ทรานซิสเตอร์ ( Transistor )
ความเป็นมา
- เมื่อปี ค.ศ. 1945นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามค้นคว้าหาสิ่งประดิษฐ์ประเภทสารกึ่งตัวนำใหม่ๆขึ้นมา เพื่อให้ขยายสัญญาณ แทนหลอดสูญญากาศ ขึ้นมาได้และถือเป็นต้นแบบของคุณสมบัติและโครงสร้างของทรานซิสเตอร์ในยุคปัจจุบัน
ต่อมามีวิศวกร 3 คน
- จากบริษัท เบลล์เทเลโฟน จำกัด ( Bell Telephone co.ltd ) คือ จอห์น บาร์ดีน ( John Bardeen ) << คลิกดูประวัติ
- วิลเลี่ยม แบรดฟอร์ด ชอร์คเลย์ ( William Bradford Shockley ) << คลิกดูประวัติ
- วอลเตอร์ ฮอร์ส แบรทเทน ( Walter Horse Brattain ) << คลิกดูประวัติ
ทั้งสามได้ค้นพบทรานซิสเตอร์ ที่ทำหน้าที่แทนหลอดสูญญากาศได้ดีกว่า เมื่อปี ค.ศ.1948
ทรานซิสเตอร์แบบใหม่นี้ มีขนาดเล็กทำให้ประหยัดเนื้อที่ ส่งผลให้ เครื่องใช้อิเลคทรอนิคส์ต่างๆมีขนาดเล็กลงตามไปด้วย มีราคาถูกประหยัดพลังงาน มีความร้อนต่ำ ทนทาน และมีความปลอดภัยสูง
ที่สำคัญมีความไวในการทำงาน มากกว่าหลอดสูญญากาศหลายเท่าตัว
ชนิดของทรานซิสเตอร์
- การแบ่งชนิดของทรานซิสเตอร์ สามารถแบ่งออกได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ว่าแบ่งตามคุณลักษณะแบบไหน เช่น ทำหน้าที่สวิทชิ่ง ขยายกำลัง ทรานซิสเตอร์ความถี่สูง เป็นต้น
- แต่ที่เป็นที่นิยมในยุคต้นคือ แบ่งตาม โครงสร้างทางเคมี หรือสารที่นำมาสร้างเป็นทรานซิสเตอร์
- ซึ่งการแบ่งแยกวิธีนี้สามารถแบ่งทรานซิสเตอร์ออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- แบบเยอรมันเนียมทรานซิสเตอร์ ( Germanium Transistor ) เป็นทรานซิสเตอร์ในยุคแรก มีลักษณะเป็นโลหะกลม และมีข้อเสียคือ มีกระแสรั่วไหลมาก จึงไม่เป้นที่นิยม
- แบบซิลิคอนทรานซิสเตอร์ ( Cilicon Transistor) เป็นทรานซิสเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง มีกระแสรั่วไหลน้อย จึงเป็นที่นิยมใช้กันมาจนถึงยุคปัจจุบัน
ลักษณะทรานซิสเตอร์แบบเยอรมันเนียม
โครงสร้างภายในแบบเยอรมันเนียม
ทรานซิสเตอร์แบบใช้สาร ซิลิกอน (จะมีลักษณะเป็นสีดำ )
- เนื่องจากทรานซิสเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาจากสารกึ่งตัวนำ Semi -Conductor แบบ P-Typ และ N -Typ
ในโครงสร้างจึงทำให้เกิด จังชั่น ( Junction) หรือรอยต่อ ระหว่าง สาร 2ชนิดนี้ขึ้น โดยที่สารที่อยู่ตรงกลางจะเป็นคนละชนิดกับสารที่อยู่ ส่วนหัว-ท้าย และทำให้ทรานซิสเตอร์มีขาต่ออกมาใช้งาน 3 ขา และแบ่งชนิดตามโครงสร้างของสาร เป็นแบบ N- Typ และ P - Typ
- ชนิด N -Typ จะมีโครงสร้าง เป็น N -P-N ( N ป้อน ไฟลบ ส่วน P ป้อนไฟบวก Nไฟลบ )
- ชนิด P -Typ จะมีโครงสร้าง เป็น P-N-P ( บวก-ลบ-บวก ) ตามรูปด้านล่าง
โครงสร้างของทรานซิสเตอร์
- โดยทั่วไปทรานซิสเตอร์ จะมีขา อยู่ 3 ขา และมีชื่อเรียกไม่เหมือนกันตามแต่ละขาดังนี้
- ขาคอลเลคเตอร์ ( Collector ) เรียกย่อๆว่า ขา C ( ขาซี ) เป็นขาที่มีโครงสร้างการโด๊ปสารใหญ่ที่สุด (ดูรูปบนประกอบ )
- ขาอีมิตเตอร์ ( Emitter ) เรียกย่อว่า ขา E เป็นขาที่มีโครงสร้างการโด๊ปสารรองลงมาจากขา Cและ ขาอีนี้จะอยู่คนละด้านกับ ขา ซี
- ขาเบส ( Base ) เป็นขาที่กั้นตรงกลางระหว่าขา C กับ Eมีพื้นที่แคบที่สุดเมื่อเที่ยบกับขา C,E และขาเบสจะมีศักย์ทางไฟฟ้า เป็นกลาง เมื่อเทียบกับอีก 2 ขา
- หมายเหตุ ทรานซิสเตอร์บางบริษัทจะมี 4 ขา ตามรูปด้านล่าง ซึ่งขาที่ 4 นี้ เราเรียกว่าขาชีลด์ หรือ ขากราวน์
- แม้ในทางทฤษฎี จะระบุว่า ขา C และ E จะอยู่คนละฝั่ง และมีขา B กั้นกลางก็ตาม แต่ในความเป็นจริง ทรานซิสเตอร์หลายรุ่น หลายเบอร์ นิยมวาง ขาเป็น B,C,E ตามลำดับ โดยเราจะรู้ได้ชัดเจนต้องใช้ มัลติมิเตอร์วัดหาขาอีกที
- การโด๊ปสาร หรือเรียกเป็นทางการว่า การออกซิเดชั่น ( Oxidation ) คือการนำสารเคมีมาผ่านกระบวนการ
- และสารกึ่งตัวนำชนิด พี และชนิด เอ็น นี้ เป็นสารที่ไม่บริสุทธิ์ เพราะมีการรวมเข้ากับสารเคมีตัวอื่นๆอีกหลายตัวจึงได้ สาร พี และ สาร เอ็น
- โดยการโด๊ป จะให้สารเคมีกับขา C เป็นฐานของสาร ทั้งหมด แล้วจึงกัดเพื่อโด๊ปสารเป็นขา เบส และ อีมิตเตอร์ ต่อไป
การที่จะดูว่าทรานซิสเตอร์ตัวใดเป็นสารชนิด พีเอ็นพี P-N-P หรือ NPN ในเบื้องต้น เราจะดูจากเบอร์ของทรานซิสเตอร์ เช่น
- ถ้าเบอร์ทรานซิสเตอร์ มีตัว A เช่น 2SA..... แสดงว่าทรานซิสเตอร์ตัวนั้นจะเป็น PNP ใช้กับย่านความถี่สูง
- ถ้าเบอร์มีตัว B เช่น 2SB แสดงว่าเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN ใช้กับย่านความถี่ต่ำ
- ถ้าขึ้นต้นด้วย 2SC หรือC มักจะเป็น ชนิด NPN ใช้กับย่านความถี่สูง
- ถ้าขึ้นต้นด้วย 2SD หรือ D เป็นชนิด NPN ใช้กับย่านความถี่ต่ำ เป็นต้น
แต่การจะรู้ละเอียดและถูกต้องเราต้องดูคู่มือของทรานซิสเตอร์ประกอบคือ หนังสือ ECG หาซื้อได้ตามย่านบ้านหม้อหรือร้านค้าหนังสืออิเลคทรอนิคส์ทั่วไป และทรานซิสเตอร์แบบเยอรมันเนียมจะมีตัวถังเป็นโลหะ
หนังสือ อีซีจี จะบอกข้อมูลของสารกึ่งตัวนำการเทียบเบอร์ทั้งหมดของสารกึ่งตัวนำ เช่น ทรานซิสเตอร์ ไอซี ไดโอด ไตรแอค
TRแบบจานบินที่เป็นโลหะ TRชนิดนี้จะทำหน้าที่ในภาคขยายกำลังหรือเพาเวอร์แอมป์ จะมีเพียง 2 ขาเท่านั้น ส่วนขา ที่ 3 ก็คือตัวมันเองที่ขันน๊อตยึดเข้ากับวงจร
การทำงานของทรานซิสเตอร์
การไหลของกระแสในวงจรสารกึ่งตัวนำจะมีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายกัน ถ้าเราได้เรียนรู้เรื่องไดโอดมาแล้ว และมีพื้นฐานก็ป้อนไบแอส ก็จะเข้าใจได้ไม่ยาก
ในกรณีของทรานซิสเตอร์จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ขาดังนั้นเมื่อเราพิจารณาถึงโครงสร้างของวงจรหลักจะเห็นว่ามีทั้งส่วนของ อินพุท Input และ เอ้าท์พุท Output เมื่อเราป้อนขาหนึ่งให้เป็น อินพุท อีกขาหนึ่งก็จะเป็น เอาท์พุท ขาที่เหลือจึงกลายเป็นขาร่วมหรือจุดร่วม ระหว่างอินพุทกับเอาท์พุท หรือคอมมอน ( Common )
- หลักการดังกล่าวจึงกำหนดให้ระหว่าง B,E เป็นอินพุท และ B,C เป็นเอาท์พุท
- เพราะหลักการที่สร้างทรานซิสเตอร์ก็เพื่อต้องการให้ กระแส อินพุท ไปควบคุม กระแสเอาท์พุท
- ดังนั้นการให้ไบแอสทางด้านเอาท์พุทจึงต้องให้แบบ รีเวิร์ส เพราะถ้าเราให้ไบแอสแบบฟอร์เวิร์ด จะทำให้กระแส เอาท์พุทเป็นอิสระทันที และเราไม่สามารถควบคุมการไหลของกระแสได้
- ส่วนทางด้านอินพุทให้ไบแอสแบบฟอร์เวิร์ด ด้วยแรงไฟต่ำๆ เพราะถ้าให้ไบแอสสูงไป ก็จะทำให้กระแสเอาท์พุทเกิดการอิ่มตัวเสียก่อน
แสดงการไหลของกระแสในวงจรทรานซิสเตอร์ที่จะเริ่มจากขา เบสก่อน
- IE คือกระแสอีมิตเตอร์ มีค่าเท่ากับ 100%
- IC คือ กระแสคอลเลคเตอร์ มีค่าเท่ากับ 95-98 %
- IB คือกระแส เบส มีค่าเท่ากับ 2-5 %
- VBE คือแรงไฟไบแอส หรือศักย์ตกคร่อมระหว่างเบสกับอีมิตเตอร์ ในขณะที่ทรานซิสเตอร์ทำงานปกติ
- Bias ของทรานซิสเตอร์ชนิดเยอรมันเนียม มีค่า .15-.2 โวลท์ ( เมื่อวัดแรงไฟระหว่าง BE จะได้ประมาณ 0.2 โวลท์ในสภาพทำงานปกติ )
- Bias ของซิลิกอนทรานซิสเตอร์มีค่าประมาณ .5-.7โวลท์ (เมื่อวัดแรงไฟระหว่าง BE จะได้ประมาณ 0.5 โวลท์ในสภาพทำงานปกติ )
การจัดวงจรทรานซิสเตอร์
วงจรไฟฟ้าทุกชนิดเราจะเห็นว่ามีสายที่ทางเข้า 2 สายเป็นอย่างน้อยและทางออกก็ต้องมี 2 สายเป้นอย่างน้อยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะความต่างศักย์กันทางไฟฟ้า จะมีการเทียบศักย์ทางไฟฟ้ากันอยู่เสมอ
มีสูงต่ำๆๆสลับกันไป ดังนั้นจุดต่อใช้งานในวงจรไฟฟ้าจึงต้องมีจุดต่อใช้งานอย่างน้อย 4 จุด คือ เข้า 2 ออก 2
แต่ทรานซิสเตอร์ จะมีขาเพียง 3 ขาเท่านั้น ถ้านำไปใช้งานทางไฟฟ้าแล้วเราจำเป็นต้องให้ ขาใดขาหนึ่งเป็นจุดร่วม หรือ คอมมอน เสียก่อน เมื่อเป็นดังนี้ เราจึง จัดวงจรของทรานซิสเตอร์ได้ 3 แบบ คือ
- คอมมอนอีมิตเตอร์ ( Common Emitter ) : CE
- คอมมอนเบส ( Common Base ) :CB
- คอมมอนคอลเลคเตอร์ ( Common Collector ) : CC
- รายละเอียดให้ศึกษาเพิ่มเติมในการจัดคอมมอน
การวัดหาขาของทรานซิสเตอร์
- ตามที่ได้อธิบายมาแล้วว่า ทรานซิสเตอร์มีอยู่ 3 ขา ตามโครงสร้างการโด๊ปสาร แต่ในตัวทรานซิสเตอร์ของจริงทางผู้ผลิตเขาไม่ได้ระบุไว้เลยว่า ขา BCE อยู่ตำแหน่งไหนของทรานซิสเตอร์ เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใดสำหรับนักเรียนนักศึกษาอิเลคทรอนิคส์ เพราะเครื่องมือสารพัดประโยชน์เรา คือ มัลติมิเตอร์สามารถวัดหาขาของอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์อย่างอื่นได้ รวมถึง ทรานซิสเตอร์นี้ด้วย
วิธีวัด
- ตั้งสเกลมิเตอร์ให้เป็น R x 10 หรือ R x 100 ( ย่าน R ) ขั้นตอนแรก เราจะทำการวัดหาขาเบสก่อนโดยที่เราไม่รู้ว่าขาเบสคือขาไหน แต่ ให้เราใช้ปลายสายมิเตอร์จับที่ขาใดขาหนึ่งเป็นหลักก่อน ( สุ่มเลือกมา 1 ขา )แล้วใช้สายมิเตอร์อีกสายวัด 2 ขาที่เหลือ ในระหว่างวัดนี้ให้เราสังเกตว่าเข็มมิเตอร์ของเราจะมีจังหวะที่วัดทั้ง 2 ขาแล้วเข็มมิเตอร์ชี้ที่ค่าความต้านทานเท่ากันทั้งสองขา สรุปได้เลยว่า ขาที่เราสุ่มไว้เป็นหลัก 1 ขานั้นคือ ขาเบส ถ้าจังหวะที่วัดทั้ง 2 ขาเข็มมิเตอร์ไม่เท่ากัน ก็แสดงว่าขาหลักที่เราสุ่มนั้นไม่ใช่ ขาเบส ก็ให้สุ่มเลือกขาใหม่มาเป็นหลัก เราก็จะเห็นขาเบสที่ถูกต้อง ในจังหวะที่เราวัดหาขาเบสนี้ เรายังสามารถรู้ได้ด้วยว่า ทรานซิสเตอร์ตัวนั้นเป็น ชนิด PNP หรือ NPN โดยการสังเกตที่ขาเบสว่าได้รับแรงไฟจากสายมิเตอร์สายไหน ( ปกติ เมื่อเราตั้งมิเตอร์ย่าน R เราจะใช้ไฟจากแบตที่อยู่ในมิเตอร์ที่มี 12 โวลท์ การตั้งสเกลย่านนี้ สายดำจะเป็นบวก คือต่ออยู่กับขั้วบวกของแบตในมิเตอร์จะปล่อยไฟบวกออกมา ส่วนสายแดงจะต่ออยูขั้วลบของแบต และปล่อยไฟลบออกมา ) สมมุติถ้าขาที่เราสุ่มเป็นหลักใช้สายแดงแช่ไว้ แล้วนำสายดำวัด 2 ขาที่เหลือ แล้วมีค่าความต้านทานเท่ากันทั้งสองขา แสดงว่า สายแดงที่เราจับขาหลักนั้นเป็นขาเบส และเป็นทรานซิสเตอร์แบ เอ็นพีเอ็น ต้องค่อยๆทำความเข้าใจตรงนี้ให้ดี เมื่อเราคล่องแล้วก็จะเข้าใจง่าย
- วัดหาขาคอลเลคเตอร์หรือขา C เมื่อเราวัดหาขาเบสได้แล้ว ให้เราทำการสลับสายมิเตอร์ใหม่ เช่น เดิมเราใช้สายดำวางแช่ที่ขาหลักก็ให้เปลี่ยนเป็นสายแดงมาไว้ที่ขาเบสแทน จังหวะนี้เราเรียกว่าให้รีเวิร์สกับขาเบส เช่น เบส เป็น บวก คือแบบ PNP ก็ให้สลับสายป้อนลบให้เบสแทนเพื่อหาขาซี และให้ตั้ง สเกลมิเตอร์ใหม่เป็น R x 10 Kแล้วทำการวัด 2 ขาที่เหลือเราก็จะได้ ขา C ขาที่เหลือก็คือ ขา E โดยการหาขา ซีนี้เมื่อเราสลับสายเป็นรีเวิร์สแล้ว ให้ทำการวัด 2ขาที่เรายังไม่รู้ ว่าซีหรือ อี ในจังหวะที่เราวัด ให้สังเกตที่เข็มมิเตอร์ ถ้าวัดเทียบกับเบสแล้วมีค่าความต้านทานสูง ( ความต้านทานสูง หมายถึงเข็มมิเตอร์ขึ้นน้อย ) เมื่อเทียบกับอีกขา ซึ่งขึ้นเยอะกว่า แสดงว่าความต้านทานต่ำ แสดงว่า ขาที่ความต้านทานสูงหรือที่เข็มขึ้นน้อยคือ ขา C ขาที่เหลือคือ ขา E
- ต้องทำความเข้าใจนะครับและใช้มิเตอร์วัดหาตามขั้นตอนนี้ไปด้วยแล้วจะเข้าใจง่ายขึ้น และหาขาทรานซิสเตอร์ได้อย่างถูกต้อง
มัลติมิเตอร์
- จำไว้ว่าเมื่อเราตั้งสเกลมิเตอร์ย่าน R ในรูปคือซีกขวาเราจะเห็น X10K,X1K ,X100, X10 ย่านี้ครับเรียกว่าย่าน R ซึ่งเราใช้วัดหาขา ทรานซิสเตอร์ ไดโอด หรือวัดค่ารีซิสเตอร์ หรือ อาร์ หรือวัดค่า ซี หรอคาปาซิเตอร์
- การตั้งสเกลย่านนี้ไฟจากแบตที่อยู่ใน มิเตอร์ 12 โวลท์ จะไหลออกมา โดยสายแดงจะเป็นขั้วลบ และสายดำจะเป็นขั้วบวก อย่าสับสนนะครับ
- ส่วนในย่านอื่นเราจะไม่ได้ใช้ไฟจากแบตมิเตอร์เลย ไฟจะไหลจากวงจรภายนอกที่เราวัดเข้ามายังเร้งจ์ของมิเตอร์เพื่อให้เข็มกระดิด แล้วสายแดงจะเป็น บวก สายดำจะเป็นลบ เพราะไฟไหลจากข้างนอกเข้ามามิเตอร์ เช่นเราวัดไฟฟ้าที่บ้านโดยเสียบเข้าปลั๊กไฟที่บ้าน หรือวัดไฟจากแบต เป็นต้น
- ดั้งนั้นการตั้งสเกลมิเตอร์ต้องตั้งเพื่อด้วยเช่น วัดไฟบ้าน เราก็ต้องปรับไปที่ย่าน AC และไฟฟ้าบ้านจะอยู่ที่ 220โวลท์ เราจึงควรตั้งสเกลมิเตอร์ไว้ที่ 250โวลท์ เพื่อป้องกันมิเตอร์เราไหม้เสียหายหรือฟิวส์อาจขาดก่อน
กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง
โทการสื่อสารมวลชน คอมพิวเตอร์กราฟฟิคดีไซน์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ช่างอิเลคทรอนิคส์ จากแสงทองอิเลคทรอนิคส์ แผนกช่างวิทยุ โทรทัศน์ขาวดำ
ช่างอิเลคทรอนิคส์ แผนกโทรทัศน์สี วีดีโอ เลเซอร์ดิสก์ จากเทคนิคไทยญี่ปุ่น ( เทคนิคเทพนิมิตร )
บาร์ดีน
สัญลักษณ์ของทรานซิสเตอร์ ฝั่งซ้ายแบบ N-Typ สังเกตที่ขา E จะมีลูกศรออก ส่วนด้านขวาเป็นแบบ P -Typ ลูกศรจะเข้าที่ขา E