คลิกที่ภาพทุกภาพเพื่อดูภาพต้นฉบับ
พุทธศาสนา
- พุทธศาสนา เกิดในประเทศอินเดีย ซึ่งอยู่ในทวีปเอเซียตอนใต้ ในสมัยพุทธกาล เรียกดินแดนแห่งนี้ว่า ชมพูทวีป มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ ตั้งแต่ ประเทศ อินเดีย เนปาล ภูฏาน ปากีสถาน และบังกลาเทศ ในปัจจุบัน
พุทธประวัติโดยสังเขป
- พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ ทรงกำเนิดในราชตระกูล ศากยะ แห่งแคว้นสักกะ ทางตอนเหนือของอินเดีย มีเมืงหลวงชื่อ กรุงกบิลพัสดุ์
- พระพุทธองค์ ทรงประสูติในวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปีณ.สวนลุมพินีวัน ปัจจุบันคือ ตำบลรุมมินเด แขวง เปชวาร์ ประเทศเนปาล ( พ.ศ. 1 จะนับเมื่อ พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน )ต่างจากศาสนาอื่นจะนับเมื่อวันประสูตรของศาสดา
- พระราชบิดาคือ พระเจ้าสุทโธทนะ เป็นกษัตริย์ครองกรุง กบิลพัสด์ พระมารดาคือ พระนางสิริมหามายา
- เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้เพียง 7 วัน พระมารดาก็สิ้นพระชนม์
- ผู้ที่ทำหน้าที่เลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะคือ พระนางปชาบดีโคต ซึ่งเป็นพระมาตุจฉา ( น้า )
เบื้องต้นเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ศึกษาศิลปวิทยาการจากสำนักของครู วิศวามิตร
- เมื่อพระชนม์ได้ 16 พรรษา ก็ได้อภิเษกสมรส กับพระนาง ยโสธรา หรือ พิมพา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้า สุปปพุทธะ และพระนาง อติมา แห่ง เทวทหนคร
- เมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา พระชายาก็ทรงประสูติพระโอรส เจ้าชายสิทธัตถะได้ขนานนามว่า ราหุล ซึ่งแปลว่า บ่วง หรือ ข่าย อันมีความหมายว่าลูกนั้นเสมือนเครื่องผูกพันพ่อแม่
- เจ้าชายสิทธัตถะ มิได้ทรงหมกมุ่นอยู่กับ กามตัณหา ที่พระราชบิดา จัดสรรหามาให้แต่อย่างใด แต่ทรงเห็นความทุกข์ของพระองค์เอง และชาวโลก อันเนื่องมาจาก ความแก่ ความเจ็บ ความตาย พระองค์จึงเกิดข้อสรุปว่า การหมกมุ่นอยู่กับโลกียสุข มิใช่เห็นทางจะพ้นทุกข์ได้ แต่วิถีทางที่ทดีคือเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ ละความสุขทางโลกแล้วเสด็จออกบวชเพื่อแสวงธรรม ในตอนดึก โดยมิได้บอกกล่าวแก่ผู้ใด
- โดยทรงม้าต้นชื่อ กัณฐกะ และมีมหาดเล็กชื่อ นายฉันนะ ตามเสด็จเพียงผู้เดียว เสด็จมุ่งตรงไปยังฝั่งแม่น้ำ อโนมา เพื่อทรงเปลี่ยนพระ ภูษิตาภรณ์ แล้วฉลองพระองค์อย่างนักบวช ซึ่งการเสด็จออกบวชครั้งนี้ เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ หมายถึง การเสด็จออกบวชเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่
พระองค์ใช้เวลาแสงหาโมกขธรรมเป็นเวลา 6 ปี โดยมีขั้นตอนวิธีดับทุกข์ดังนี้
- ได้ทรงเข้าศึกษาในสำนักของอาฬารดาบส และสำนักของ อุทกดาบส ตามลำดับ ทรงเรียนวิธีฝึกฝนอบรมจิตจนได้ฌานสมาบัติ 8 และเน้นหนักโยคะวิธี แต่ก็ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง
- ทรงทดลองปฏิบัติการบำเพ็ญตบะ หรือการทรมานตนเอง แต่ก็ยังมองไม่เห็นทางตรัสรู้อยู่ดี
- ทรงใช้ทางสายกลาง โดยพระองค์กลับมาเสวยพระกระยาหารตามเดิม แล้วบำเพ็ญเพียรทางจิตจากพื้นฐาน และทรงใช้วิธีการวิปัสสนา อีกขั้นตอนหนึ่ง และพิจารณา เบญจขันธ์ จนถึงสภาวะแห่งไตรลักษณ์ในที่สุด ก็ทรงตรัสรู้ ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ( เดือน 6 ) คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ในขณะที่มีพระชนมายุได้ 35 พรรษาพอดี
- ภายหลังจากตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้เสวย วิมุตติสุข หมายถึงสุขอันเกิดจากการหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา โดยประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ เป็นเวลา 7 สัปดาห์ และทรงใช้เวลาดังกล่าวพิจารณาในสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ เพื่อที่จะนำธรรมะไปสั่งสอนประชาชนต่อไป
- พุทธองค์ทรงคิดว่าบุคคลกลุ่มแรกที่ควรจะได้รับคำสั่งสอนและน่าจะสามารถเข้าใจธรรมะได้ดีคือ ปัญจวัคย์ ทั้ง 5คน ได้แก่ โกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานามะ, และอัสสชิ ซึ่งทั้งหมดอาศัยอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ดังนั้นเมื่อวันเพ็ญ กลางเดือน 8 พระองค์ ก็ได้ประทานปฐมเทศนา อันได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่โกณทัญญะ
- โดยสรุปใจความว่า การดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
- พระองค์ไม่เห็นด้วยกับการหมกมุ่น ในกามสุข คือ กาม สุขัลลิกานุโยค และพระองค์ทรงปฏเสธการดำเนินชีวิตแบบ อัตตกิลมถานุโยก คือ การทรมานตนเองให้ลำบากด้วยวิธีต่างๆ
- และทรงแสดงหลักธรรมอริยสัจ 4 เป็นธรรมะสุดท้าย แก่โกณฑัญญะ เมื่อทรงแสดงธรรมจบ โกณฑัญญะ ได้เกิด ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม และมีความเข้าใจสภาพอันเป็นจริงของทุกสิ่งทั้งปวง
- ว่าสิ่งใด ล้วนมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และสิ่งทั้งหมดนั้น มีความดับเป็นธรรมดาท้ายสุดโกณฑัญญะได้ทูลขอ อุปสมบท นับว่าเป็นการบวชครั้งแรกในพระพุทธศาสนา และโกณฑัญญะ เป็นพระภิกษุองค์แรกในพระพุทธศาสนา การบวชครั้งแรกที่เกิดขึ้นเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงเป็นผู้บวชให้ และภิกษุโกณฑัญญะก็ได้นามใหม่ว่า อัญญาโกณฑัญญะ เป็นปฐมสาวก
การประกาศศาสนา
- การประกาศและเผยแพร่ศาสนา ดำเนินการต่อมาเป็นเวลา 45 ปี โดยมีกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนาก็คือ พระสารีย์บุตร อัครสาวกเบื่องขวา และพระโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้าย
- เมื่อพระชนมายได้ 80 พรรษา พระพุทธองค์ได้ไปประทับจำพรรณาที่บ้านเวฬุคาม กรุงเวสาลี เมืองหลวงของแคว้นวัชชี และในวันเพ็ญ เดือน 3 ก็ได้ทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ กรุงเวสาลี เป็นการแสดงธรรมตรัสเตือนพระภิกษุทั้งหลายว่า อีก 3 เดือนจากนี้ไปพระองค์จะปรินิพาน ดังนั้นภิกษุจะต้องตั้งมั่น อยู่ในความไม่ประมาท และหลังจากนั้นพระพุทธองก็ยังคงสั่งสอนประชาชนเรื่อยมา
- จนกระทั่งมาประทับอยู่ ณ. อัมพวัน สวนมะม่วงของนายจุนทะ พระองค์ทรงรับ ปัจฉิมบิณฑบาตร ( รับบิณบาตรครั้งสุดท้าย ) โดยนายจุนทะเป็นผู้ ถวายสุกรมัทวะ และพระองค์ได้เกิดอาพาธในเวลาต่อมาจึงเดินทางไปยัง กุสินารา และก่อนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ตรัสยกย่องว่า
บิณฑบาตรที่มีอานิสงส์ อย่างยิ่งมีอยู่ 2 ประการคือ
- บิณฑบาตรที่เสวยแล้วตรัสรู้ ได้แก่ การถวายข้าวปายาส ของนางสุชาดา
- บิณฑบาตรที่เสวยแล้วดับขันธ์ปรินิพพาน ได้แก่ การถวายสุกรมัททวะ ของนายจุนทะ
- พระองค์ทรงแสดงปัจฉิมโอวาท แก่พระสาวก เรียกว่า อัปมาทธรรม ซึ่งเป็นโอวาทครั้งสุดท้าย มีความหมายว่า ขอท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด
- พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน 6 ที่เมือง กุสินารา หรือเมือง กาเซียนในปัจจุบัน
- และการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ที่ มกุฎพันธรเจดีย์ ทางทิศตะวันออกของเมืองกุสินารา ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เรียกวันดังกล่าวว่า วันอัฏฐมีบูชา
คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา
คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา เรียกว่าพระไตรปิฎก ซึ่งมีทั้งหมด 3 ปิฎก ( 3 เล่มคัมภีร์ ) คือ
- พระวินัยปิฎก เป็นคัมภีร์ว่าด้วยเรื่องระเบียบของพระสงฆ์และภิกษุณี
- พระสุตตันตปิฎก เป็นคัมภีร์ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป
- พระอภิธัมมปิฎก เป็นคัมภีร์ว่าด้วยข้อธรรมะหรือหลักธรรมที่สำคัญ
นิกายในศาสนาพุทธ
- นิกายเถรวาท หรือ หินยาน เป็นนิกายดั้งเดิมที่ภิกษุในอินเดียในภาคกลางและภาคใต้ ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 1 ที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพานไปแล้ว 3 เดือน โดยมี พระมหา กัสสปเถระ เป็นประธาน กายสังคายนาครั้งนี้ ไม่อนุญาตให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระธรรมวินัยใดๆ และให้รักษาสิกขาบททั้งหมดไว้ตามเดิม
นิกาย เถรวาทนี้บางทีก็เรียกว่า ทักษิณนิกาย หรือ นิกายฝ่ายใต้ ประเทศที่นับถือนิกายเถรวาทนี้ได้แก่ ไทย พม่า เขมร ลาว และศรีลังกา
- นิกายอาจริยวาท หรือ มหายาน เป็นนิกายที่แตกออกไป โดยยึดหลักธรรมตามแนวคิด และการตีความขึ้นมาใหม่ตามความเชื่อของอาจารย์ของตน หรือเรียกว่านิกายฝ่ายเหนือ นิกายนี้ เผยแพร่ในอินเดียทางเหนือ จีน ญี่ปุ่น เวียตนาม ทิเบต เกาหลี มองโกเลีย เป็นต้น โดยนิกายนี้ได้ดัดแปลง พระธรรมวินัยตามกาลเทศะ
หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ
อริยสัจ 4 ได้แก่
ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่มีอยู่แล้วและพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและได้นำมาสั่งสอนประชาชนซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติพ้นจากความเป็นทุกข์ อันประกอบไปด้วย
1. ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจที่ทำให้เกิดปัญหาแก่การดำเนินชีวิตแบ่งได้ดังนี้
- สภาวทุกข์-หมายถึงทุกข์ประจำ คือเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในพระพุทธศาสนาถือว่า มนุษย์เริ่มแก่ตั้งแรกเกิด คือเริ่มแก่ไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ลืมตาดูโลกเพียง หนึ่งวันตราบวันสิ้นลมหายใจ
- ปกิณณกทุกข์ - หมายถึงทุกข์จร เป็นความทุกข์เล็กๆน้อยๆ มี 8 อย่าง ดังนี้ ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความน้อยใจ ความตรอมใจ ความไม่สบายใจ ความไม่สบายกาย การประสบกับสิ่งที่ไม่รัก
การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความไม่สมปรารถนา
2.สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือเป็นสาเหตุแห่งปัญหาชีวิต หมายถึงตัณหา หรือความอยาก ซึ่งมี 3 ลักษณะดังนี้
- กามตัณหา คือ ความอยากในกาม (กามในพุทธศาสนาหมายถึงความใคร่ ) แบ่งออกเป็นอีก 2 อย่างคือ กิเลสกาม และวัตถุกาม
กิเลสกาม เป็นกิเลสที่ละเอียดฝังอยู่ในจิตใจ คือ รู้สึกชอบ ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ นับเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับปุถุชน เหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี เพียงแต่มนุษย์ต้องรู้จักควบคุมจิตใจ อย่าให้เกิดความโลภ ริษยา หึงหวง เพราะจำนำไปสู่การทำบาปได้ในที่สุด
วัตถุกาม คือ ความอยากในวัตถุ สิ่งของ เมื่อไม่ได้ก็เสียใจ มนุษย์มักจะแย่งชิงล่วงล้ำสิทธิส่วนตัวของกันและกัน และเบียดเบียนกันในที่สุด
- ภาวะตัณหา หมายถึง ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น และเมื่อได้ในสิ่งที่อยากนั้น แต่ก็ไม่เพียงพอ ยังอยากให้สิ่งเหล่านั้นอยู่กับตนเองไปนานๆอีกด้วย เช่น เกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ สรรเสริญ เป็นต้น
- วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น เช่นไม่พอใจในสภาพที่เป็นปัจจุบันของตนเอง อาทิ ไม่พอใจในรูปร่างหน้าตา อยากขจัดไปให้พ้น ซึ่งไม่ใช่หนทางแก้ปัญหาแต่เป็นการหนีปัญหา แต่เป็นการขว้างปัญหาออกไม่พ้นตัว
3. นิโรธ มีความหมายเช่นเดียวกับนิพพาน อันเป็นผลมาจากการปฏิบัติตามมรรคมี องค์ 8 หมายถึงการดับทุกข์ เป็นภาวะที่กิเลสตัณหาดับสนิท หมดปัญหา ไร้สิ้นเชิง
4. มรรค มีองค์ 8 เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ปัญหาหมดไป เปรียบได้กับแบบฝึกหัดในชีวิตประจำวันของมนุษย์ มีอยู่ 8 ประการดังนี้
- สัมมาทิฐิ ( ความเห็นชอบ ) ได้แก่ การมีความเห็นที่ถูกต้อง เช่นยอมรับในเรื่องบาป บุญกรรมดี กรรมชั่ว ชาตินี้และชาติหน้า ในระดับที่ละเอียดอ่อนขึ้นไปอีก คือเข้าใจใน หลักอริยสัจ 4
- สัมมาสังกัปปะ ( ดำริชอบ ) ได่แก่ การคิดเพื่อที่จะให้จิตใจของตนเองเป้นอิสระ จาก กาม ไม่ตกเป็นทาสของ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จนเกินไป ไม่คิดพยาบาท และเบียดเบียนผู้อื่น
- สัมมาวาจา ( วาจาชอบ ) การเว้นจากวจีทุจริต 4 คือเว้นจากการพูดเท็จ ( มุสาวาจา ) เว้นจากการพูดส่อเสียด ( ปิสุณาวาจา ) เว้นจากการพูดคำหยาบ ( ผรุสวาจา ) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ( สัมผัสปลาปวาจา )
- สัมมากัมมันตะ ( การกระทำชอบ ) ได้แก่ การงดเว้นจากการทุจริต 3 คือ การไม่ฆ่าสัตว์ การไม่ลักทรัพย์ การไม่ประพฤติผิดในกาม
- สัมมาอาชีวะ ( การเลี้ยงชีพชอบ ) ได้แก่ การประกอบอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรม การไม่เบียดเบียนผู้อื่น การไม่อยู่เฉยๆโดยไร้ประโยชน์ ต้องเป็นผู้ที่รู้จักประกอบอาชีพ
- สัมมาวายามะ ( ความเพียรชอบ ) ได้แก่การเพียรละบาปบำเพ็ญบุญ เพียรระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น เพียรขจัดความชั่วที่ได้เกิดขึ้นแล้ว เพียรสร้างความดีให้เกิดขึ้น เพียรรักษาความคิดดีที่มีอยู่แล้วให้คงอยู่ตลอดไป
- สัมมาสติ ( ระลึกชอบ ) ได้แก่ การกำหนดรู้ พฤติกรรมของจิต ระลึกรู้ได้ตลอดเวลาว่าตนเอง กำลังคิดอะไร ทำอะไร ไม่เป็นคนใจลอยเหม่อ ไม่ประมาท มีความรอบคอบ
- สัมมาสมาธิ ( ตั้งใจชอบ ) ได้แก่ การตั้งมั่นในจิต มีจิตใจที่มั่นคง ควบคุมอารมณ์ได้ จนสามารถบังคับจิตใจ ให้หยุดนิ่งอยู่กับอารมณ์อย่างเดียวได้
ปิดวิทยุที่ข้างบล็อกแล้วเปิดฟังบทสวดธรรมจักกัปปวัตนสูตร
ไตรลักษณ์
หลักไตรลักษณ์ หรือสามัญลักษณะ ซึ่งเป็นลักษณะ 3 อย่างโดยธรรมชาติของสิ่งทั้งปวง อนิจจตา ทุกขตา อนัตตา ( อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา )
- อนิจจตาคือ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ไม่มีสิ่งใดที่เป็นสิ่งยั่งยืนถาวร ภาวะที่มีการเกิดขึ้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ และเสื่อมสลายไปในที่สุด เช่นผิวหนังที่เต่งตึง ก็ เหี่ยวย่น ฟันหลุด พละกำลัง ลาภยศ ชื่อเสียง หรือ บ้านเรือน ภูเขา หินผา แม่น้ำ ย่อมเสื่อมสภาพ และสลายไปในที่สุด เป็นต้น
- ทุกขตา คือ การที่สิ่งต่างๆ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ พระพุทธศาสนาถือว่า สิ่งใด ที่ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ซึ่งความหมายในไตรลักษณ์ ทุกข์จะกว้างกว่า อริยสัจ 4 กล่าวคือ ทุกข์ในอริยสัจ 4 หมายถึง ทกข์กายทุกข์ใจเท่านั้น แต่ทุกข์ในไตรลักษณ์ หมายความรวมถึงทกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น และไม่สามารถ ดำรงสภาพของตัวเองต่อไปได้ หรือ อยู่ในสภาวะเดิมได้ ต้องเสื่อสลายเปลี่ยนแปรไป คือทุกข์ ตามหลักไตรลักษณ์ นี้
- อนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน พุทธศาสนาสอนวา ทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน จึงสอนไม่ให้ยึดมั่นในความเป็นตัวตน ร่างกายไม่ใช่ของเรา เพราะเราบังคับบัญชามันไม่ให้ แก่ เจ็บ ตาย ไม่ได้ เราไม่สามารถบังคับไม่ให้ร่างกาย หิวได้ ร่างกายเป็นระบบการรวมตัวกันทำงานของอวัยวะ และมีจิตครอบครองอยู่เท่านั้น ไม่มีใครในโลกนี้เป็นเจ้าของร่างกายได้อย่างแท้จริงหรือถาวรได้ เมื่อถึงเวลาทุกคนย่อมต้องจากร่างกายนี้ไปหมดทั้งสิ้น เป็นต้น
ไตรสิกขา
คือหลักศึกษาที่อาศัย ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้ไปสู่ผลสำเร็จ ได้แก่
- ศีล คือข้อปฏิบัติ ฝึกตนด้านความประพฤติทางกายและวาจา
- สมาธิ คือข้อปฏิบัติเพื่อฝึกจิต เพื่อให้เกิดสมาธิ
- ปัญญา คือ ข้อปฏิบัติฝึกปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้ง
พรหมวิหาร 4
พรหมวิหาร วิหาร แปลว่า ที่อยู่ พรหม แปลว่า ประเสริฐ คำว่า พรหมวิหาร หมายความว่า เอาใจจับอยู่ในอารมณ์แห่งความประเสริฐ หรือเอาใจไปขังไว้ในความดีที่สุด ซึ่งมีคุณธรรม 4 ประการ คือ
1.เมตตา คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
2.กรุณา คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
4. อุเบกขา คือ การรู้จักวางเฉย วางใจเป็นกลาง พิจารณาเห็นว่าใครทำดีย่อมได้ดีใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว เป็นไปตามกฎแห่งกรรมหรือการกระทำนั้น
โลกบาลธรรม
โลกบาลธรรมได้แก่ ธรรมที่คุ้มครองโลก 2 ประการ ดังนี้
- หิริ หมายถึง ความละอายใจต่อการทำบาปหรือทำชั่ว
- โอตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อบาปหรือความชั่ว และเกรงกลัวต่อผลของการกระทำชั่วนั้น
กุศลบท 10
กุสลบท 10 หมายถึง ทางแห่งความดี 10 ประการ เป็นธรรมที่ทำให้คนเป็นคนดี แบ่งออกเป็น 3 ทางดังนี้
1.การกระทำชอบทางกายมี 3 ประการได้แก่
- เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย
- เว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ให้
- เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
2. การกระทำที่ชอบทางวาจา มี 4 ประการดังนี้
- เว้นจากการพูดเท็จ
- เว้นจากการพูดส่อเสียดยุยงคนให้แตกแยกสามัคคี
- เว้นจากการพูดคำหยาบ
- เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ
3.การกระทำที่ชอบทางใจ มี 3 ประการดังนี้
- ไม่คิดอยากได้ของผู้อื่นโดยวิธีทุจริต
- ไม่พยาบาทจองเวรและคิดร้ายผู้อื่น
- ไม่คิดเรื่องทุจริต ให้คิดแต่เรื่องถูกทำนองคลองธรรม
บุญกิริยาวัตถุ 10
บุญกิริยาวัตถุ 10หมายถึง หลักธรรมแห่งการทำบุญ ทานแห่งการทำความดี มี 10 ประการดังนี้
- ทานมัย คือบุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
- ศีลมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
- ภาวนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
- อปจายนมัย คือบุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
- เวยยาวัจจนมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือ ขวนขวายในกิจการงาน
- ปัตติทานมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
- ปัตตานุโมทนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
- ธัมมัสสวนมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
- ธัมมัสเทสนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
- ทิฎฐุขุกัมม์ คือ บุญสำเร็จด้วยการกระทำความคิดเห็นของตนให้ตรง
ฆารวาสธรรม 4
ฆารวาสธรรม 4 หมายถึงธรรมของผู้ครองเรือน พึงปฏิบัติมี 4 ประการดังนี้
- สัจจะ คือความซื่อสัตย์ต่อกัน
- ทมะ คือการรู้จักข่มใจตนเอง
- ขันติ คือ ความอดทนและให้อภัย
- จาคะ คือ การเสียสละแบ่งปันของของตนให้แก่ผู้ที่ควรแบ่งปัน
อธิษฐานธรรม 4
อธิษฐานธรรม 4 หมายถึง ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ มี 4 ประการดังนี้
- สัจจะ คือความซื่อสัตย์
- ปัญญา คือ ความรอบรู้
- จาคะ คือความเสียสละแบ่งปัน
- อุปสมะ คือ ความสงบในจิตใจ
อิทธิบาท 4
อิทธิบาท 4 หมายถึง ธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน มี 4 ประการ ดังนี้
- ฉันทะ คือ ความพอใจในงานที่ทำ
- วิริยะ คือ ความเพียร ความมีมานะ ไม่ย่อท้อต่อการทำงาน
- จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ ตั้งใจทำงานอย่างสม่ำเสมอ
- วิมังสา คือ การพิจารณาไตร่ตรอง หาเหตุผล แก้ไขข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงงานให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
กังวาล ทองเนตร ถวายเป็นพุทธบูชา
ปิดวิทยุที่ด้านข้างบล็อก ก่อนเปิดฟังสวดมนต์ต้นฉบับจากอินเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น