หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โมฆะ และ โมฆียะ แตกต่างกันอย่างไร

              


             ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ คำว่า โมฆะ ระบุในตัวบท มาตรา 172.


  • มาตรา 172 โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมนี้ขึ้นกล่าวอ้างก็ได้        วรรคสอง.ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ.
                                               ส่วนโมฆียะ ระบุในตัวบท มาตรา 175

  •  มาตรา 175 โมฆียะกรรมนั้นบุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้

( 1 )ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม

( 2 )บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามรถหรือคนเสมือนไร้ความสามรถเมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็นบุคคลไร้ความสามรถหรือคนเสมือนไร้ความสามรถแล้วผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี แต่คนเสมือนไร้ความสามรถจะบอกล้างก่อนที่ตนจะพ้นการเป็นคนเสมือนไร้ความสามรถก็ได้ ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์

( 3 )บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิดหรือถูกกลฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่

( 4 )บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 30 ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว          ถ้าบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตายก่อนมีการบอกล้างโมฆียกรรม ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นได้                   

                                        อธิบาย ดูภาพที่ผมทำมาประกอบ.

  •  โมฆะ หรือโมฆียะ เป็นผลทางนิติกรรมที่บุคคลกระทำขึ้น ตามมาตรา 149 แห่งกฎหมายนี้ครับเมื่อบุคคลไปทำนิติกรรมแล้ว จะมีผล เป็น โมฆะ หรือ โมฆียะ ให้ดูตัวบทและภาพประกอบโมฆะ อธิบายแบบบ้านๆก็คือเป็น 0 ศูนย์มาแต่ต้น และไม่สามารถให้สัตยาบันหรือรับรองรองได้โมฆียะ มีผลเป็นนิติกรรมแล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์ ร้อยเปอร์เซ็น ผมถึงเขียน เลข 50 เพื่อให้เข้าใจ สมบูรณ์ ก็คือ เมื่อโมฆียะกรรมนั้น ได้รับการรับรอง จากคน 3 คน แล้ว โมฆียะกรรรม จากที่เป็นนิติกรรม 50 ก็จะเป็น 100ทันทีกฎหมายแบ่งคนไว้ 3 กลุ่มที่จะสร้าง โมฆะ หรือ โมฆียะ 
 1. ผู้เยาว์ ผู้เยาว์คือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมือ่ไปสร้างนิติกรรมขึ้น เช่น เล่นบอลได้ มีเงิน ไปซื้อมอเตอร์ไซค์ มา ผลจากการซื้อนั้น ยังไม่เป็นนิติกรรมสมบูรณ์ครับ คือเป็นแค่ โมฆียะ 50 % มันรออะไร รอ ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้แทนโดยชอบธรรม อาจเป็น พ่อแม่ ในกรณีเด็กมีพ่อแม่ ปู่ย่าตายายลุงป้าน้าอา อื่นๆ กรณีเด็กไม่มีพ่อแม่ ถือเป็นผู้ปกครองโดยชอบธรรม กฎหมายรอให้คนเหล่านี้รับรู้ เมื่อเด็กซื้อรถมา ถ้าผู้แทนเห็นชอบด้วยก็ไปยืนยันหรือลงสัตยาบันกับร้านที่ขายรถนั้น เสีย นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้นก็จะเป็นผลสมบูรณ์ทันที   ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมเห็นว่าไม่เหมาะสม ก็ไปยกเลิก หรือกฎหมายใช้คำว่าบอกล้าง จากที่เป็น โมฆียะ 50 % ก็จะกลายเป็น 0 ศูนย์ หรือ โมฆะ ทันทีเช่นกัน

2. บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ( ต้องศาลสั่งครับ ) คือคนกลุ่มนี้สติไม่ดีฟั่นเฟือนครองสติไม่ได้ ญาติไปร้องให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คนกลุ่มนี้ ศาลให้มี ผู้อนุบาลเพื่อคอยดูแลด้านนิติกรรมทั้งหมด คนไร้ความสามารถที่ศาลสั่ง เซ็นอะไรลงไปก็เป็นโมฆะ

3.ผู้เสมือนไร้ความสามารถ คนกลุ่มนี้มีสติเหมือนคนปกติ แต่ร่างกายเขาไม่สมบูรณ์ เช่นคนตาบอด หูหนวก เรียกคนกลุ่มนี้ว่าเสมือนไร้ความสามารถ เพราะเขาไม่ได้ยิน อ่านหนังสือหรือมองไม่เห็น ศาลจึงให้มีผู้ดูแลคนกลุ่มนี้เรียกว่า ผู้พิทักษ์คน 3 กลุ่มนี้เท่านั้นที่จะสร้างนิติกรรม ตามมาตรา 149 ให้มีผลเป็น โมฆะ หรือโมฆียะ และ 3 กลุ่มนี้ก็จะมีผู้ดูแลอยู่ สามกลุ่มเรียกชื่อต่างกันตามที่กล่าวมาแล้ว ดูตัวบทและภาพประกอบก็จะเข้าใจครับ           เอาพอเข้าใจครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น