กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กราฟฟิค Workshop สู่มืออาชีพ

รูปที่ 1

Workshop นี้ผมตั้งชื่องานว่ารูดซิปให้ภาพครับมาเริ่มขั้นตอนกันเลย

1. เปิดโปรแกรม Adobe Photoshop ขึ้นมา
2. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการจะซิปใส่ ผมเลือกรูปที่ 1


รูปที่ 2

3.ก๊อปปี้เลเยอร์ภาพ ขึ้นมาใหม่โดยลากภาพเข้ามาใส่ Create a new 




รูปที่ 3

4 . ใส่เส้นไกด์ที่ตรงกลางโดยเลือกที่คำสั่ง View >Rulers จากนั้นจะเห็นแถบไม้บรรทัดขึ้นมาที่ไฟล์ภาพ แล้วเลื่อนเม้าไปวางที่แนวเส้นซ้ายสุดของภาพให้เม้าส์เปลี่ยนเป็น ลูกศร ซ้าย-ขวา แล้วดึงเมาส์ลากไว้ที่ 750 พิกเซล หรือประมาณ เลข 26 ของเส้นไม้บบรทัด เราจะได้เส้นไกด์ ที่เห็นเป็นสีฟ้าดังรูป


 5.ปรับสีภาพให้เป็นภาพขาวดำโดยเลือกใช้คำสั่ง Image >Adjustment >Desaturate เสร็จแล้วจะได้ผลดังรูป ที่ 4


รูปที่4

6.ปรับสีภาพให้เป็นสีซีเปีย โดยใชชุดคำสั่ง Image > Adjustment >Photo Filter แล้วกำหนดออฟชั่นตามรูปที่ 5ที่ผมเลือก เสร็จแล้วคลิก OK จะได้รูปตามรูปที่ 6

รูปที่5


รูปที่6

7.ปรับความสว่างภาพด้วยชุดคำสั่ง Image> Adjustment >Brightness/Contrast และกำหนดค่าออฟชั่นตามรูปที่ 7 จะได้รูปที่รูปที่ 8

รูปที่7


รูปที่ 8

8.เลือกเครื่องมือ Rectangular Marquee จากแถบเครื่องมือด้านซ้าย ชุดมาร์ควี แล้วปรับออฟชั่นด้านบนที่แถบเมนูบาร์ตามภาพที่ 9


รูปที่.9


9.คลิกลากสร้าง Selection จากรูปตามแนวเส้นไกด์ทางซ้ายมือตามรูปที่ 10


รูปที่ 10


10. ตั้งค่าสีเป็น Foreground แล้วคลิกเลือกสี Medium Warm Brown ในเมนู Swatches ดูแถบสีล่างสุดของรูปที่ 11 นับจากขวาสุดเข้ามาคือสีที่ 3 ในรูปที่ 11


รูปที่ 11

11.จากนั้นคลิกปุ่มCreate a new ปุ่มที่ 2ของแถบเลเยอร์ นับจากถังขยะเข้ามาในรูปที่ 12และตั้งชื่อเป็นเลเยอร์ border ( ห้ามคลิกที่รูป 11 ตรงนั้นเลือกเฉพาะสี )


รูปที่ 12

 12.เลือกชดคำสั่ง Edit >Stroke กำหนดค่าออฟชั่นตามรูปที่ 13 แล้วคลิก OK


รูปที่ 13


13.จากนั้นคลิกเลือก fx ตามรูปที่ 14 ในเมนูของเลเยอร์พาเล็ตแล้วเลือกชุดคำสั่ง Pattern overlayจะมีหน้าต่างขึ้นมากำหนดออฟชั่นตามภาพดังรูปที่ 15


รูปที่ 14




รูปที่ 15

ใช้เม้าส์คลิกที่ดรอฟดาวน์ลิสต์ไอคอนรูปภาพ (รูปสามเหลี่ยม ) ตามรูปที่ 15 เมื่อมีเมนูย่อยขึ้นมาคลิกเลือก Burlap โดยใช้เม้าส์ไปชี้ดูตามรูปภาพย่อยจะปรากฎรายชื่อขึ้นมา แล้วเลือกตามที่ผมบอกแล้วคลิก OKตามรูป ที่ 15 แล้วคลิก Appendตามรูปที่ 16จะได้ไอคอนรูปที่เราเลือกตามภาพที่17 (ให้ดูภาพที่ 15 และ 17 เทียบกัน

รูปที่ 16


รูปที่ 17

14.คลิกที่  fx ตามรูปที่ 14 อีกครั้ง แต่ครานี้เลือก Inner Glow แล้วกำหนดออฟชั่นตามรูปที่ 18

รูปที่ 18

15.ยกเลิก Selection โดยการกดที่ คีย์ Ctrl +D ซีเลคชั่นจะหายไปตามรูปที่ 19



รูปที่ 19

16 ก๊อปปี้เลเยอร์ border ขึ้นมาตามรูปที่ 20 จะได้เลเยอร์ border copy ตามรูป 20


รูปที่ 20

17.คลิกเลือกเครื่องมือ Move รูป 21 แล้วลากย้ายตำแหน่งเส้นขอบในของเลเยอร์ border copy โดยจังหวะนี้ต้องคลิกที่เลยอร์ border copy ให้เป็นสีฟ้าก่อนแล้วนำมูฟไปย้ายในภาพ ตามรูป 22-23

รูป 21

รูปที่ 22

รูปที่ 23

18.รวมเลเยอร์ 1 เลเยอร์ border และ border copy เข้าด้วยกัน โดยคลิกเม้าส์ที่เลเยอร์ 1 กด Shift ค้างไว้แล้วคลิกที่เลเยอร์บนสุด จากนั้นคลิกขวาที่เลเยอร์ 1 เลือก Merge Layer  จะได้ตามรูป 25

รูปที่ 24

 รูปที่ 25 

19.เลือกเครืองมือ Rectangular Marquee อีกครั้งกำหนดออฟชั่นบาร์เหมือนเดิม (ดูรูปที่ 9 ประกอบ)
20.คลิกลากเมาส์สร้างซีเลคชั่นทางซ้ายของเส้นไกด์ตามเดิม
21.เลือกคำสั่ง Edit >Transform > Warp จะไดรูป ที่ 26


รูปที่ 26

22.คลิกเมาส์ที่จุดปรับมุมบนใต้เลข 26แล้วดึงลงมาที่มุมล่างตามรูปที่ 27


 รูป ที่ 27

23.ทำตามขั้นตอน 19-21 อีกครั้งแต่เปลี่ยนมาเป็นด้านขวาของเส้นไกด์ และดึงลงมาหามุมล่างขวาจะได้รูปที่ 28

รูปที่ 28

24.ยกเลิกซีเลคชั่นโดยกด Ctrl +D และยกเลิกเส้นไกด์ โดยกลับไปที่เมนูคำสั่ง View >Clear Guides เส้นไกด์จะหายไปตามรูปที่ 29 จากนั้นพิม์ชื่อแสดงความเป็นเจ้าของงาน และ Save As ตั้งชื่อและเลือกโฟลเดอร์เก็บ เป็นอันเสร็จขั้นตอน วิธีนี้เราสามารถนำไปดัดแปลงในงานออกแบบอื่นๆได้ และอย่าลืมครับได้ประโยชน์แล้วอย่าลืมน้ำใจให้กันครับขอบคุณซักคำ


รูปที่ 29
รูปที่ 30

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง โทการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง คอมพิวเตอร์-กราฟฟิคดีไซน์-มัลติมิเดียส์ สถาบันคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แผ่นดิสก์เก็ตความทรงจำในอดีต



แผ่นที่เห็นอยู่นี้คือ แผ่น ซอฟท์แวร์ ซึ่งเป็นยุคที่คอมพิวเตอร์กำลังได้รับความนิยมในขณะนั้น
แต่จะมีบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานทางราชการมีใช้น้อยมากสาเหตุก็เพราะ

  1. มีราคาแพง
  2. ขาดบุคลากรที่ชำนาญการด้านนี้โดยตรง
  • เมื่อซื้อคอมพิวเตอร์มาซักเครื่องในสมัยก่อน ทางบริษัทผู้จัดจำหน่ายต้องคอยจัดส่งบุคลากรมาคอยอบรมแนะนำวิธีใช้ให้ด้วย
  • หรือเมื่อมีซอฟท์แวร์ตัวใหม่เข้ามาในตลาด ก็จะมีพนักงานมาสาธิตการใช้งานตามสำนักงานต่างๆ
  • แผ่นซอฟท์แวร์เหล่านี้จะมีชื่อเรียกว่า แผ่นดิสก์เก็ต Diskette หรือฟล้อปฟลี่ดิสก์
  • หนึ่งแผ่นจะเป็นหนึ่งโปรแกรม  เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในยุคสมัยของแผ่นเหล่านี้ไม่สามารถลงโปแกรมสำเร็จรูปต่างๆไว้ในหน่วยความจำของ CPU ได้ และคอมในยุคสมัยแผ่นเหล่านี้ก็มี RAM ต่ำมาก แต่ราคาแสนแพง

  • ยิ่งไปกว่านั้นการซื้อคอมในยุคนั้นยังต้องซื้ออุปกรณ์เสริมอีกมากมายทั้งชุดสำรองไฟ เนื่องจากคอมยุคนี้ต้องมีไฟเลี้ยงหน่วยความจำตลอด ถ้าไฟดับจะเกิดความเสียหายต่อคอมและส่วนอื่นๆได้
MODEM ก็จะมีขนาดใหญ่เทอะทะ 

  • และที่สำคัญต้องมีเครื่องฮาร์ดไดร์ฟอีกต่างหากมาคอยอ่านแผ่นโปรแกรมเหล่านี้

  • ความยากลำบากของหนุ่มสาวออฟฟิช สมัยแผ่นดิสก์เก็ตนี้อีกอย่างก็คือแผ่นราคาแพงและมีจำนวนจำกัดต่อบริษัท ถ้าบริษัทใดมีสาขา ก็ต้องมีพนักงานคอยวิ่งส่งแผ่นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง กว่าจะทำงานเสร็จ หรือกว่าจะได้ทำงานต้องโดนนายจ้างเอ็ดกันเพราะนั่งรอแต่แผ่นว่าเมื่อไหร่จะมาถึง
  • แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไปแผ่นเหล่านี้ กลับกลายเป็นของสะสมและหายาก เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของตัวมันเองและคนที่เคยใช้มันให้หวนลำรึกถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งอดีต ที่หนุ่มสาวออฟฟิชแอบพิมพ์ข้อความฝากไว้ในคอมเพื่อจะให้สาวเจ้ามาเปิดดูแต่ดันไฟฟ้ามาดับข้อความก็อันตธาลหายไปด้วย ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งซึ่งมีโอกาสได้ใช้คอมในยุคนี้ได้ฝึกหัดพิมพ์โปแกรมเวิร์ด บ้าง เอกซ์เซลบ้าง จนทำให้ผมมีความสนใจคอมพิวเตอร์แต่นั้นมา













 เครื่องอ่านแผ่น







แผ่นโปรแกรมซิป ก็มีมาตั้งนานแล้วเช่นกัน






เมื่อเวลาผ่านไป ก็กลายเป็นกระเป๋าเท่ๆๆๆ





โครงสร้างส่วนต่างๆของโปแกรม



 ที่เก็บต้องมีกุญแจล็อค เพราะมีราคาที่แพงมาก


หลากหลายสีสันให้เลือก










 ก่อนใช้ต้องเสียบแผ่นเข้าไปในเครื่องเมื่อทำงานเสร็จก็ถอดออกให้พนักงานนำส่งที่อื่นต่อไป


ความทรงจำดีๆ

Thank You Very much  >>> [ 1 ]