หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

อธิบายการเมืองฝ่ายซ้ายขวา


ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวามีที่มาอย่างไร



  • คำว่า ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา ที่มักพูดกันมีที่มาจากในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (ราว ค.ศ. 1790) หลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปอยู่ในรูปแบบสาธารณรัฐ และมีสมัชชาแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภาประกอบด้วยตัวแทนจากหลายภาคส่วน


  • ซึ่งที่มาก็มาจากการเรียกกลุ่มที่นั่งฝั่งซ้ายมือของประธานสภา และฝั่งขวามือของประธานสภา ซึ่งทั้งสองฝั่งจะมีความคิดสวนทางกัน ฝ่ายซ้ายจะมีแนวคิดเสรีโอบอุ้มคนจน ส่วนฝ่ายขวา จะเป็นพวกหนุนเจ้าและพยายามที่จะเปลี่ยนฝรั่งเศสให้กลับไปเป็นระบบกษัตริย์อีกครั้ง
  • โดยภายในห้องประชุมสมัชชา กลุ่มตัวแทนกรรมกร ชาวไร่ชาวนา ถูกจัดให้นั่งทางด้านซ้ายของท่านประธานสมัชชา (Left-wing) โดยข้อเสนอแนะของตัวแทนของคนยากจน หรือที่เรียกในสมัยนั้นว่า ไพร่กระฎุมพี ก็จะถูกเรียกว่าข้อเรียกร้องของ ฝ่ายซ้าย
  • ขณะที่ตัวแทนของขุนนาง ทหาร นักบวช และคนร่ำรวย หรือพวกศักดินา นั่งทางด้านขวา (Right-wing) โดยข้อเสนอของกลุ่มคนเหล่านี้ ก็จะถูกเรียกว่าข้อเรียกร้องของ ฝ่ายขวา
ต่อมาจนถึงยุคการปฏิวัติรัสเซียและจีน มีการตีความ ไพร่กระฎุมพี เปลี่ยนเป็นชนชั้นกรรมาชีพ และศักดินา เปลี่ยนเป็นนายทุน ทำให้อธิบายได้ว่า รัสเซียและจีน กลายเป็น ฝ่ายซ้าย คือฝ่ายที่คนจนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ในขณะที่สหรัฐอเมริกา และค่ายประชาธิปไตย เป็น ฝ่ายขวา คือฝ่ายที่คนรวยเป็นใหญ่ในแผ่นดิน



จุดเริ่มต้นคู่ ซ้าย - ขวา คู่ที่ 1


  • ที่มาของซ้ายขวาที่เป็นต้นแบบจริงๆคือฝรั่งเศส ดังที่กล่าวไปแล้วแต่ข้างต้น

จะเห็นได้ชัดเจนว่าฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาของฝรั่งเศสนี้ เป็นคู่ที่มีแนวทางตรงกันข้ามอย่างชัดเจน

  • และซ้ายของฝรั่งเศสนี้ก็เป็นซ้ายฝ่ายประชาธิปไตย นิยมแนวคิดแบบเสรีนิยม จัดรูปแบบรัฐให้เป็นแบบ
  • สาธารณะรัฐ ( Republic ) มีสภา มีตัวแทนประชาชน ตามหลักประชาธิปไตย



  • ในขณะที่ฝ่ายขวา ก็จะเป็นพวก ขุนนาง นักบวช ทหาร เศรษฐี และชนชั้นนำ กลุ่มนี้ก็มีแนวทางที่ชัดเจนเช่นกันว่า ต้องการที่จะให้ฝรั่งเศสกลับไปปกครองในรูปแบบ ราชาธิปไตยอีกครั้ง แทนแบบสาธารณะรัฐ ที่กำลังเป็นอยู่ และรูปแบบของประเทศเป็นแบบราชอาณาจักร ( Kingdom )
  • การต่อสู้ของคนทั้งสองกลุ่มนี้มีการ ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ และมีการเปลี่ยนการปกครอง จากสาธารณะรัฐไปเป็น ราชาธิปไตย และ ระบบจักรวรรดิ์ และสาธารณะรัฐ สลับไปมาอยู่หลายปี ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสแล้ว


ดังนั้น ซ้าย-ขวา ของฝรั่งเศส เกิดจากความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองของคนภายในฝรั่งเศสเองทั้ง ซ้าย - ขวา


คู่ซ้าย -ขวา  คู่ที่ 2


  • เกิดขึ้นภายหลังการปฏิวัติรัสเซีย และจีน สิ้นสุดลง เนื่องจาก รัสเซียและจีน ได้หยิบยก กรรมกร ชาวไร่ ชาวนา มาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ปฏิวัติ เมื่อปฏวัติสำเร็จ จึงมีผู้ตีความ การเมืองของรัสเซียและจีนว่า เป็นการเมืองที่ปกครองโดยคนจนหรือชนชั้นกรรมาชีพ ( ไพร่ ) ซึ่งซ้ายในความหมายของคู่ที่ 2 นี้มีเนื้อหาแตกต่างจากซ้ายต้นแบบของฝรั่งเศส เพราะ ซ้ายของจีนกับรัสเซีย เป็นแบบคอมมิวนิสต์ ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ตามลัทธิคอมมิวนิสต์ ของ คาร์ล มาร์กซ์ และปรับมาใช้โดย เลนิน จึงเรียกรวมกันว่า มาร์กซ์-เลนิน ในขณะที่ซ้ายฝรั่งเศสคือประชาธิปไตยแบบสาธารณะรัฐ นี่คือความแตกต่าง


  • ในขณะที่อีกซีกโลกหนึ่งคือฝั่ง สหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกมองว่า ใช้ระบบทุนนิยม และคนรวยเป็นผู้ปกครองประเทศ ฝั่งอเมริกา จึงถูก นำมาประกบคู่กับ ซีกโลกค่ายคอมมิวนิสต์คือโซเวียตรัสเซีย และ จีน ที่ถูกจัดให้เป็นซ้าย ดังนั้น สหรัฐอเมริกา เมื่อนำมาเปรียบเทียบประกบคู่จึงถูกกันให้เป็นฝ่ายขวา


  • แต่คำว่าขวาในที่นี้ก็ไม่ได้มีความหมายอย่างเดียวกับขวาของฝรั่งเศส เพราะการเมืองในอเมริกาไม่ได้แตกแยกจากกรณีนี้ เมื่อครั้งสงครามการเมืองก็เกิดจากรัฐฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ เรื่องการค้าทาส ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน
  • แต่อเมริกาถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่ายคอมมิวนิสต์ดังนั้นอเมริกาจึงเป็นฝ่ายขวา แต่เป็นขวาแบบประชาธิปไตย รูปแบบรัฐเดิมทีเดียวอเมริกาเป็นแบบสมาพันธรัฐ และได้เปลี่ยนมาเป็น สหพันธรัฐ


ดังนั้นในความหมาย ซ้ายขวาของคู่นี้ จึงเป็นเรื่องของการเมืองโลกระหว่างสองค่ายมหาอำนาจของโลก อย่างโซเวียตรัสเซีย ซึ่งเป็นค่ายคอมมิวนิสต์ และ สหรัฐอเมริกาที่เป็นโลกค่ายเสรี 



ส่วนคู่ที่3 กัมพูชาผมเรียกมันว่าคู่พิกล
พราะมันผิดรูปแบบ ไม่ชัดเจนในรูปแบบ แต่เขาก็เรียกตัวเองว่าฝ่าย ซ้าย ฝ่ายขวาเช่นกัน และมันเป็นอีกหน้าหนึ่งของการเมืองโลก ผมจึงได้นำมาอธิบายไว้ตรงนี้ด้วย


  1. ฝ่ายขวาของกัมพูชา นำโดย นายพล ลอนนอล ( Lon Nol ) และนายพลเจ้าสิริมาตะ เป็นแกนนำฝ่ายขวาจัดกลุ่มนี้มีแนวคิดนิยมหรือเอียงไปทางค่ายของอเมริกาในระยะต้นขวานี้ก็ต้องการให้มีระบบกษัตริย์ด้วย
  2. ฝ่ายซ้ายนำโดย นาย เขียว สัมพัน ( Khieu Samphan)  และนาย เอียง สารี ( Ieng Sary) กลุ่มนี้มีแนวคิดนิยมไปค่ายโลกคอมมิวนิสต์ คือรัสเซียและจีน
  • ฝ่ายขวาต้องการให้เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจกัมพูชาเป็นแบบทุนนิยมตามอย่างอเมริกา
  • ส่วนฝ่ายซ้ายกลับเสนอให้ยึดกิจการต่างๆให้ตกเป็นของรัฐตามแนวทางมาร์กซ์ซิสต์
  • แต่ที่แปลกก็คือ ซ้ายแบบเขมร ยังคงให้มีระบบกษัตริย์อยู่ นี่คือสิ่งที่ผมบอกว่ามันพิกลผิดรูปผิดแบบแผน
  • แต่เมื่อเราวิเคราะห์ลงไปให้ลึกจะเห็นว่ากษัตริย์สีหนุมีแนวคิดเอียงมาทางรัสเซียและจีนชัดเจน ดังนั้นคงไม่ผิดถ้าผมจะเรียกว่า ตัวเจ้ากลับเป็นซ้ายเสียเองตามแบบ จีนรัสเซีย ต้องการให้กัมพูชาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมตามฝ่ายซ้ายเสนอ แต่แก้ปัญหาชาติไม่ได้ จนเจ้านโรดมสีหนุ ยอมให้นายพล ลอนนอล และเจ้าสิริมาตะเข้ามาคุมอำนาจในรัฐบาลอย่างเต็มที่ แต่เจ้าสีหนุก็ไม่พอใจรัฐบาลของ ลอนนอล เช่นกัน จนในที่สุดฝ่ายขวาของ ลอนนอลได้โค่น ระบบกษัตริย์คือเจ้าสีหนุลง นำไปสู่สงครามกลางเมืองแตกเป็นเขมร สามฝ่าย เขมรสี่ฝ่าย เขมรแดงในเวลาต่อมา




ส่วน คู่ต่อมาคือไทย คู่นี้ก็ไม่ได้ต่างไปจากกัมพูชาเท่าใดนัก

  • กล่าวคือฝ่ายที่เรียกตัวเองหรือถูกเรียกว่าซ้าย เรียกตัวเองว่าสหายทั้งหลาย ส่วนใหญ่นิยมแบบมาร์กซ์ซิสต์ตามอย่างรัสเซียและจีน ต้องการจัดรูปแบบรัฐเป็นสาธารณะรัฐ และสังคมนิยม ไม่นิยมอเมริกาและทุนนิยม แต่กลับมีบางส่วนที่นิยมอเมริกา
  • ดังนั้นซ้ายของไทยอาจสรุปได้ว่าเป็นซ้ายแบบโลกคอมมิวนิสต์
  • ส่วนขวาของไทยกลับไม่ใช่คู่ของมันคืออเมริกา แต่กลับเป็นขวาแบบฝรั่งเศสคือขวาตกขอบสุดโต่งเช่นกัน
  • จะเห็นได้ว่ามันเป็นการจับคู่ขัดแย้งที่ผิดคู่มารวมไว้ในการเมืองไทยจึงทำให้หลายคนสับสนว่า ซ้าย-ขวาในไทยมันต่างจากซ้ายขวาของฝรั่งเศส และอเมริกาอย่างไร ตามที่ผมได้อธิบายไว้แล้วเมื่อเป็นเช่นนี้ผมจึงสรุปได้ว่าคำว่าซ้ายขวามันมี 2 รูปแบบครึ่ง

ซ้าย 2 รูปแบบครึ่ง

  1. ซ้ายต้นแบบตามอย่างฝรั่งเศสผมใช้สีขาวแทนรูปแบบนี้ซึ่งเป็นซ้ายประชาธิปไตยแบบสาธรณะรัฐ
  2. ซ้ายตามอย่างรัสเซียและจีน เป็นซ้ายแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ตามแนว มาร์กซ์ -เลนิน
  3. ซ้ายครึ่งเดียวตามแบบฉบับเขมร มีแนวคิดเอียงซ้ายตามโลกคอมมิวนิสต์ แต่เนื้อในกลับมีศักดินาซึ่งขัดหลักทฤษฎีตามต้นฉบับของ คาร์ล มาร์กซ์
ขวา มี 2 รูปแบบครึ่ง
  1. ขวาตามต้นแบบฝรั่งเศสคืออนุรักษ์นิยมสุดขั้วต้องการให้ประเทศคงรูปแบบราชอาณาจักร
  2. ขวาแบบสหรัฐอเมริกา ซึ่งผมขอย้ำตรงนี้อีกครั้งว่า กรณีอเมริกาที่เป็นขวาเพราะถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่ายคอมมิวนิสต์ของรัสเซียและจีน ซึ่งตัวอเมริกาเองไม่ได้เรียกตัวเขาเองว่าขวาเหมือนที่อื่นแต่ข้างต้น ดังนั้นขวาตามความหมายของอเมริกาจึงเป็นขวาแบบ ประชาธิปไตย ต่างจากขวาฝรั่งเศสสุดขั้วเช่นกัน
  3. ขวาแบบกัมพูชา แม้นิยมขวาแบบเดียวกับอเมริกา แต่ระยะต้นก็ยังให้มีการปกครองประเทศในรูปแบบราชอาณาจักรอยู่ จึ่งเป็นขวาไม่เต็มรูปแบบตามอย่างอเมริกานั่นเอง
จึงสรุปได้ว่า

  • ซ้ายมี 2 ความหมายคือ
  1. ซ้ายประชาธิปไตย  (ฝรั่งเศส )
  2. ซ้ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (จีนรัสเซีย )
  • ขวามี 2 ความหมายคือ
  1. ขวาสุดขอบคืออนุรักษ์นิยม  (ฝรั่งเศส )
  2. ขวาโลกเสรีค่ายอเมริกา ตามที่ผมได้อธิบายมาแล้วทั้งหมด
คราวนี้ท่านก็จงตรวจสอบอุมการณ์ของตัวท่านเองว่า ท่านซ้ายแบบไหน หรือขวาแบบไหนตามที่อธิบายแต่ข้างต้น

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง ศศ.บ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น