หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การประชุมร่วมของรัฐสภา



  • รัฐสภา หมายถึง สภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา ( กรณีที่ประเทศที่ใช้ระบบ 2 สภา )
  • ส่วนประเทศที่ใช้สภาเดียวคือสภาผู้แทน ก็ให้หมายถึง รัฐสภา การทำหน้าที่ร่วมกันในที่ประชุม เรียกว่า ประชุมรัฐสภา กรณีแยกกันประชุม ก็ให้เรียกตามชื่อสภานั้น เช่น สมาชิกสภาผู้แทนประชุม ก็เรียกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาก็เรียกวุฒิสภา



  • ตามรัฐธรรมนูญไทยฉบับที่18 หรือฉบับ พ.ศ.2550 ระบุให้ทั้ง 2 สภาทำหน้าที่รัฐสภาร่วมกันในเรื่องดังต่อไปนี้


มาตรา136 ในกรณีต่อไปนี้ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน


  • การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา 19
  • การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาตามมาตรา 21
  • การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ตามมาตรา 22
  • การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติตามมาตรา 23
  • การมีมติให้รัฐสภาพิจารณาเรื่องอื่นในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้ ตามมาตรา 127
  • การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุมตามมาตรา 127
  • การเปิดประชุมรัฐสภาตามมาตรา 128
  • การตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภาตามมาตรา 137
  • การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 145
  • การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติใหม่ ตามมาตรา 151
  • การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติต่อไป ตามมาตรา 153 วรรคสอง
  • การแถลงนโยบายตามมาตรา 176
  • การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 179
  • การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม ตามมาตรา 189
  • การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา ตามมาตรา 190
  • การแก้ไขเพิ่มเติมตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291


กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ เอกการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น