กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ที่มาของรัฐธรรมนูญไทย 20ฉบับ





นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎร ตราบจนปัจจุบัน กันยายน พ.ศ.2563 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 20 ฉบับ โดยผมได้จำแนกแยกย่อยที่มาของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ออกให้เห็นทั้งหมด ดังนี้


มาจาก ส.ส.ร. หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 6ฉบับดังนี้



1. แม้จะยังไม่เรียกว่า ส.ส.ร คือใช้คำว่า กรรมการยกร่าง มี9คนก็คือร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่2ใช้แทนฉบับที่1ของคณะราษฎร

2. ส.ส.ร.ชุดที่2
ซึ่งครั้งนี้เรียกชื่อว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก จำนวน40คน มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่5เพื่อใช้แทนฉบับที่4 (2490,ใต้ตุ่ม)

3. ส.ส.ร.ชุดที่3
 จำนวน240คนมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่8เพื่อใช้แทนฉบับที่7(2502)ที่มาจากยึดอำนาจโดยสฤษดิ์

4.ส.ส.ร.ชุดที่4
จำนวน99คนมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่16(2540)

5. ส.ส.ร.ชุดที่5
แต่งตั้งโดย คมช.จำนวน100คนมาร่างฉบับที่18

6. ส.ส.ร.ชุดที่6
แต่งตั้งโดย คสช.มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่20 (ฉบับปัจจุบัน)



รัฐธรรมนูญที่ร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มี 6 ฉบับ

  • ฉบับที่ 2ชื่อรัฐธรรมนูญคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
  • ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
  • ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
  • ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
  • ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
  • ฉบับที่ 20รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560


มาจากวิธีการอื่นๆ 4 ฉบับดังนี้

  • มาจาก ส.ส.หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 เสนอร่างแล้วให้สภา อนุมัติ 1 ฉบับคือ ฉบับ ที่ 3
ชื่อรัฐธรรมนูญคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (สมัยนี้ ผู้แทนราษฎรมี 2 ประเภท )

  • มาจากสมัชชาแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการยกร่าง 24 คน ยกร่างแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีและสภาอนุมัติ 1 ฉบับคือ ฉบับคือฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

  • มาจาก สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ตั้งกรรมการยกร่างและอนุมัติ 2ฉบับคือ
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และ
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534



มาจากคณะยึดอำนาจและคณะรัฐประหารโดยตรง และคณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง 10 ฉบับดังนี้
  • ฉบับที่ 1พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 มาจากคณะราษฎร
  • ฉบับที่ 4 (ใต้ตุ่ม )รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยชั่วคราว พุทธศักราช 2490มาจากคณะรัฐประหารนำโดย จอมพล ผิน ชุณหวัณ (บิดาพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ )
  • ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 มาจากจอมพล ป.(นายกฯ ) เสนอให้สภาอนุมัติ
  • ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 มาจากคณะยึดอำนาจที่ใช้ชื่อว่า คณะปฏิวัติ นำโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
  • ฉบับที่ 9 ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 มาจาก คณะปฏิวัติโดยจอมพล ถนอม กิตติขจร
  • ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 มาจากคณะปฏิวัติ นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ประกาศใช้
  • ฉบับที่ 12รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 มาจากการยึดอำนาจซ้ำ นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
  • ฉบับที่ 14 ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 มาจาก คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์
  • ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยชั่วคราว พุทธศักราช 2549 มาจากคณะปฏิรูปการปกครอง (คมช.) นำโดย พล.อ สนธิ บุญยรัตกลิน
  • ฉบับที่ 19รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยชั่วคราว พุทธศักราช 2557 มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา
รวมทั้งสิ้น 20 ฉบับ

เรากำลังจะเดินไปสู่การตั้ง ส.ส.ร.ชุดที่7 เพื่อจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่21เพื่อจะได้ฉีกทิ้งเพื่อที่จะได้ตั้ง ส.ส.ร ชุดที่8+++++ไปอีกจนเมื่อไหร่
นี่คือ ลัทธิรัฐธรรมนูญConstitutionalism.แข่งกันร่างแข่งกันฉีกอยู่ร่ำไปอย่างนั้นหรือ ???


กังวาล ทองเนตร ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น