หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นิติรัฐ ( Legal State )

อำนาจ หรือป่าเถื่อน


นิติรัฐ ( Legal State )

พูดกันมาก กับคำว่าหลักนิติรัฐ แต่ที่มาที่ไปหรือความหมายที่แท้จริงมันคืออะไร น้อยคนที่จะกระจ่าง วันนี้จะเสนอ หลักนิติรัฐ


           แนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตยนั้นถือว่า แม้รัฐจะมีอำนาจอธิปไตยแต่รัฐก็ต้องเคารพกฎหมาย ซึ่งมีอยู่ 2 ทฤษฎีดังนี้

1.   ทฤษฎีว่าด้วยการจำกัดอำนาจของตนเองด้วยความสมัครใจ ปราชญ์ชาวเยอรมัน 2 คน ที่เสนอ ทฤษฎีนี้มีหลักว่า 
รัฐไม่อาจถูกจำกัดด้วยกฎหมายได้ เว้นแต่รัฐจะสมัครใจผูกมัดตนเองด้วยกฎหมายที่ตนเองสร้างขึ้นและกฎหมายหลักที่รัฐสร้างขึ้นมาคือ รัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญจะกำหนดขอบเขตอำนาจการเมืองในรัฐ ว่า อยู่ที่องค์กรใดและมีข้อจำกัดอย่างไร

2.   ทฤษฎี นิติรัฐ ( Legal State )  ซึ่ง กาเร่ เดอมาลแบร์ ได้เสนอแนวคิดว่า รัฐและหน่วยงานของรัฐทำการเพื่อประโยชน์สาธารณะและอยู่ในฐานะที่เหนือกว่าเอกชน มีอำนาจก่อให้เกิดความเคลื่อนไหว ในสิทธิหน้าที่แก่เอกชนได้ฝ่ายเดียว โดยที่เอกชนไม่ต้องให้ความยินยอม แต่กฎหมายก็ได้กำหนดกรอบอำนาจรัฐเอาไว้เช่นกัน

             หลักนิติรัฐมีสาระสำคัญอยู่ 3 ประการคือ

1 ) บรรดากฎหมายทั้งหมดที่องค์กรของรัฐหรือฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราขึ้น ต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะกฎหมายที่ให้อำนาจแก่องค์กรของรัฐ ฝ่ายบริหารล่วงล้ำเข้าไป ในแดนแห่งสิทธิเสรีภาพของราษฎรนั้น จะต้องมีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจน ว่าจะให้องค์กรใดของรัฐมีอำนาจล่วงล้ำเข้าไป ในดินแดนแห่งสิทธิเสรีภาพนั้น และในกรณีใด มีขอบเขตอย่างไร และต้องไม่ให้อำนาจรัฐล่วงล้ำดินแดนแห่งสิทธิเสรีภาพของราษฎรเกินขอบเขต

2 ) บรรดาการกระทำทั้งหลายขององค์กรรัฐ หรือ ฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้น กล่าวคือฝ่ายรัฐจะมีอำนาจสั่งการให้ราษฎรกระทำหรือละเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดเจน และต้องใช้อำนาจนั้นภายในกรอบของกฎหมายเท่านั้น

3 )  การควบคุมกฎหมายไม่ให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ ควบคุมการกระทำขององค์กรรัฐฝ่ายบริหารไม่ให้ขัดต่อกฎหมาย



  • โดยหลักแล้วก็มีเท่านี้ครับ สรุปก็คือ บรรดากฎหมายทั้งหลายต้องออกโดยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประเภทคำสั่ง คณะโน่นนี่ ไม่ใช่ และกฎหมายนั้นต้องออกโดยรัฐสภา ไม่ใช่ สนช. และกำหนดให้ชัดว่าจะให้อำนาจหน่วยงานใดมีอำนาจในกฎหมายนั้น และให้ใช้อำนาจนั้นเท่าที่จำเป็นไม่นอกกรอบ และพึงระวังการรุกล้ำดินแดนแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชน อย่างเคร่งครัด  

  •   นอกจากนี้ก็จะมีมาตรการในการใช้อำนาจทางปกครอง คือการออกกฎ ออกคำสั่งทางปกครอง และวิธีการใช้อำนาจนั้น ซึ่งผมได้เสนอไปแล้ว


                                            

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์การปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง ศศบ.ร.บ.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น