หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

ปฏิวัติและรัฐประหารต่างกันอย่างไร


การปฏิวัติกับรัฐประหารเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ศัพท์สองคำนี้ เป็นศัพท์ รัฐศาสตร์ คนทั่วไปมักจะเข้าใจไม่ถูกต้องนัก กับศัพท์ รัฐศาสตร์ สองคำนี้
บางคนใช้คำว่า รัฐประหาร บางคนใช้คำว่าปฏิวัติ หรือบางคน ใช้รวมกันเป็น ปฏิวัติรัฐประหาร มันเสียเลย

ซึ่งโดยส่วนตัวในฐานะที่เรียนจบทางด้านวิชารัฐศาสตร์ สาขากาการปกครอง ก็ได้อธิบายศัพท์ สองคำนี้ไว้หลายช่องทางแล้ว แต่ไม่ได้อธิบายไว้ในบล็อกของตัวเองอย่างเป็นทางการสักครั้ง
จึงถือโอกาสที่ การเมืองอยู่ในภาวะเปราะบาง อธิบาย ศัพท์สองคำนี้ให้เป็นหลักฐานในการอ้างอิงแก่คนทั่วไปอย่างเป็นทางการดังนี้

คำว่ารัฐประหาร เป็นคำที่นำมาจากภาษาฝรั่งเศสคือคำว่า คู้เดต้า  ( coup d'etat ) หมายถึงการทำรัฐประหารรัฐบาล หรือกลุ่มคนที่ใช้อำนาจรัฐนั้น โดย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมอื่นใด เช่น


  • โครงสร้างทางปกครอง 
  • โครงสร้างทางการเมือง
  • โครงสร้างทางสังคม
  • โครงสร้างทางเศรษฐกิจ


การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการก่อรัฐประหารนี้ จะมุ่งหวัง ไปที่ตัวผู้ใช้อำนาจรัฐ หรือคนที่เป็นรัฐบาลเท่านั้น อาทิ 

  • เมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 คณะรัฐประหาร ที่ใช้ชื่อว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ( รสช. ) ที่มี พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ ได้ทำการยึดอำนาจ รัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ


ภายหลัง รสช.ยึดอำนาจแล้ว โครงสร้างทางสังคมต่างๆยังคงมีอยู่เช่นเดิม แต่ ผู้ที่เป็นรัฐบาล เปลี่ยนเป็นบุคคลอื่แทน แต่ระบอบโครงสร้างอำนาจ โครงสร้างปกครอง ยังคงเหมือนเดิม
ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบของประเทศ หรือ รัฐ ยังคงเป็น รัฐเดี่ยว เป็นแบบราชอาณาจักร เหมือนเดิม การจัดส่วนบริหารราชการต่างๆก็ยังคงอยู่เช่นเดิม เป็นต้น


  • การยึดอำนาจเมื่อ วันที่ 19 กันยายน 2549 ที่คณะ คปก. ที่ต่อมาเป็น คมช. ที่นำโดย พล.อ.สนธิ บุญรัตน์กลิน ยึดอำนาจรัฐบาลของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็เปลี่ยตัวรัฐบาลจาก รัฐบาลทักษิน ไปเป็น รัฐบาล ของ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ แทน


ดังนั้น คำว่ารัฐประหาร จึงหมายถึง การเปลี่ยนแปลงกลุ่มบุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐ ( อำนาจบริหาร ) เท่านั้น


คำว่า ปฏิวัติ เป็นคำมาจากภาษา อังกฤษ คือคำว่า Revolution หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมทั้งหมด ทั้งสิ้น แบบ พลิกฟ้าคว่ำดิน พลิกฝ่ามือ จาก ดำ เป็น ขาว หรือ จากขาว เป็นดำ ไปทางใดทางหนึ่งอย่างสิ้นเชิงชนิด กลับ เฟส 180 องศา เช่น


  • เปลี่ยนจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราช ( ราชาธิปไตย ) Absolute Monarchy ไปสู่ระบอบอื่น เช่น สาธารณะรัฐ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เป็นต้น


กล่าวคือ การปฏิวัติ จะปรับเปลี่ยนไปในแนวทาง ใดก็ได้ ที่ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง


  • เปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ จาก ราชอาณาจักร เป็น สาธารณะรัฐ หรือ สังคมนิยม หรือจาก สังคมนิยม เป็นราชอาอาณาจักร ก็ได้
  • เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองการปกครองใหม่
  • เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางนิติบัญญัติใหม่
  • เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางระบบเศรษฐกิจใหม่
  • เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมใหม่
  • เปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างราชการใหม่
  • เปลี่ยนแปลงสถาบันทางสัคมใหม่ เป็นต้น


การปฏิวัติที่ เป็นที่รู้จักทั่วโลก เช่น


การปฏิวัติฝรั่งเศส 1789-1815




เลนินกับการปฏิวัติรัสเซีย


การปฏิวัติจีน โดย ดร.ซุน ยัต เซน


สรุปคือ



การจะพิจารณาว่า การกระทำ หรืือการยึดอำนาจใด ว่า เป็น รัฐประหาร หรือเป็นปฏิวัติ หรือไม่

  • ไม่ได้พิจารณาจาก วิธีการ
  • ไม่ได้พิจารณาจากว่าใครเป็นผู้กระทำ ทหาร ตำรวจ หรือ พลเรือน
  • ไม่ได้พิจารณาจากรูปแบบ การใช้กำลัง ใช้ความรุนแรง มากน้อย เฉียบพลัน หรือ ยืดเยื้อต่อเนื่อง
การพิจารณาว่าเป็นปฏิวัติหรือรัฐประหาร พิจารณาจาก
  • ผลจากการกระทำที่ได้กระทำสำเร็จลุล่วงแล้ว จากคณะผู้ทำการ
  • ถ้ายึดอำนาจสำเร็จแล้ว เปลี่ยนแปลงแค่ผู้ใช้อำนาจรัฐ โดยตรง ไม่เปลี่ยนโครงสร้าง เรียกว่า รัฐประหาร ( coup d'etat ) ไม่ใช่ ปฏิวัติ
  • ถ้ายึดอำนาจสำเร็จแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางสังคมทั้งหมดทั้งสิ้น จากระบบเดิมไปสู่ระบบใหม่ เรียกว่า ปฏิวัติ ( Revolution )
ดังนั้นเมื่อเราพิจารณาจาก สาระเนื้อหา ของการยึดอำนาจในประเทศไทย 
  • ล้วนเป็นการก่อรัฐประหารทั้งสิ้น เพราะไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนรื้อโครงสร้างแต่อย่างใด
  • รวมถึง การเปลี่ยนแปลงเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ก็ไม่ใช่การปฏิวัติ เพราะรูปแบบแห่งรัฐ ยังคงเดิมคือเป็นราชอาณาจักร เพียงแต่เปลี่ยนระบบโครงสร้างอำนาจการปกครอง จาก ราชาธิปไตย หรือสมบูรณาญาสิทธิราช ที่ ราชา มีอำนาจ เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด เพียงผู้เดียว ทั้ง บริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ มาเป็น เปลี่ยนมือผู้ใช้อำนาจทั้งสามนั้น และให้ ราชาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 จึงเรียกว่า เป็นการเปลี่ยนแปลง แบบ กึ่งปฏิวัติ กึ่งรัฐประหาร เท่านั้น ตามหลักการข้างต้น


กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น