หน้าเว็บ

กลับหน้าแรกล่าสุด

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

โธมัส ฮอบส์( Thomas Hobbes)

                                                   โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes )

โธมัส ฮอบส์ (ค.ศ.1588-1679 )
  • ฮอบส์เป็นนักปรัชญาการเมืองของอังกฤษ ซึ่งแนวคิดของเขาส่วนใหญ่สนับสนุนแนวคิดของกษัตริย์ในยุคนั้น ฮอบส์อยู่ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 แนวคิดของฮอบส์โด่งดังขึ้นมาจากผลงานเขียนของเขาในหนังสือชื่อ Leviathan
บริบทของฮอบส์
  • ฮอบส์เกิดในยุคที่สังคม ที่แตกแยก ระหว่างการปฏิรูปศาสนาและความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์และฝ่ายรัฐสภา ( พระเจ้าชาร์ล ที่ 1 และโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ) ซึ่งต่อมาฝ่ายสภาเป็นฝ่ายชนะ ส่วนพระเจ้าชาร์ลที่ 1ถูกประหารชีวิต 
ช่วงยุคเวลานั้นอังกฤษตกอยู่ภายใต้ปกครองโดยระบบจักรภพของ  ครอมเวลล์ แต่ก็เป็นระยะเวลาสั้นๆ เพราะบุตรชายของครอมเวลล์ คือ ริชาร์ด ครอมเวลล์ ไม่สามารถรักษาระบอบนี้ไว้ได้ ทำให้ประเทศอังกฤษต้องกลับคืนไปสู่การปกครองแบบกษัตริย์อีกครั้ง โดยสถาปนาพระเจ้าชาร์ล ที่ 2 ขึ้นเป็นกษัตริย์ ในปี ค.ศ.1660

ชีวิตและผลงานของฮอบส์

ฮอบส์เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ.1588 ที่เมืองมาล์มเบอรี่ ( Malmesbury ) 
  • ฮอบส์เริ่มอาชีพ ด้วยการเป็นครูสอนหนังสือให้กับบุตรของ วิลเลี่ยม ดาเวนดิช
  • ผลงานครั้งแรกของฮอบส์คืองานแปลผลงานของ ธูซิดิดิส
  • ผลงานการเขียนด้านการเมือง เล่มแรกของเขาคือ องค์ประกอบของกฎหมาย
( The Element of Law ) ซึ่งเนื้อหาหนังสือเป็นการสนับสนุนแนวนโยบายพระเจ้า ชาร์ล ที่ 1

  • ฮอบส์หนีภัยไปอยู่ที่ฝรั่งเศส 11 ปี เมื่ออายุ 87 ปีเขาได้แปลงานมหากาพย์ของกรีก คืออีเลียด ( Iliad) และ Odyssey ของ HOMER จนเสร็จสมบูรณ์  และถึงแก่กรรมเมื่อ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1679 รวมอายุได้ 91 ปี

มุมมองของฮอบส์

ธรรมชาติของมนุษย์
  • ฮอบส์เชื่อว่าธรรมชาติได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาให้มีความเท่าเทียมกันทั้งร่างกายและจิตใจ
  • ฮอบส์มองว่าธรรมชาติอีกอย่างของมนุษย์คือ มีความต้องการตลอดเวลา โดยเขาเชื่อว่า ความต้องการนี้เป็นผลมาจากแรงผลักดันภายใน เขาสรุปว่าตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ ก็จะมีความต้องการอยู่ร่ำไป
  • มนุษย์ต้องอาศัยอำนาจมาเป็นเครื่องมือ โดยฮอบส์ได้แยกอำนาจนี้ออกเป็น 2 ประเภทคือ

  1. อำนาจตามธรรมชาติ   ( Natural power ) เขาเชื่อว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่นความแข็งแรง ความรอบคอบ ศิลปะ วาทะศิลป์ ความโอบอ้อมอารี ความมีสง่า เป็นต้น
  2. อำนาจที่เป็นเครื่องมือ ( Instrumental power) เป็นอำนาจที่ได้มาจากการยอมรับของผู้อื่นและโชคชะตา
  • กฎธรรมชาติ ( Natural law ) หรือที่เขาเรียกว่ากฎหมายของธรรมชาติ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่มนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้น หากแต่เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น
ฮอบส์กล่าวถึงกฎธรรมชาติเกี่ยวกับมนุษย์ไว้ ดังนี้
  1. มนุษย์ถูกห้ามไม่ให้ทำอันตรายต่อชีวิตตนเอง เพราะมนุษย์จะทำทุกอย่างโดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาชีวติตนเองให้อยู่รอดปลอดภัย สิ่งที่มนุษย์กลัวคือการสูญเสียชีวิต
  2. มนุษย์กำหนดให้แสวงหาสันติภาพ ตราบที่ยังมีความหวังจะได้สันติภาพ
  3. ทุกคนต้องมุ่งต่อสันติภาพเพื่อป้องกันตัวเอง
ฮอบส์ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ทะเลาะวิวาทหรือขัดแย้งกัน 3 ประการดังนี้
  1. การแข่งขัน จะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์มีความต้องการในสิ่งเดียวกันแต่ของสิ่งนั้นมีจำนวนไม่เพียงพอ
  2. ความกลัว หรือไม่มั่นใจในตัวเอง ( Diffidence ) ภาวะนี้ออบส์กล่าวว่าจะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ได้สิ่งที่ต้องการนั้นมาแล้ว แต่ยังกลัวว่าคนอื่นจะมาแย่งชิงเอาไป
  3. ความอยากได้อยากเด่น ( Glory ) เป็นความต้องการของมนุษย์ที่มีความอยากได้ อยากดี อยากเด่น อยากมีชื่อเสียง อยากมีเกียรติยศ อยากมีหน้ามีตาในหมู่มิตรสหายและสังคม
การก่อตั้งรัฐฐาธิปัตย์

ฮอบส์มองว่า การจะป้องกันคนทั้งหลายมิให้ถูกรุกรานจากภายนอก มีอยู่หนทางเดียวเท่านั้นคือก่อตั้งอำนาจร่วม ( Common power ) และยังเป็นการป้องกันคนทำอันตรายต่อกันด้วย

อำนาจร่วม ( Common power ) 

ตามความหมายของฮอบส์ กล่าวว่า เป็นการมอบอำนาจและกำลังคนทั้งหมดให้กับคนๆหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งเป็นการลดเจตจำนงของคนทั้งหลายโดยรวมเสียงที่หลากหลายของคนให้เข้าเป็น เจตจำนงเดียวกัน คือการแต่งตั้งคนๆหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งเพื่อมาแบกรับภาระของคนทั้งหลาย การกระทำเช่นนี้ ฮอบส์เรียกว่า จักรภพ ( commonwealth ) หรือภาษาลาตินเรียกว่า ซีวิตัส ( Civitas ) 
ฮอบส์ย้ำตรงนี้ว่า บุคคลหรือกลุ่มคนที่ได้รับมอบอำนาจดังกล่าวไม่ใช่คู่สัญญา หากแต่เป็นบุคคลที่ 3 ( Third party ) ดังนั้น

รัฐฐาธิปัตย์จึงมีอยู่ 2 สถานะคือ
  1. เป็นบุคคลคนธรรมดา ( Natural person )
  2. เป็นบุคคลสมมุติ           ( Artificial person )
การใช้อำนาจของรัฐฐาธิปัตย์

  • ฮอบส์บอกว่า ต้องครอบคลุมกิจการปกครองทั้งหมด โดยอำนาจของรัฐฐาธิปัตย์จะแบ่งแยกมิได้แต่เพื่อผลประโยชน์ในการควบคุมองค์อธิปัตย์จะมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้

การเปลี่ยนแปลงองค์อธิปัตย์

  • องค์อธิปัตย์ไม่ใช่คู่สัญญาจึงอยู่ในฐานะบุคคลที่ 3 อยู่นอกเหนือสัญญา การทำสัญญาเป็นเรื่องของประชาชนตกลงกันเอง องค์อธิปัตย์จึงไม่มีข้อผูกพันใดต้องรับผิดชอบต่อสัญญา 
  • ประชาชนไม่มีสิทธิหรืออำนาจใดๆที่จะเรียกเอาอำนาจคืนจากองค์อธิปัตย์มาเป็นของตนเองหรือมอบให้ใครได้อีก
  • การเปลี่ยนแปลงองค์อธิปัตย์ เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องไม่พึงกระทำ เพราะเมื่อทำลายองค์อธิปัตย์ ก็หมายถึงประชาชนจะกลับไปสู่ยุคสภาวะธรรมชาติที่จะเต็มไปด้วยอันตรายอีกครั้ง
ความยุติธรรม
  • ตามทัศนะของฮอบส์ ความยุติธรรม หรือไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีข้อตกลง หรือสัญญากันแล้วเท่านั้น โดยผลของการทำสัญญาประชาคม เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอำนาจร่วม เมื่อมีอำนาจร่วมก็จะมีกฎหมาย
  • กฎหมายคือคำสั่งหรือเจตนารมณ์ขององค์อธิปัตย์นั่นเอง
 Thomas Hobbes


กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง



ติดตามอ่านหนังสืออิเลคทรอนิส์ Leviathan ได้ที่ >>  http://www.barnesandnoble.com/sample/read/9781416573609

อ้างอิง >>> www.carloslmarco.com
            >>>  www.telegraph.co.uk
           >>>   en.wikipedia.org   

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กลุ่มโซฟิสต์คืออะไร


กลุ่มโซฟิสต์ ( Sophists)

กลุ่มโซฟิสต์ ( Sophists) เป็นกลุ่มนักปรัชญาการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งในยุคกรีกตอนต้น ซึ่งกลุ่มนี้ประกอบด้วยคนมีฐานะทางสังคมค่อนข้างดี กลุ่มนี้ประกอบอาชีพโดยการรับจ้างสอน ( ครู -ทนาย ) เป็นกลุ่มปรัชญาต่างชาติ อยู่ในยุคเดียวกับ โสเครตีส  มีผู้นำกลุ่มคนสำคัญๆได้แก่

  • โพรทากอร์ส ( Protagoras )
  • จอเจียส          (  Gorgias ) อาชีพเดิมเขาเป็นฑูต
  • โพรดิคูส          (  Prodicus)
  • ฮิปเปียส           ( Hippias )
  • ธราซิมาคัส      ( Trasymachus ) เป็นต้น
กลุ่มโซฟิสต์ ไม่ใช่ชนชาวกรีก หากแต่เป็นชาวต่างด้าว ที่เข้ามาอาศัยทำมาหากินในกรุงเอเธนส์ ซึ่งพวกชาตินิยมในกรีก จะไม่ไว้วางใจพวกโซฟิสต์มากนัก

หลักสำคัญที่กลุ่มโซฟิสต์ใช้ในการสอน

  • หลักการสอนของกลุ่มโซฟิสต์ คือ โซเฟีย ( Sophia ) หมายถึงความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด ความชำนาญ
  • กลุ่มโซฟิสต์ มีความเชื่อในลัทธิปัจเจกชนค่อนข้างสูง โดยพวกเขาเชื่อว่า คนเป็นเครื่องมือวัดของทุกสิ่งทุกอย่าง
ความยุติธรรม
  • โซฟิสต์เชื่อว่าความยุติธรรมเป็นเรื่องของปัจเจกชนที่จะยึดถือสำหรับตน โดยธราสิมาคัสสรุปเรื่องนี้ไว้ว่า หลักสำคัญของความยุติธรรมคือ ผลประโยชน์ของผู้ที่แข็งแรงกว่า
  • โซฟิสต์โจมตีกฎหมาย และกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการปกครองนครรัฐกรีก ว่ามีความบิดเบือนไปจากธรรมชาติ ซึ่งพวกเขายกตัวอย่างว่า นครรัฐต่างๆของกรีกเองยังมีความแตกต่างกันทางกฎหมาย ซึ่งหาใช่กฎหมายที่แท้จริงของธรรมชาติไม่
  • กฎหมายที่มีอยู่อาจเป็นเพียง ข้อตกลงในระหว่างกลุ่มผู้ที่แข็งแรงกว่า เพื่อที่จะใช้กดขี่ผู้ที่อ่อนแอกว่า
  • อำนาจคือสิ่งที่สร้างความชอบธรรม ดังนั้นกฎหมายซึ่งมีรากฐานมาจากอำนาจ จึงเป็นเพียงเครื่องมือสำหรับผู้ที่แข็งแรงเท่านั้น โซฟิสต์แนะนำให้คนหันไปหาธรรมชาติ
ความรู้

  • กลุ่มโซฟิสต์มองว่า มีความเป็นอัตนัย ขึ้นอยู่กับปัจเจกชน จะคิด จะตีความ ( พูดง่ายๆก็คือแล้วแต่มึงจะคิด ) จะเห็นได้ชัดเจนว่าคำสอนของกลุ่มโซฟิสต์ ขัดแย้งกับคำสอนของ โสเครตีสอย่างสิ้นเชิง ซึ่งโสเครตีส สอนให้คนแสวงหาความจริง ความจริงคืออะไร และโสเครตีสมองว่า ความรู้เป็นหนึ่งเดียว หรือเป็นแบบ ปรนัย หมายถึงความจริงมีหนึ่งเดียว และมีอยู่แล้ว ไม่ใช่การตีความตามใจตัวเอง แบบโซฟิสต์

  • แนวคิดของนักปรัชญาของพวกกลุ่มนี้ ไม่เหมือนแนวคิดพวกกรีกโบราณที่เน้นไปในแนวทางของพวกสสารนิยม ที่เน้นศึกษาธรรมชาติ แม้ว่าแนวคิดของสองกลุ่มนี้จะอยู่ก้ำกึ่งระหว่างสสารนิยมและจิตนิยมแต่ก็โน้มเอียงไปทางจิตนิยม โดยพวกโซฟิสท์มองว่า แนวความคิดเป็นเหตุให้คนเรากระทำสิ่งต่างๆ โลกนี้ก็เป็นโลกแห่งมโนภาพหรือจินตนาการของมนุษย์ไม่ได้มีอยู่เองโดยปราศจากมนุษย์ คือไม่เชื่อความจริงในวัตถุนั้นเอง ในขณะที่พวกกลุ่ม สตออิก มองว่า ความรู้ได้มาด้วยผัสสะ และความรู้สึกทางผัสสะ (Sense Impression) ก็สร้างความจริงขึ้นมา โดยพวกเขามองว่า วิญญาณ (Soul) เป็นที่ตั้ง แห่งกระบวนการทางความรู้สึกโดยทั่วไป และให้คำสอนตาม เฮราคริตุส ที่ว่าไฟเป็นธาตุแท้ดั้งเดิมที่สุด ทำให้พวกนี้มองว่า ธรรมชาติเป็นสสาร เป็นเอกภาพที่มีชีวิตและเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
  • โดยสรุปแล้วกลุ่มโซฟิสต์ เป็นกลุ่มปรัชญาต่างชาติที่สอนแนวทางความรู้ของกลุ่มตนที่ผิดแผกแหวกแนวไปกว่า ความรู้ดั้งเดิมของกรีกโบราณ หรือแม้แต่โสเครตีสเอง ซึ่งกลุ่มชาวกรีกที่มีลักษณะเป็นชาตินิยมจะไม่ยอมรับคำสอนของ กลุ่มโซฟิสต์ ซึ่งโดยทั่วไปมองว่า กลุ่มโซฟิสต์ เป็นกลุ่มที่ให้ความมืดดำทางปัญญาแก่ชาวกรีก เป็นกลุ่มคนที่สอนให้คนละทิ้งคุณธรรม และให้คนหันไปใช้สำบัดสำนวน อวดอ้างโวหาร แข่งกัน สอนให้คนตีสองหน้ากะล่อน ปลิ้นปล้อน กลุ่มโซฟิสต์จึงถูกมองว่าเป็นกลุ่มนำความมืดทางปัญญามาสู่กรีก แต่ก็มีชาวกรีกไม่น้อยที่ศรัทธาในคำสอนของโซฟิสต์

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง


บล็อกเพื่อนบ้าน >>> Patvc74 >>> Tontawanpundow