หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเมืองการปกครอง สหพันธรัฐเยอรมัน

                                                                             

   กำแพงเบอร์ลิน  

  •  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันถูกแบ่งประเทศออกเป็น 2 ฝั่งคือตะวันตกและตะวันออก ฝั่งเยอรมันตะวันตกมี 11 มลรัฐ ฝั่งเยอรมันตะวันออกมี 5 มลรัฐ มีกำแพงเบอร์ลินกั้นกลางเป็นแนวเขตแดน เยอรมันย่อยยับจากสงครามแม้ประเทศก็ถูกแบ่งแยก
  •  ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990  กำแพงเบอร์ลินถูกทลายลง นำเยอรมันทั้งสองฝั่งหลอมเข้าด้วยกัน และเยอรมันก็ผงาดขึ้นอีกครั้งในฐานะผู้นำและมหาอำนาจโลกอีกประเทศหนึ่ง
  • เยอรมันปกครองครองแบบประชาธิปไตยรูปแบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ ประธานาธิบดีได้รับเลือกมาจากที่ประชุมสมัชชาแห่งสหพันธรัฐ ซึ่งประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 622 คน และสมาชิกสภาที่มาจาก 16 มลรัฐเลือกมาอีก 662 คน รวมทั้งสิ้น 1,324 คนเป็นผู้เลือกมา โดยโหวตลับ และใช้เสียงส่วนใหญ่ ดำรงตำแหน่ง 5 ปี เพียงสมัยเดียวเท่านั้น ( ประธานาธิบดีมีอำนาจยุบสภาฯได้ )ตามรูปแบบนี้
  • ระบบเลือกตั้งของเยอรมัน ถูกนำมาตัดแปะในรัฐธรรมนูญของไทยฉบับปี 2540 หรือฉบับที่ 16 กล่าวคือ การเลือกตั้งของเยอรมันทุกระดับเป็นแบบผสม  คือเขตเดียวเบอร์เดียวเลือกมาจากประชาชนโดยตรง ร้อยละ 50 และมาจากบัญชีรายชื่อพรรค อีก ร้อยละ 50 ( นี่คือต้นตอที่มาของระบบ ส.ส. ตาม รธน. ปี 2540 ของไทย ) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีอายุ 18 ปี บริบูรณ์
  • ข้อแตกต่างและข้อที่น่าสังเกตุคือ เยอรมัน มีสภาที่ปรึกษาราชการ (Bundesrat)  สภานี้เป็นตัวแทนของ 16 มลรัฐ และมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายและบริหารราชการของสหพันธรัฐ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงแต่เป็นตัวแทนจากมลรัฐ  และแต่ละมลรัฐจะมีสมาชิกไม่เท่ากัน สภานี้มีทั้งสิ้น 68 ที่นั่ง
  • ความสำคัญของสภาที่ปรึกษาราชการอีกประการคือ ในกรณีที่ ประธานาธิบดีแห่งเยอรมันปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้  ประธานสภาที่ปรึกษาราชการนี้จะเป็นผู้ ทำหน้าที่ประธานาธิบดี
  • นี่คือความแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับประเทศหลายๆประเทศที่ใช้ระบอบรัฐสภา
  • การปกครองของเยอรมัน แบ่งออกเป็นรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งเป็นอิสระแก่กัน
  • ข้อสังเกตุอีกอย่างคือเยอรมันให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ซึ่งจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป

                 กังวาล  ทองเนตร (รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น