หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชนชั้น การปกครองในลาว

ชนชั้น การปกครองในลาว

                                                                       เจ้าศรีสว่างวัฒนาเจ้าเหนือหัวสุดท้ายของลาว


 การเมืองการปกครองในประเทศลาว มีการแบ่งชนชั้นกันตามลักษณะภูมิประเทศ ได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ


      1). ลาวลุ่ม Lao Loum. หมายถึงชาวลาวที่อาศัยในพื้นที่ราบและเป็นกลุ่มคนส่วนมากของประชากรของประเทศ ประมาณ 66 % ว่ากันว่าชนกลุ่มนี้คือกลุ่มเดียวกันกับคนไทยที่อพยพมาจากจีนตอนใต้ แต่เลือกปักหลักอยู่ที่นี่ ใช้ภาษาพูดคือ ภาษา ไทกะได เหมือนกับภาษาของลาวลื้อ ไทดำ ไทแดง


      2).ลาวเทิง Lao Theung เป็นชาวลาวที่อยู่บริเวณภาคกลางของประเทศ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นไหล่เขาสูง มีจำนวนประชากรประมาณ 24%ของประชากรทั้งประเทศ มีชาติพันธุ์   Austroasiatic ที่อพยพมาจากทางเหนือยุคก่อนประวัติศาสตร์ ชาติกำเนิดแล้วคนกลุ่มนี้คือคนที่อาศัยในพื้นราบมาก่อนและเป็นพวกปลูกข้าวแต่ถูกผลักดันให้ขึ้นดอยไปแต่พวกเขาก็ใช้ความถนัดทางการเกษตรเพาะปลูกเลี้ยงชีพได้ ลาวเทิงมีประมาณ 40 ชนเผ่า


      3).ลาวสูง  Lao  Soong มีประชากรประมาณ 10 % ของประเทศ มีเชื้อชาติ แม้ว เย้า และเผ่าอื่นๆอีก ภาษาพูด เป็นภาษาพม่า และธิเบตลาวสูงถูกบันทึกว่าได้อพยพเข้ามาอยูในประเทศลาวเมื่อประมาณ 2-3 ร้อยปีนี่เอง


                                    มาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญลาว

  • -สถานะภาพของสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นรัฐประชาธิปไตยอำนาจทั้งปวงมาจากประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนทุกหมู่เหล่าซึ่งประกอบด้วย กรรมกร เกษตรกร และผู้ได้รับการศึกษาเป็นแกนนำที่สำคัญ
  • จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญมาตรานี้ได้บัญญัติถ้อยคำที่ อับราฮัม ลินคอนส์ ไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างสวยหรู แต่ความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ลาวกลับ ปกครองแบบ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ แบบ มาร์กเลนิน นี่คือสิ่งที่ผมย้ำมาตลอดว่าตัวอักษรในรัฐธรรมนูญทำให้ประเทศนั้นเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ แต่ไม่ปฏิวัติโครงสร้างเสียก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น