กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

ตาบอดสีเกิดจากอะไร


โครงสร้างดวงตา

 ดวงตาคือ อวัยวะในการมองเห็น ซึ่งมีความสำคัญมากในการใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าการมองเห็นของเราบกพร่องไป จะส่งผลมากมายต่อการใช้ชีวิต ไม่น้อยไปกว่า การเสียอวัยวะส่วนอื่น


  • การมองเห็นของเรา จะเกิดขึ้นเมื่อ มีแสงผ่านเข้าไปยังเนื้อเยื่อชั้นนอก และกระทบกรอบลูกตา ที่มีลักษณะโปร่งใสเรียกว่า คอร์เนีย ( Cornea )
  • ม่านตาจะทำหน้าที่ปรับให้แสงมีความเหมาะสมกับเลนส์ตา หรือแก้วตา  จากนั้นจะปรับภาพไปตกที่ผนังด้านหลังของลูกตา คือ เรตินา ( retina ) เรตินา เป็นเยื่อตาชั้นในของลูกตา และเป็นจุดเริ่มต้นการมองเห็น โดยเฉพาะที่โฟเวีย ( fovea ) จะเป็นจุดที่มีการมองเห็นชัดเจนที่สุด



โดยปกติ ที่ผนังของ เรตินา จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิดคือ


  1. รอดส์ ( Rods)
  2. โคนส์    ( Cones )

รอดส์ ( Rods ) มีลักษณะเป็นแท่งยาว และมีความไวต่อ แสง ขาว - ดำ  ดังนั้น รอดส์ จึงเป็นเซลล์ที่รับแสงในเวลากลางคืน มีความไวต่อแสงคลื่นสั้นมากกว่าคลื่นแสงยาว โดยปกติ รอดส์ จะรวมตัวกันรอบนอกของเรตินา และเป็นจุดที่ทำให้เกิดการตาบอดสีได้ด้วย

โคนส์    ( Cones) มีลักษณะเป็นแท่งที่สั้นกว่า รอดส์ และโคนส์ จะมีความไวต่อแสงที่เป็น สี ดังนั้นโคนส์ จึงเป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางวัน มีลักษณะเป็นรูปกรวย ช่วยรับภาพสีได้ดี
โคนส์จะอยู่บริเวณ โฟเวีย ( fovea)

คนที่ตาบอดสี จะไม่มีโคนส์ ที่เรตินา เลย เราสามารถตรวจสอบตัวเราเองได้ เช่น เวลาเราอยู่กลางแจ้ง แดดจ้า โคนส์จะมีความไวต่อแสงมาก เมื่อเราเดินเข้าไปในห้องมืด เช่น โรงภาพยนต์ ช่วงแรกๆ เราจะมองไม่เห็นและแยกแยะไม่ได้ สาเหตุมาจาก โคนส์ยังทำหน้าที่ อยู่ ใช้เวลา ประมาณ 2-3 นาที เรตินาจะปรับตัวต่อความมืด เวลานี้เอง ที่ รอดส์ จะเข้ามาทำหน้าที่ ช่วยให้เราสามารถมองเห็นในความมืด แต่ก็ไม่ดีนัก

  • ดังนั้น อาการตาบอดสี จึงเป็นความบกพร่อง ที่ เรตินา ในส่วนของเซลล์ โคนส์ ( ขาดโคนส์ ) 
  • ผู้ที่มีลักษณะดังกล่าว จึงไม่สามารถมองเห็นสีที่ถูกต้องได้ เนื่องจากเซลล์ รับสี (โคนส์ ) บกพร่อง นั่นเอง














สีที่คนตาบอดสีมองเห็น


กังวาล ทองเนตร

อ้างอิง >>>  haamor.com  <<< >>> http://th.wikipedia.org <<< >>>

    

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

นับถือศาสนาใดดีที่สุด


ถ้ามีใครซักคนมาบอก เราว่า ศาสนาที่เขานับถืออยู่ ดีกว่าศาสนาที่เรานับถือ คงไม่ต้องถามว่าเราจะมีความรู้สึกอย่างไร

  • สำหรับผมศาสนาเกิดจากปัญญาของศาสดาในแต่ละศาสนา คงไม่ถูกต้องหากมีใครมาบอกว่า ปัญญาของศาสดาคนนั้นเท่านั้นดี คนนี้ไม่ดี


  • การศึกษาศาสนาสำหรับผมในเบื้องต้นคือ ศึกษาเพื่อรู้ เพื่อที่จะรู้ว่า เขาสอนอะไรในแต่ละศาสนา หลักธรรมที่เป็นแกนของศาสนานั้นคืออะไร แล้วเราสามารถนำหลักธรรมเหล่านั้นมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตเราได้หรือไม่ โดยที่ไม่เลือกว่าเป็นศาสนาใด แต่ผมเลือกทุกอย่างที่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งดีเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของผม


ผมนับถือศาสนา แต่ไม่ได้คลั่งศาสนา ผมนับถือศาสนา ไม่ใช่ ยึดถือศาสนาดังนั้นสิ่งไหนดีผมก็เลือกผมก็หยิบเอา

  • ถ้าเปรียบ ศาสนาพุทธ เป็นเหมือน เพชร
  • ถ้าเปรียบศาสนาคริสต์ เป็นเหมือน ทับทิม
  • ถ้าเปรียบศาสนาอิสลามเป็นเหมือน โกเมน
  • ถ้าเปรียบศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เป็นเหมือน ทองคำ
  • ถ้าเปรียบศาสนาเชนและซิกส์ เป็นเหมือน บุษราคัม


เมื่อศาสนาต่างๆเป็นเหมือนดั่งอัญมณีที่ล้ำค่าเหล่านี้  คนโง่เท่านั้น ที่จะเลือกหยิบเอาแต่เพชร หรือทอง
คนโง่เท่านั้นที่เลือกหยิบเอาเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วทิ้งอัญมณีล้ำค่าอื่นไว้โดยไม่แตะต้อง

คนฉลาดย่อมเลือกที่จะเก็บเอาอัญมณีทั้งหมดติดตัวกลับไป เพราะนั่นคือสิ่งที่มีค่า เพราะเห็นในคุณค่าของอัญมณีเหล่านั้น

ชีวิตคนเรา สำหรับผมมีความหมายถึง การเดินทางไกล ตั้งแต่เกิดถึงตายมนุษย์เราสามารถอยู่ได้นับร้อยปี โดยประมาณ ช่วงเวลาที่ยาวนานนี้ 
  • ถ้าเราไม่มีเพื่อนร่วมทาง
  •  ถ้าเราไม่มีเสบียงในการเดินทาง 
  • ถ้าเราไม่มีความรู้ในการเดินทาง
  • ถ้าเราไม่มีเข็มทิศนำทาง
การเดินทางไกลของเราก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จ
อุปสรรคน้อยใหญ่มากมายที่มันจะประเดประดังซัดถาโถมเข้ามา
ถ้าเราไม่เตรียมตัวให้พร้อม เราย่อมพ่ายแพ้ให้แก่มัน

  • ถ้าเครื่องมือดับทุกข์ในศาสนาพุทธ เป็น เกวียน
  • ถ้าเครื่องมือดับทุกข์ในศาสนาคริสต์ เป็น  เรือ
  • ถ้าเครื่องมือดับทุกข์ในศาสนา อิสลาม เป็น  อูฐ
  • ถ้าเครื่องมือดับทุกข์ในศาสนา พราหมณ์ -ฮินดู เป็น ตัวล่อ

ในฐานะคนที่กำลังจะเดินทางไกลนับร้อยปี ผมจะเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
ผมจำเป็นต้องเลือกเอาไปด้วยทั้งหมด

  • เมื่อผมเดินทางราบยาวไกล ผมอาจต้องใช้ เกวียน เป็นเครื่องมือ เป็นพาหนะในการเดินทาง 
  • แต่เมื่อใดที่ผมเดินไปถึงริมฝั่งแม่นำใหญ่ กว้าง ลึก ยาว ไกล ที่เกวียน ไม่สามารถเดินทางไปต่อได้ผมก็จำเป็นต้องใช้ เรือ ในการพาผมข้ามแม่น้ำนั้น เพื่อพาผมไปยังอีกฟากฝั่งแม่น้ำ
  •  เมื่อขึ้นถึงฝั่ง เป็นขุนเขารกร้าง สูงชัน ผมก็จำเป็นต้องใช้ ตัวล่อ เพื่อให้มัน ลำเลียงขนเสบียงของผมที่นำติดตัวมา พาผมเดินหน้าสู่เป้าหมายต่อไป
  • และเมื่อหลุดพ้นขุนเขากันดาร ก็เป็นทะเลทรายที่แสนกว้างไกล แห้งแล้ง เต็มไปด้วยอันตรายสารพัดแน่นอนเมื่อผมมีพาหนะคือ อูฐ อยู่ ผมก็จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้ อูฐ พาผมเดินข้ามทะเลทราย อันกว้างใหญ่ ไพศาลไปหาเป้าหมายให้ จงได้

เราจะเห็นว่า พาหนะเราแต่ละอย่าง ไม่มีสิ่งใด ดีกว่า หรือ ด้อยกว่ากันเลย หากแต่มันขึ้นอยู่กับเหตุ ปัจจัย ในระหว่าง การเดินทาง และเราเลือก หยิบมาใช้ ให้มันถูกกับสถานการณ์ มันก็จะเป็นประโยชน์ กับเรา

  • มนุษย์เรา ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นมา ให้เลือกกิน เฉพาะ ข้าว
  • มนุษย์เรา ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นมา ให้เลือกกินเฉพาะ  ขนมปัง
  • มนุษย์เรา ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นมา ให้เลือกกินเฉพาะ  โรตี

มนุษย์ที่ฉลาด ย่อมรู้ว่าอาหารทุกอย่างล้วนมีประโยชน์ต่อชีวิตเรา เมื่อเราหิว เมื่อ อดโซ คนฉลาด ย่อมรู้ว่า ทั้ง ข้าว ขนมปัง และ โรตี ยังชีวิตให้เราได้

  • นักโภชนาการสมัยใหม่ บอกว่า มนุษย์เรา จะอยู่ได้อย่างแข็งแรง ต้องกิน อาหารหลัก 5 หมู่ จึงจะทำให้ร่างกายของแรา แข็งแรง สมดุล

ในเมื่อในโลกนี้ มีนักโภชนาการได้สร้างอาหาร ไว้ให้เราครบแล้วทั้ง 5 หมูคือ

หมู่ที่ 1 พุทธ
หมู่ที่ 2 คริสต์
หมู่ที่ 3 อิสลาม
หมู่ที่ 4 พราหมณ์ - ฮินดู
หมู่ที่ 5 เชน และซิกส์

แล้วทำไมมนุษย์ที่ฉลาดต้องกินอาหารเพียงหมู่เดียว
เมื่อพูดถึงตรงนี้ ก็คงมีคนถามผมว่า ถ้าอย่างนั้น ผมก็เป็นคนไม่มีหลักในการดำเนินชีวิตละสิ
ผมก็ตอบได้ทันทีว่า ผมมีหลักในการดำเนินชีวิต
หลักของผมก็คือ เก็บเกี่ยวเอาแต่สิ่งดี มีประโยชน์ ติดตัวไป เพื่อให้ผมอยู่รอดได้จนถึงเป้าหมาย โดยที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน  ก็ผมบอกแล้วว่า ผมนับถือศาสนา ผมไม่ได้ ยึดถือ ศาสนา หรือ คลั่ง ศาสนา

  • พระพุทธองค์ สอนให้ ละชั่ว ทำดี ใช้หลักเหตุผล กาลามสูตร และทรงไม่ให้หลงไปกับ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ใดๆทั้งสิ้น พระองค์สอนให้คนรู้จักคิดหาเหตุผล พระองค์ เป็นนัก จาริก เป็นนักปฏิวัติสังคม
พระองค์ทรงย้ำไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด แม้แต่ตัวพระองค์เอง พระองค์ทรงให้ พุทธบริษัท 4 ยึดถือ คำสอนหรือพระธรรมแทนพระองค์

แต่พอสิ้นพระองค์แล้ว พุทธบริษัท 4 ทั้งหลาย กลับไปยึดถือ เอา เครื่องปั้น ดินเผา เอามาเป็น สรณะ ยึดเอา อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นเครื่องค้ำชูใจ แทนคำสอนพระองค์ ยึดถือเอาคำสอนหลวงปู่ หลวงตา จนแยกเป็น ก๊ก เหล่า โดยไม่อ้างอิงพระธรรมคำสอนของท่าน

  • เช่นเดียวกับ ท่าน นบี มะหะหมัด ท่านเป็นทั้งนักการศาสนา เป็นนักรบ เป็นนักการเมือง เป็นนักปกครอง เป็นนักปฏิวัติสังคม เมื่อสมัยท่านยังมีชีวิต ท่านได้ปฏิวัติความเชื่อของคนที่มีเศรษฐี เป็นเจ้าของ หิน กาบา และหาประโยชน์จากการเก็บกินค่าเข้าชม สักการะ จนภัยมาถึงท่าน
  • สิ่งที่ท่านสร้างขึ้นมา ผมเชื่อโดยสนิทใจว่า ไม่ใช่ ของพระเจ้า ที่ไหน แต่เป็นคำสอนของท่าน มนุษย์ธรรมดาๆนี่เอง ที่ท่านได้เล็งเห็น เป้าหมายของมนุษย์ จึงนำพามนุษย์มายังเส้นทางที่ท่านเห็นว่าถูกต้อง และควรเป็น แม้แต่การสอนให้เสียสละ (ซากาต ) ท่านระบุเสียด้วยซ้ำว่าให้มุสลิมสละทรัพย์ของตนเองบริจาคให้เพื่อนมนุษย์โลก เป็นอัตราส่วนตามรายได้ของตนเอง


แต่พอสิ้นท่านแล้ว มีมุสลิมกี่คนที่ยึดตามหลักปฏิบัติของท่านอย่างจริงจัง  

หรือแม้แต่ เจ้าพิธี กรรม อย่าง พราหมณ์ ที่เน้นการบวงสรวง สังเวย ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็น ฮินดู ผู้ละเว้นชีวิตสัตว์ มีหลักอาศรม 4 ซึ่งเป็นหลักยึดที่ดี ใน พราหมณ์ เป็นต้น

หรือแม้แต่ ศาสนา ยูดาย ของ โมเสส ที่เป็นต้นตอ เป็นต้นทาง ของทั้ง คริสต์ และ อิสลาม ก็มีหลักยึด หลักปฏิบัติ ที่ต้องการให้คนหลุดพ้น ถึงแม้จะแตกต่างทางวิธีการ รูปแบบ แต่เป้าหมายก็คือ การหลุดพ้น การไปถึงเป้าหมายที่ดีสูงสุด เหมือนกัน


  • ดังนั้นถ้าจะมีใคร มาถามผมว่า แล้วนับถือศาสนาใดจึงจะดีที่สุด 
  •  คำตอบของผมก็คือ ให้คุณกลับไปที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ที่คุณคิดว่าดีที่สุด ในโลกนี้ แล้วน้ำสะอาดมาดื่มสักแก้วยามคุณหิว
  • แล้วก็ไปที่ไหนซักแห่งที่คุณคิดว่า เลวร้ายที่สุดในโลก แล้วหาน้ำสะอาดของที่นั้นมาดื่มซักแก้วยามคุณหิว


ถ้าคุณได้คำตอบว่า น้ำทีไหน เวลาหิว ดื่มแล้วก็มีประโยชน์เท่ากัน รสชาติเหมือนกัน ไม่ว่า ดื่มในที่เจริญ หรือดื่มในที่ กันดาร ประโยชน์ของน้ำไม่ได้แตกต่างกันเลย คุณก็ไม่ต้องถามผมว่า ศาสนาใดดี

เพราะนั่นคือคำตอบ และหลักปรัชญาชีวิตของผม ที่ผมค้นพบ ว่าเป็นเรื่องจริง ที่ผมยึดเป็นหลัก




กังวาล  ทองเนตร 


การเดินทางอันยาวไกล



วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

ปฏิวัติและรัฐประหารต่างกันอย่างไร


การปฏิวัติกับรัฐประหารเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ศัพท์สองคำนี้ เป็นศัพท์ รัฐศาสตร์ คนทั่วไปมักจะเข้าใจไม่ถูกต้องนัก กับศัพท์ รัฐศาสตร์ สองคำนี้
บางคนใช้คำว่า รัฐประหาร บางคนใช้คำว่าปฏิวัติ หรือบางคน ใช้รวมกันเป็น ปฏิวัติรัฐประหาร มันเสียเลย

ซึ่งโดยส่วนตัวในฐานะที่เรียนจบทางด้านวิชารัฐศาสตร์ สาขากาการปกครอง ก็ได้อธิบายศัพท์ สองคำนี้ไว้หลายช่องทางแล้ว แต่ไม่ได้อธิบายไว้ในบล็อกของตัวเองอย่างเป็นทางการสักครั้ง
จึงถือโอกาสที่ การเมืองอยู่ในภาวะเปราะบาง อธิบาย ศัพท์สองคำนี้ให้เป็นหลักฐานในการอ้างอิงแก่คนทั่วไปอย่างเป็นทางการดังนี้

คำว่ารัฐประหาร เป็นคำที่นำมาจากภาษาฝรั่งเศสคือคำว่า คู้เดต้า  ( coup d'etat ) หมายถึงการทำรัฐประหารรัฐบาล หรือกลุ่มคนที่ใช้อำนาจรัฐนั้น โดย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมอื่นใด เช่น


  • โครงสร้างทางปกครอง 
  • โครงสร้างทางการเมือง
  • โครงสร้างทางสังคม
  • โครงสร้างทางเศรษฐกิจ


การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการก่อรัฐประหารนี้ จะมุ่งหวัง ไปที่ตัวผู้ใช้อำนาจรัฐ หรือคนที่เป็นรัฐบาลเท่านั้น อาทิ 

  • เมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 คณะรัฐประหาร ที่ใช้ชื่อว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ( รสช. ) ที่มี พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ ได้ทำการยึดอำนาจ รัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ


ภายหลัง รสช.ยึดอำนาจแล้ว โครงสร้างทางสังคมต่างๆยังคงมีอยู่เช่นเดิม แต่ ผู้ที่เป็นรัฐบาล เปลี่ยนเป็นบุคคลอื่แทน แต่ระบอบโครงสร้างอำนาจ โครงสร้างปกครอง ยังคงเหมือนเดิม
ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบของประเทศ หรือ รัฐ ยังคงเป็น รัฐเดี่ยว เป็นแบบราชอาณาจักร เหมือนเดิม การจัดส่วนบริหารราชการต่างๆก็ยังคงอยู่เช่นเดิม เป็นต้น


  • การยึดอำนาจเมื่อ วันที่ 19 กันยายน 2549 ที่คณะ คปก. ที่ต่อมาเป็น คมช. ที่นำโดย พล.อ.สนธิ บุญรัตน์กลิน ยึดอำนาจรัฐบาลของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็เปลี่ยตัวรัฐบาลจาก รัฐบาลทักษิน ไปเป็น รัฐบาล ของ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ แทน


ดังนั้น คำว่ารัฐประหาร จึงหมายถึง การเปลี่ยนแปลงกลุ่มบุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐ ( อำนาจบริหาร ) เท่านั้น


คำว่า ปฏิวัติ เป็นคำมาจากภาษา อังกฤษ คือคำว่า Revolution หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมทั้งหมด ทั้งสิ้น แบบ พลิกฟ้าคว่ำดิน พลิกฝ่ามือ จาก ดำ เป็น ขาว หรือ จากขาว เป็นดำ ไปทางใดทางหนึ่งอย่างสิ้นเชิงชนิด กลับ เฟส 180 องศา เช่น


  • เปลี่ยนจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราช ( ราชาธิปไตย ) Absolute Monarchy ไปสู่ระบอบอื่น เช่น สาธารณะรัฐ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เป็นต้น


กล่าวคือ การปฏิวัติ จะปรับเปลี่ยนไปในแนวทาง ใดก็ได้ ที่ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง


  • เปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ จาก ราชอาณาจักร เป็น สาธารณะรัฐ หรือ สังคมนิยม หรือจาก สังคมนิยม เป็นราชอาอาณาจักร ก็ได้
  • เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองการปกครองใหม่
  • เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางนิติบัญญัติใหม่
  • เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางระบบเศรษฐกิจใหม่
  • เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมใหม่
  • เปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างราชการใหม่
  • เปลี่ยนแปลงสถาบันทางสัคมใหม่ เป็นต้น


การปฏิวัติที่ เป็นที่รู้จักทั่วโลก เช่น


การปฏิวัติฝรั่งเศส 1789-1815




เลนินกับการปฏิวัติรัสเซีย


การปฏิวัติจีน โดย ดร.ซุน ยัต เซน


สรุปคือ



การจะพิจารณาว่า การกระทำ หรืือการยึดอำนาจใด ว่า เป็น รัฐประหาร หรือเป็นปฏิวัติ หรือไม่

  • ไม่ได้พิจารณาจาก วิธีการ
  • ไม่ได้พิจารณาจากว่าใครเป็นผู้กระทำ ทหาร ตำรวจ หรือ พลเรือน
  • ไม่ได้พิจารณาจากรูปแบบ การใช้กำลัง ใช้ความรุนแรง มากน้อย เฉียบพลัน หรือ ยืดเยื้อต่อเนื่อง
การพิจารณาว่าเป็นปฏิวัติหรือรัฐประหาร พิจารณาจาก
  • ผลจากการกระทำที่ได้กระทำสำเร็จลุล่วงแล้ว จากคณะผู้ทำการ
  • ถ้ายึดอำนาจสำเร็จแล้ว เปลี่ยนแปลงแค่ผู้ใช้อำนาจรัฐ โดยตรง ไม่เปลี่ยนโครงสร้าง เรียกว่า รัฐประหาร ( coup d'etat ) ไม่ใช่ ปฏิวัติ
  • ถ้ายึดอำนาจสำเร็จแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางสังคมทั้งหมดทั้งสิ้น จากระบบเดิมไปสู่ระบบใหม่ เรียกว่า ปฏิวัติ ( Revolution )
ดังนั้นเมื่อเราพิจารณาจาก สาระเนื้อหา ของการยึดอำนาจในประเทศไทย 
  • ล้วนเป็นการก่อรัฐประหารทั้งสิ้น เพราะไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนรื้อโครงสร้างแต่อย่างใด
  • รวมถึง การเปลี่ยนแปลงเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ก็ไม่ใช่การปฏิวัติ เพราะรูปแบบแห่งรัฐ ยังคงเดิมคือเป็นราชอาณาจักร เพียงแต่เปลี่ยนระบบโครงสร้างอำนาจการปกครอง จาก ราชาธิปไตย หรือสมบูรณาญาสิทธิราช ที่ ราชา มีอำนาจ เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด เพียงผู้เดียว ทั้ง บริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ มาเป็น เปลี่ยนมือผู้ใช้อำนาจทั้งสามนั้น และให้ ราชาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 จึงเรียกว่า เป็นการเปลี่ยนแปลง แบบ กึ่งปฏิวัติ กึ่งรัฐประหาร เท่านั้น ตามหลักการข้างต้น


กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง



วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

สวัสดีปีใหม่



จะเรียงร้อย  ถ้อยคำ  อันล้ำค่า
จะเสาะหา  ลำนำ  ทำนองหวาน
จะสรรสร้าง  หมื่นคำ ที่ชำนาญ
ก็ป่วยการ  ถ้าใจ  ไม่เปิดมา

จะปีเก่า  ปีใหม่  ก็ไม่ต่าง
ถ้าจิตใจ  ของเรา ไม่ก้าวหน้า
มัวยึดติด  กับดัก  อวิชชา
ยากจะหา  สิ่งใด ให้เปิดทาง

มีปัญญา เหมือนมี  แสงไฟส่อง
เป็นประทีป  เทียนทอง  ส่องสว่าง
ไล่ความมืด  ออกไป  ให้เห็นทาง
แสงสว่าง  เกิดขึ้น เพราะปัญญา

จะโง่เง่า  เต่าตุ่น  เหมือนหุ่นปั้น
หากเรานั้น  ไม่คิด  แสวงหา
คบบัณฑิต  เป็นมิตร  ได้วิชา
ทางก้าวหน้า  ไม่ไกล  เกินความจริง

 กังวาล ทองเนตร