หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หมู่เลือดของมนุษย์ (Blood Groups)





  • หมู่เลือดของมนุษย์ แบ่งออกได้ 4 หมู่ใหญ่ๆ ดังนี้


1.หมู่เลือด โอ ( 0 ) เป็นหมู่เลือดที่ไม่มี Antigen ที่ผิวเม็ดเลือดแดง แต่มี antibody a หรือ anti -A  และ antibody
( anti -B )  อยู่ในน้ำเลือด ( พลาสม่า )

2.หมู่เลือด เอ ( A ) เป็นหมู่เลือดที่มี antigen A อยู่ที่ผิวเม็ดเลือดแดง และ antibody  b 
หรือ anti -Bอยู่ในน้ำเลือด    (พลาสม่า )

3. หมู่เลือดบี ( B ) เป็นหมู่เลือดที่มี antigen b อยู่ที่ผิวเม็ดเลือดแดง และมี antibody -a หรือ anti-A อยู่ในพลาสม่า

4. หมู่เลือด  AB เป็นหมู่เลือดที่มี antigen A และ B อยู่ที่เม็ดเลือดแดง แต่ไม่มี antibody หรือ agglutinin  อยู่ในน้ำเลือดหรือพลาสม่าเลย




  • หลักในการถ่ายเลือดมีอยู่ว่า (ABO)


เม็ดเลือดแดงในเลือดของผู้ให้ ต้องมี antigen หรือ agglutinogen เป็นคนละชนิดกับ antibody ของผู้รับ

จากหมู่เลือดทั้งหมดจะเห็นว่า หมู่โอ ไม่มี antigen ที่ผิวเม็ดเลือดแดงเลย ในขณะที่หมู่อื่นต่างมี antigen ของหมู่เลือดตนเอง









  • ดังนั้นสรุปหลักการถ่ายเลือด


1.ถ้าผู้รับมี เลือดเป็นหมู่ โอ  (0 )จะรับเลือดได้เฉพาะเลือดที่เป็นหมู่ โอ ด้วยกันเท่านั้น จะรับหมู่อื่นไม่ได้เลย ถ้ารับหมู่อื่นเข้าไปก็จะเกิด agglutination

2.ถ้าผู้รับมีเลือด เป็นหมู่ เอ ( A )จะรับได้เฉพาะเลือดที่เป็นหมู่ เอ และ หมู่ โอ เท่านั้น

3.ถ้าผู้รับมีเลือดเป็นหมู่ บี ( B) จะรับได้เฉพาะเลือดที่เป็นหมู่ บี และโอเท่านั้น

4.ถ้าผู้รับมีเลือดเป็นหมู่ เอบี (AB ) จะสามารถ รับเลือดได้ทุกหมู่ ตั้งแต่ โอ บี เอ และ เอบี ด้วยกัน



  • จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีหมู่เลือด โอ จะเป็นหมู่เลือดที่เสียสละที่สุด เพราะตัวเองจะรับได้เฉพาะหมู่ โอเท่านั้น ในขณะที่ ให้กับหมู่อื่นได้ทุกหมู่ เรียกหมู่โอว่า Universal donor


  • ส่วนหมู่ เอบี ( AB) จะเป็นหมู่ที่รับอย่างเดียว และรับได้ทุกกลุ่มเลือด ในขณะที่ไม่สามารถให้ใครได้เลย นอกจาก เอบีด้วยกันเอง จึงเรียกว่า Universal recipient




  • นอกจากนี้ยังมีหมู่เลือดที่พิเศษต่างออกไปอีกคือ หมู่เลือด Rh  (Rhesus )
  • ในหมู่เลือดทั่วไปจะมี antigen A  และ B ส่วนหมู่ Rh จะมีเพิ่มมาอีก 3 ตัวคือ antigen ซี ,ดี และ อี
  • นอกจากนี้หมู่เลือด Rh ยังแยกออกได้อีกคือ หมู่เลือด  Rh+  ( Rh POSITIVE ) และ Rh- (Rh negative)

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ SPECIAL BIOLOGY 3-4 สำนักพิมพ์ ประสานมิตร 2527 (โดย
ประมาณ)







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น