หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ศาสนาเชน


ศาสนาเชน

เชนถือกำเนิดขึ้นที่ราบลุ่มน้ำคงคาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียปัจจุบัน
ศาสนาเชนกำเนิดขึ้นในยุคเดียวกับศาสนาพุทธ อยู่ระหว่าง  540- 468 ปีก่อน คริสตกาล

  • วัตถุประสงค์ของการเกิดศาสนาเชน คล้ายกับศาสนาพุทธคือ
  • ต้องการปฏิรูปสังคมอินเดียที่เป็นระบบวรรณะ

ศาสนาเชนมีศาสดาชื่อ มหาวีระ เป็นนักบวชเปลือย  เกิดในตระกูลชนชั้นสูง วรรณะกษัตริย์ โดย ศาสดามหาวีระเป็นโอรสของ สิทธารถ หัวหน้าเผ่ากษัตริย์ตระกูลนักฟ้อน บางทีจึงมีผู้เรียกนามท่านว่า นิครนถ์ นาฎบุตร


  • มหาวีระ ออกบวชเมื่อมีอายุ 30 ปี บำเพ็ญตนอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาเป็นเวลา  12  ปี จึงตรัสรู้ หรือ เกาลชญาณ ใต้ต้นไทร และเมื่อพระองค์มีอายุได้ 42 ชันษา ได้เป็น  ชินะ  หมายถึงผู้ชนะทุกอย่าง


  • พระองค์ได้ออกเผยแพร่สัจธรรมอยู่ 30 ปี โดยตั้งระบบนักบวชเปลือยอย่างเคร่งครัด และได้บรรลุ ไกรวัลย์ ( ตาย )   ที่เมือง ปาวาบุรีทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย พระชนม์ 72 พรรษา



  • เมื่อศาสดามหาวีระ ได้ถึงแก่ ไกรวัลย์แล้วศาสนาเชนได้แตกออกเป็น  2 นิกายคือ


1.นิกายฑิฆัมพร เป็นสายที่ยึดถือแนวดั้งเดิมของมหาวีระคือเป็นนักบวชเปลือยไม่ยึดติดกับสิ่งใดแม้แต่เสื้อผ้าอาภรณ์ติดตัวก็ตาม

2.นิกายเศวตัมพร เป็นนักบวชนุ่งขาวห่มขาวมีทั่วไปในอินเดียมีทั้งหญิงและชาย

หลักธรรมของศาสนาเชนที่สำคัญได้แก่

--เห็นชอบ
--รู้ชอบ
--ประพฤติชอบ ในศีล 5 ประการคือ
1. ไม่เบียดเบียนสัตว์ที่มีชีวิตทั้งกายและวาจา
2. ไม่ลักทรัพย์
3. ไม่พูดเท็จ
4. เป็นอยู่อย่างบริสุทธิ์ด้วยกายวาจาใจ
5. ไม่ปรารถนากล้าเกินกำลังตน


  • ในเบื้องต้นที่กำเนิดศาสนาเชนขึ้นมาคือ 


ปฏิเสธระบบชนชั้น หรือระบบวรรณะในอินเดียอย่างสิ้นเชิง
ปฏิเสธการอ้อนวอนต่อรูปเคารพ
ปฏิเสธการบูชายัญ
ปฏิเสธเรื่องพรหมลิขิต
ปฏิเสธว่าพระพรหมคือผู้สร้างโลก


  • จะเห็นได้ว่าหลักการของเชนคล้ายกับพุทธมาก และเป้าหมายสำคัญที่สุดคือปฏิรูปสังคมอินเดียในเวลานั้น
  • ส่วนที่ประเทศไทย ได้รู้จักศาสนาเชนในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ปรากฎในวรรณกรรมของ สุนทรภู่เรื่องพระอภัยมณี ที่มี ตัวละครชื่อ ชีเปลือย ในเนื้อเรื่องนี้ด้วย แสดงให้เห็นว่าเชนได้มีโอกาสเข้ามาเผยแพร่ในแผ่นดินไทย ในปลายอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์



 รูปปั้นศาสดามหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน


นักบวชของศาสนาเชน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น