หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ครอบครัวคืออะไร






ครอบครัวคืออะไร

ครอบครัวคือหน่วยย่อยที่สุดในสังคมแต่มีความสำคัญที่สุดในสังคม เพราะถ้าครอบครัวหรือหน่วยย่อยที่สุดในสังคมล้มเหลวก็จะทำให้สังคมนั้นล้มเหลวไปด้วย

ครอบครัวแบ่งออกเป็น  2  ประเภทคือ
  1. ครอบครัวขยาย เป็นครอบครัวของคนไทยโบราณที่สมาชิกในครอบครัวอาศัยกันอยู่หลายรุ่นคน เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย  พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา อาศัยกันอยู่เป็นแบบครอบครัวใหญ่ ซึ่งสมัยนี้นับวันจะหาครอบครัวขยายได้ยาก
  2. ครอบครัวเดี่ยว เป็นครอบครัวของคนยุคสมัยปัจจุบัน ที่อาศัยกันอยู่เพียง พ่อ แม่ ลูก เท่านั้นเป็นครอบครัวขนาดเล็ก กระทัดรัด ไม่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติมากนัก

ลักษณะของครอบครัว

ครอบครัวเป็นที่อยู่อาศัย และ ทำกิจกรรมร่วมกัน ของสมาชิกในครอบครัว ซึ่่งสมาชิกในครอบครัว มักมีความเกี่ยวพันกันทางสายเลือด ทางเครือญาติ และเกี่ยวพันทางการแต่งงาน เป็นหลัก มาอาศัยในครอบครัวเดียวกัน

หน้าที่ของครอบครัว
  1. ผลิตสมาชิกให้แก่สังคม
  2. อบรมบ่มเพาะค่านิยมที่ดีงามปลูกฝังขนบธรรมเนียม แบบแผนทางสังคม และกล่อมเกลาให้สมาชิกในครอบครัวเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป
  3. ให้ความอบอุ่นแก่สมาชิกในครอบครัวเพื่อให้สมาชิกผู้นั้นเข้าสู่สังคมและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
  4. ให้การศึกษาแก่สมาชิกของครอบครัว เป็นต้น

หน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว
  1. ให้ความเคารพเชื่อฟังผู้นำในครอบครัว
  2. ดูแลครอบครัว ให้สามารถอยู่ได้ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่อื่นๆ
  3. ไม่สร้างความแตกแยก แก่ครอบครัว
  4. ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ครอบครัว
  5. เคารพกฎเกณฑ์ของครอบครัวและแบบแผนทางสังคม
  6. สร้างอาชีพและรายได้ให้เพียงพอกับสมาชิกในครอบครัว
  7. ทำนุบำรุงครอบครัว ดูแลสมาชิกที่ เจ็บป่วย และสมาชิกที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นต้น
  8. วางแผนอนาคต กำหนดและควบคุม ค่าใช้จ่ายในครอบครัวให้มีความสมดุลสอดรับกับรายได้เพื่อครอบครัวจะได้ไม่เดือดร้อน




การสร้างครอบครัว

การสร้างครอบครัว เริ่มจากคู่บ่าวสาวที่มีความยินยอมจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน มาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน โดยการแต่งงานโดยเปิดเผย มีสักขีพยานรู้เห็น มาร่วมกันสร้างครอบครัวของตนเองขึ้นมา

ดังนั้นชีวิตในครอบครัวจะประสบกับความล้มเหลว หรือ สำเร็จหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับการรู้จักปรับตัวเข้าหากัน ยอมรับความคิดเห็น ยอมรับความแตกต่าง ยอมรับในกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติของมนุษย์ รู้จักขอบเขตความพอดี รู้จักหน้าที่ของตนเองที่มีต่อครอบครัว

เมื่อคนสองคน ต่างพ่อแม่ ต่างที่มา ต่างการศึกษา ต่างขนบธรรมเนียม ต่างอารยะธรรม ต่างการเลี้ยงดู ต่างฐานะ มาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และย่อมเป็นเช่นนี้ตลอดไป จึงเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ชีวิตคู่จะต้องยอมรับให้ได้ การใช้ชีวิตคู่ ไม่ใช่การที่คนหนึ่งไปใช้ชีวิตกับคนหนึ่งแล้วให้อีกคนหนึ่งปรับต้วเข้าหาตนเองและเป็นฝ่ายยอมตนเองอยู่ตลอดเวลา 

แต่การใช้ชีวิตคู่คือการที่คนสองคนต้องมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันและต้องปรับตัวเข้าหากันทั้งสองฝ่าย ทลายกำแพงความแตกต่างของแต่ละฝ่ายลงหรือให้มีกำแพงบางที่สุดเพื่อการเข้าหากันถ้อยที่ถ้อยอาศัย รักษาน้ำใจกัน ให้เกียรติกัน ไว้วางใจกัน ไม่ดื้อดึงขึงขืนเอาแต่ใจของตนเองเป็นที่ตั้งระแวงระวัง ซึ่งจะทำให้สายสัมพันธ์ในครอบครัวจืดจางลง และนำมาซึ่งการหย่าร้างในที่สุด

คนที่จะใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกันได้ต้องเกิดขึ้นจากเหตุ 3 ปัจจัยดังนี้

  1. ดีพอกัน หมายถึง มีทัศนะคติ ไอคิว อีคิว การมองโลก การศึกษา ที่เท่ากัน หรือใกล้เคียงกันมากที่สุด
  2. ชั่วพอกัน หมายถึง มีแง่คิด มุมมอง ทัศนคติ วิธีการ ที่ตรงกัน เท่ากัน เช่น ผัวเหล้า เมียแก้ว ผัวไพ่ เมียหวย แม้คนอื่นจะมองว่าครอบครัวนี้แย่ แต่สภาพครอบครัวของเขากลับอยู่กันได้และดำรงสภาพครอบครัวอยู่ได้ตามแบบฉบับของเขา แม้ในทางสังคม สภาพครอบครัวแบบนี้จะไม่ใช่สภาพครอบครัวที่ดี ไม่เหมาะแก่การอบรมสั่งสอนปลูกฝังเยาวชน แต่ในเชิงจิตวิทยา ในการใช้ชีวิตคู่ ก็สามารถอยู่กันได้
  3. ตกลงกัน หมายถึง ทั้งสองฝ่ายมีอะไรที่แตกต่างขัดแย้งกัน แต่สามารถอยู่ด้วยกันบนพื้นฐานข้อตกลงกัน ก็สามารถ ดำเนินชีวิตคู่ได้แม้ไม่สู้ดีนัก
ซึ่งครอบครัวบแบบที่ 2-3 สุดท้ายมักนำมาซึ่งการหย่าร้าง นำมาซึ่งปัญหาสังคมได้ เช่น ปัญหาครอบครัวแตกแยก ปัญหาหาสาธารณะสุข เช่นเด็กติดสิ่งเสพติด มอมเมา อบายมุข การก่อคดีอาชญากรรม ปัญหาเด็กเร่ร่อน ปัญหาทางเพศสัมพันธ์ มีท้องโดยไม่พร้อม หรือท้องก่อนวัยอันควร นำมาซึ่งปัญหาสังคมต่อเนื่องอีกมากมายเป็นเงาตามตัว 
ในที่สุดความล้มเหลวทางครอบครัวนี้กลายปัญปัญหาภาพรวมทางสังคมโดยอัตโนมัติ



เมื่อรักสุกงอมก็จบลงที่แต่งงาน


เมื่อสิ้นรักครอบครัวก็กลายเป็นเวทีมวย







กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง








พระปรางค์วัดอรุณ ( วัดแจ้ง )



































ถามใจเราก่อนว่าทุกครั้งที่เราเห็นชายหนุ่มหญิงสาวรูปร่างหน้าตาดี
เรากำลังนึกถึงอะไร ครอบครัวที่ดี หรือ เซ็กส์ ถ้าเรานึกถึงอย่างหลัง แสดงว่าเป้าหมายของเราไม่ใช่อยากมีครอบครัวที่ดี แต่กำลังต้องการสนองตอบความต้องการทางอารมณ์ ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติชั่วครั้งคราว ซึ่งมันจะต่างจากชีวิตคู่

การใช่ชีวิตคู่ กับการมีเซ็กส์ เป็นคนละเรื่องกัน แม้มันจะคาบเกี่ยวกันอยู่ ขึ้นอยู่กับว่าเรามองส่วนไหนมากกว่ากัน

การมีเซ็กส์ หรือการร่วมรัก ธรรมชาติสร้างกฎเกณฑ์นี้มา เพื่อให้สัตว์โลกใช้ขยายเผ่าพันธุ์และดำรงอยู่ซึ่งเผ่าพันธุ์ตนเอง การสืบพันธุ์จึงเป็นเรื่องการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์

แต่มนุษย์กับใช้เซ็กส์ไปเป็นเครื่องกล่อมเป็นสิ่งกล่อม เพื่อความเพลิดเพลิน จนเกิดธุระกิจเกี่ยวกับเซ็กส์ ขายเซ็กส์ เพื่อความเพลิดเพลินหาใช่สืบพันธุ์ จนมียาคุมกำเนิด เพื่อลดการตั้งครรภ์ เพื่อใช้เซ็กส์เป็นความบันเทิง

เราต้องยอมรับให้ได้ก่อนว่า คนสวย คนหล่อ ตามภาพที่เราประจักษ์ เมื่อเราอยูใกล้ชิด
เขาก็คือคนธรรมดาเหมือนเรา มีโกรธ มีรัก มีโลภ ตื่นเช้ามาใบหน้า เยิน ผมยุ่ง นอนกรน ผายลม เลอเสียงดัง กินจุ กินเสียงดัง กินมูมมาม พูดมาก ขี้บ่น ขี้โมโห โมโหร้าย โวยวาย เจ้าอารมณ์ เหล่านี้ คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน มากน้อยขึ้นอยู่กับ การขัดเกลาทางครอบครัวที่คนๆนั้นได้รับมาจากครอบครัว ดังนั้นครอบครัวจึงสำคัญที่สุดในสังคม








1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ13 กันยายน 2556 เวลา 13:36

    ส่วนตัวแล้วความรักคือเห็นคนที่เรารักมีความสุข แต่ไม่ใช่เห็นเค้าอยู่กับใครแล้วมีความสุขที่ไม่ใช่เรา แล้วยังจะมีความสุข มันไม่ใช่เราแน่ ก็คงต้องจบและหยุดแค่นั้น

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น