หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตำราหารัก












ตำราหารัก - สายัณห์ สัญญา


ตำราหารัก



  • ถ้าเราเคยดูหนังฝรั่งจะสังเกตว่าแนวเรื่องของเขาจะไม่เริ่มต้นที่หนุ่มสาวรักกันแล้วก็โดนพ่อแม่กีดกันแล้วก็ฝ่าฟันจนได้แต่งานแล้วก็จบ



  • แต่หนังฝรั่งจะเริ่มจากการแต่งงาน และการใช้ชีวิตหลังแต่งงานว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง
  • ส่วนหนังไทยจบที่แต่งงาน หลังจากนั้นถ้ามีต่อคงเลิกลากัน



  • ผมยกตัวอย่างหนังไทยหนังเทศมาทำไมคือมันบอกอะไรเราบางอย่างถึงวิธีคิดครับ 
  • มันบอกว่าฝรั่งเขาให้ความสนใจกับชีวิตจริงหลังแต่งงานมากกว่าก่อนแต่งงาน
  • แต่คนไทยให้ความสนใจแค่พิธีการในการแต่งงาน คนไทยถึงได้จัดงานใหญ่โตในพิธีแต่งงาน ก้นหม้อยังไม่ทันดำก็เลิกรู้กันไปทั้งเมืองเช่นกัน



  • ก่อนที่คนสองคนจะตกลงมาใช้ชีวิตร่วมกันได้มันต้องมีที่มาที่ไปครับ หรือต้นเหตุ



  • บางคนพอแต่งงานไปแล้ว ไม่พอใจว่าทำไมสามีเรา ภรรยาเรา ชอบเที่ยวกลางคืนจัง บางคนบอกทำไมกินเหล้าจัง ชอบเล่นไพ่จัง ต้องไปดูที่มาครับ



  • ลองย้อนเวลาไปดูว่าตอนที่เรารู้จักกันกับเขาและเธอคนนี้ (ปิ๊งกันน่ะ ) ที่ไหนครับ ในวงเหล้า ในคลับ บาร์ ในโต๊ะสนุกเกอร์ ในผับ นั้นเองครับคือที่มาก็คนมันนิสัยอย่างนั้นมาแต่ต้นแล้ว เพียงแต่ตอนนั้นเรามันหูหนาตาเล่อครับ



  • พระอาจารย์ท่านหนึ่งฉายาท่านอะไรผมจำไม่ได้ครับแต่ท่านเทศน์ไว้ดีครับก็เลยต้องกราบนมัสการขออนุญาตยืมคำพูดท่านมา



  • ท่านบอกว่าจะดูนิสัยคนว่ามันเป็นคนอย่างไรดูไม่ยากให้ดูที่ 2 ช.และ 2 ข.



  • 2 ช.   ก็คือ ช.ชอบ และ ช.ชวน คือคนมันชอบอะไรมันก็ชวนเราไปอย่างนั้นตามที่มันชอบ เช่น วันนี้ไปกินเหร้ากันไหม วันนี้ไปทำบุญกันไหม วันนี้ไปอาบอบนวด เข้า เลาน์ เข้าบาร์กันไหม 



  • นั่นคือมันแสดงนิสัยที่แท้ของมันออกมาให้เราเห็นแล้ว ถ้าเราชอบตามนั้น เราก็ ตะเภาเดียวกันกับคนนั้นครับ ถ้าเราไม่ชอบก็ปฏิเสธ นี่คือ 2 ช.



  • ส่วน 2 ข. ท่านบอกว่าให้ดูว่ามันเขนเข้าหรือขนออก



  • ขนเข้าก็คือ ขนสมบัติ คือรู้จักหารายได้เข้าบ้าน หรือขนเข้าบ้าน
  • ขนออกคือ ขนทรัพย์สินออกจากบ้านจนหมด หรือล้างผลาญครับ



  • แต่ผมเพิ่มเติมว่า ทั้งสองอย่างจะสุดโต่งไปครับ คือมีแค่ขนเข้ากับขนออก ผมเพิ่มเติมว่า ขนเข้าอย่างเดียวโดยไม่ยอมออกก็ไม่ดีครับ เรียกว่าตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เอาญาติพี่น้องเพื่อนฝูง ประเภทมีแขกมาบ้านทะเลาะกันใส่หน้าแขกเพื่อไล่แขก ไม่ไหวครับ แม้มีเงินแต่ปล่อยลูกเมียกลืนน้ำลาย อมลิ้น จนไส้แห้ง อย่างนี้แม้มีเงินถ้าไม่รู้จักจุนเจือสังคมรอบข้างบ้างก็แย่ครับ ผมจึงให้อ่อนลงมาหน่อยคือให้รู้จักหารู้จักใช้ครับ ใช้ในสิ่งที่จำเป็น



  • จำเป็นก็คือ  มันขาดอยู่มันต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นสบู่ ยาสีฟัน ข้าวปลา นี่คือจำเป็นครับ 
  • ถ้าอยาก เช่นอยากได้แก้วคริสตัลหรู จานเมลามีน ราคาแพงหูฉี่ แต่ซื้อมาแล้วไม่ใช้ กลัวแตกเสียหาย แต่เก็บเข้าตู้ และไปใช้ถ้วยโฟมที่แถมมากับมาม่า และผงซักผ้าแทน



  • ส่วนขนออก ข้อนี้ไม่ดีอยู่แล้วครับ ไม่รู้จักหาแต่รู้จักใช้ คือขี้เกียจหาแต่ขยันใช้ เจอที่ไหนดำดินหนีได้รีบไปเลยครับคนอย่างนี้ไม่ควรเสวนา


ทัศนะคติ วิธีคิด การศึกษา วัฒนธรรม ต้องไม่แตกต่างกันมากครับ


  • คนที่เคยผ่านชีวิตคู่มาแล้วจะยืนยันคำพูดนี้ของผม ว่าจริง คนเราพออยู่กันไปนานเรามักเห็นตัวตนที่แท้จริง ซึ่งเป็นความต่างที่ต่างฝ่าย ต่างซ่อนเอาไว้ ปิดบังเอาไว้ มารู้อีกทีก็ตอนมีลูกมีเต้าไปแล้ว เลยต้องหวานอมขมกลืน



  • แต่ถ้าเป็นสมัยใหม่ต้องตรวจให้ละเอียดครับว่าคนที่จะมาเป็นคู่ของเรา คนที่จะมาเป็นพ่อของลูกเรา เป็นแม่ของลูกเราในอนาคตเป็นอย่างไร



  1. มีหนี้สินติดตัวมาด้วยหรือไม่ ต้องถามครับ และเรารับได้หรือไม่ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าแต่งกับหนี้ครับเสีเครดิตมาแล้ว
  2. มีคดีติดตัวมาด้วยหรือไม่ ต้องดูกันครับ ว่าเคยทำสิ่งผิดกฎหมายมาหรือไม่ เคยต้องคดีอาญามาหรือไม่ (ผมละเว้นคดีทางการเมืองครับ ) เพราะคดีทางการเมืองเป็นเรื่องของความคิดเห็นเป็นอุดมการณ์ไม่ใช่คนชั่วโดยสันดานครับ ควรภูมิใจครับถ้าได้ติดคุกเพราะการเมือง แต่อย่าอยากติดเลยครับ
  3. มีโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาด้วยหรือไม่ เช่นตาบอดสีหรือโรคบกพร่องทางยีนส์หรือพันธุกรรมอื่น เพราะมันจะถ่ายทอดความบกพร่องนี้ส่งถ่ายไปถึงลูกคุณในอนาคต ถ้าคุณรับได้ก็ ว่าไปครับ หรือเป็นโรคร้ายแรงหรือไม่ เพราะจะกลายเป็นว่า เอาคนป่วยมารักษา ข้อนี้ผมหมายถึงก่อนแต่งนะครับ ต้องคัด แต่อยู่กันมาก่อนแล้วมาเป็นภายหลังก็ต้องยอมรับสภาพครับไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าเราใจดำไป

นี่เป็นเพียงตัวอย่างครับว่า การเลือกคู่มันเป็นสิ่งที่ยากครับ แต่การใช้ชีวิตคู่มันยิ่งยากกว่าครับ เพราะคนต่างที่มา ต่างการเลี้ยงดู พื้นฐานทางสังคมต่างกัน ดังนั้นต้องเลือกคนที่ใกล้กับเราให้มากที่สุดครับ






ทั้งหมดเป็นเพียงแง่คิดและประสบการณ์ครับ ซซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้

กังวาล ทองเนตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น