายึดถิ่นคนรวยได้หลายเมืองเช่นกัน

  • ค.ศ. 1927 เจียง ไคเชค พยายามกำจัดพรรคคอมมิวนิสต์ให้ออกจากทาง จนมีการปะทะกันเกิดการลุกฮือของชาวนา เข้าฆ่าผู้นำสมาคมและสมาชิกพรรคคอมมิวนิสตืหลายหมื่นคน


  • บทบาทของเหมาได้เกิดจากเหตุการณ์นี้นี่เอง  เหมาได้ใช้ยุทธวิธี สงครามกองโจร ยึดเทือกเขา ซินเกียงเป็นฐาน และขยายแนวรบเข้าไปใน มณฑล ฝูเกี้ยน กวางตุ้ง เกียงสี ในปี ค.ศ.1931


  • เจียงไคเชค นำทัพเข้าบดขยี้คอมมิวนิสต์ ที่เกียงสี จังหวะเดียวกับญี่ปุ่นบุกเข้า แมนจูเรียในปี ค.ศ.1934
  • เจียงไคเชคทำลายฐานทัพพรรคคอมมิวนิสต์อย่างราบคาบ กองทัพพรรคคอมมิวนิสต์นับแสนหนีตายแตกทัพเดินทางถึง 12,070 กิโลเมตร ใช้เวลา 368 วันมีคนรอดตายเพียง 20,000 คน จากจำนวนที่หนีมานับแสน เรียกการเดินทางครั้งนี้ว่า The Long March


  • ค.ศ.1935 เจียงกับพรรคคอมมิวนิสต์เจราสงบศึก และร่วมมือกันต้านญี่ปุ่น 
  • ค.ศ. 1938 ญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองท่าจีนได้หลายเมือง และเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น อเมริกาเข้าร่วมรบในจีน โจมตีญี่ปุ่น ในที่สุดญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่2 ต้องถอนทัพออกจากจีน


  • เมื่อเสร็จศึกญี่ปุ่น สองสิงห์ในจีนคือ พรรคคอมมิวนิสต์ และ ก๊กมินตั๋ง ก็หันมารบห้ำหั่นกันอีกเพื่อแย่งชิงอำนาจในจีน คราวนี้มีอเมริกาสนับสนุน พรรค ก๊กมินตั๋งของเจียงไคเชคทั้งทหารและอาวุธ


  • แต่ในที่สุดฝ่ายได้รับชัยชนะกลับเป็น พรรคคอมมิวนิสต์ ได้รับชัยชนะ เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 หรือ พ.ศ. 2492 และสถาปนาให้จีนเป็น สาธารณะรัฐประชาชนจีนในที่สุด


  • ฝ่าย ก๊กมินตั๋ง หอบหิ้วผู้คนข้ามฟากไปตั้งตัวอยู่ที่เกาะใต้หวัน ปัจจุบัน



  • ปัจจุบันประเทศจีน ยังคงปกครองรูปแบบเผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้กำหนดบทบาทและโครงสร้างทั้งหมด ควบคุมวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย โดย ในพรรคคอมมิวนิสต์จะมีคณะกรรมการการเมืองชุดหนึ่งที่กุมอำนาจสูงสุด เรียกกรรมการชุดนี้ว่า กรมการเมือง จำนวน 9 คน กุมบังเหียนทั้งหมด



กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์ เอกการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น