หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

คำสั่งทางปกครองคืออะไร



เรามักจะได้ยินคำว่า คำสั่งทางปกครอง อยู่ในข่าวมาโดยตลอด หลายคนสงสัยว่า แล้วคำสั่งทางปกครองคืออะไร 

วันนี้ผมจะขออธิบายความหมายของ คำสั่งทางปกครองดังนี้ แต่ก่อนที่จะอธิบายคำสั่งทางปกครองต้องขออธิบายขอบเขต ของผู้ใช้หรือผู้ออกคำสั่งทางปกครองให้เข้าใจเสียก่อน รวมถึงกฎหมายปกครอง คืออะไรด้วย


  • กฎหมายปกครอง คือ กฎหมายที่ให้อำนาจ หน้าที่ หน่วยงานทางปกครอง หรือ เจ้าหน้าที่ ใช้อำนาจในการ ออกคำสั่งทางปกครองได้
  • กฎหมายปกครองจะมีลักษณะเป็นกฎหมายมหาชน เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่ดิน พ.ร.บ.จราจร พ.ร.บ. อาวุธปืน เป็นต้น ฯลฯ ซึ่งกฎหมายเหล่านี้จะระบุถึงอำนาจหน้าที่ หรือให้อำนาจ หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ ใช้อำนาจในทางปกครองได้ ไม่ว่าจะเป็นการ ออกกฎ ออกคำสั่งทางปกครอง
  • โดยสรุปแล้วผู้ที่ใช้คำสั่ง หรืออำนาจทางปกครองได้มีอยู่เพียง 2 คนเท่านั้นคือ
  1. หน่วยงานทางปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรม อบจ. อบต. เทศบาล กทม. เป็นต้น
  2. เจ้าหน้าที่ เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ เป็นต้น
  • บุคคล 2 ประเภทนี้เท่านั้นที่ใช้อำนาจทางปกครอง ทั้งนี้อาจรวมถึง ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองด้วย ซึ่งบุคคลดังกล่าว โดยสภาพแล้วไม่อยู่ในฐานะใช้อำนาจทางปกครองเองได้ แต่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง เป็นกรณีได้ เช่น  ที่ตรวจสภาพรถเอกชน แพทยสภา สภาทนายความ เป็นต้น
ดังนั้น


คำสั่งทางปกครอง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 5มีความหมายดังนี้

มาตรา 5 คำสั่งทางปกครองหมายถึง
(1 ) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อการเปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือ ชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ


  • โดยสรุปแล้วคำสั่งทางปกครอง จะมีลักษณะเจาะจงตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง


เช่นนาย แดง เป็นนักศึกษาของ ม.รามฯ ได้กระทำความผิดในการทุจริตสอบ กรณีนี้ เจ้าหน้าของ ม.ราม จึงสามารถ ออกคำสั่งทางปกครอง เรียกให้นายแดงมาชี้แจง เหตุผล หรือ ออกคำสั่ง พักการเรียนนายแดง หรือไล่ออกจากการเป็นนักศึกษาของ ม.ราม ได้

จะเห็นได้ว่า กรณี จะกระทบเฉพาะนายแดงเท่านั้น จะไม่รวมถึงบุคคลอื่นที่เข้าสอบพร้อมกับนายแดง ที่ไม่มีส่วนในการทุจริตแต่อย่างใด

หรืออีกกรณีตัวอย่าง เช่น การออกใบอนุญาตในการขับขี่ยวดยาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีอำนาจหน้าที่ ในการอนุญาต หรือไม่อนุญาต ตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายนั้นได้ หรือ เจ้าหน้าที่สามารถใช้ดุลพินิจในการ ระงับการใช้ใบอนุญาตต่างๆที่เคยให้ไปแล้วนั้นได้ เมื่อเห็นว่ามีเหตุสมควร ดังนี้เป็นต้น


  • คำสั่งทางปกครองจะมีลักษณะแตกต่างจากกฎ ตรงที่คำสั่งทางปกครอง เป็นการใช้แบบ เฉพาะเจาะจงตัวบุคคล หรือองค์กร หน่วยงาน แต่ กฎจะมีขอบเขตที่กว้างกว่า ซึ่งกฎจะมีผลเป็นการบังคับใช้ทั่วไป เช่น
  • ม.รามออกกฎให้นักศึกษาที่จะลงทะเบียนเรียนในภาคปกติ ได้ไม่เกิน 24 หน่วยกิต ดังนั้นทุกคนที่สมัครเข้าเป็นนักศึกษาราม ต้องปฏิบัติอยู่ภายใต้กฎนี้เท่ากันทุกคน คือลงทะเบียนเรียนได้ ไม่เกิน 24 หน่วยกิตในภาคปกติ ดังนี้เป็นต้น ซึ่งผมได้เขียนไว้ใน กติกา กฎ กฎหมาย ในบล็อกนี้ก่อนหน้านี้แล้ว

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น