กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

อธิบายการเมืองฝ่ายซ้ายขวา


ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวามีที่มาอย่างไร



  • คำว่า ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา ที่มักพูดกันมีที่มาจากในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (ราว ค.ศ. 1790) หลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปอยู่ในรูปแบบสาธารณรัฐ และมีสมัชชาแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภาประกอบด้วยตัวแทนจากหลายภาคส่วน


  • ซึ่งที่มาก็มาจากการเรียกกลุ่มที่นั่งฝั่งซ้ายมือของประธานสภา และฝั่งขวามือของประธานสภา ซึ่งทั้งสองฝั่งจะมีความคิดสวนทางกัน ฝ่ายซ้ายจะมีแนวคิดเสรีโอบอุ้มคนจน ส่วนฝ่ายขวา จะเป็นพวกหนุนเจ้าและพยายามที่จะเปลี่ยนฝรั่งเศสให้กลับไปเป็นระบบกษัตริย์อีกครั้ง
  • โดยภายในห้องประชุมสมัชชา กลุ่มตัวแทนกรรมกร ชาวไร่ชาวนา ถูกจัดให้นั่งทางด้านซ้ายของท่านประธานสมัชชา (Left-wing) โดยข้อเสนอแนะของตัวแทนของคนยากจน หรือที่เรียกในสมัยนั้นว่า ไพร่กระฎุมพี ก็จะถูกเรียกว่าข้อเรียกร้องของ ฝ่ายซ้าย
  • ขณะที่ตัวแทนของขุนนาง ทหาร นักบวช และคนร่ำรวย หรือพวกศักดินา นั่งทางด้านขวา (Right-wing) โดยข้อเสนอของกลุ่มคนเหล่านี้ ก็จะถูกเรียกว่าข้อเรียกร้องของ ฝ่ายขวา
ต่อมาจนถึงยุคการปฏิวัติรัสเซียและจีน มีการตีความ ไพร่กระฎุมพี เปลี่ยนเป็นชนชั้นกรรมาชีพ และศักดินา เปลี่ยนเป็นนายทุน ทำให้อธิบายได้ว่า รัสเซียและจีน กลายเป็น ฝ่ายซ้าย คือฝ่ายที่คนจนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ในขณะที่สหรัฐอเมริกา และค่ายประชาธิปไตย เป็น ฝ่ายขวา คือฝ่ายที่คนรวยเป็นใหญ่ในแผ่นดิน



จุดเริ่มต้นคู่ ซ้าย - ขวา คู่ที่ 1


  • ที่มาของซ้ายขวาที่เป็นต้นแบบจริงๆคือฝรั่งเศส ดังที่กล่าวไปแล้วแต่ข้างต้น

จะเห็นได้ชัดเจนว่าฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาของฝรั่งเศสนี้ เป็นคู่ที่มีแนวทางตรงกันข้ามอย่างชัดเจน

  • และซ้ายของฝรั่งเศสนี้ก็เป็นซ้ายฝ่ายประชาธิปไตย นิยมแนวคิดแบบเสรีนิยม จัดรูปแบบรัฐให้เป็นแบบ
  • สาธารณะรัฐ ( Republic ) มีสภา มีตัวแทนประชาชน ตามหลักประชาธิปไตย



  • ในขณะที่ฝ่ายขวา ก็จะเป็นพวก ขุนนาง นักบวช ทหาร เศรษฐี และชนชั้นนำ กลุ่มนี้ก็มีแนวทางที่ชัดเจนเช่นกันว่า ต้องการที่จะให้ฝรั่งเศสกลับไปปกครองในรูปแบบ ราชาธิปไตยอีกครั้ง แทนแบบสาธารณะรัฐ ที่กำลังเป็นอยู่ และรูปแบบของประเทศเป็นแบบราชอาณาจักร ( Kingdom )
  • การต่อสู้ของคนทั้งสองกลุ่มนี้มีการ ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ และมีการเปลี่ยนการปกครอง จากสาธารณะรัฐไปเป็น ราชาธิปไตย และ ระบบจักรวรรดิ์ และสาธารณะรัฐ สลับไปมาอยู่หลายปี ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสแล้ว


ดังนั้น ซ้าย-ขวา ของฝรั่งเศส เกิดจากความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองของคนภายในฝรั่งเศสเองทั้ง ซ้าย - ขวา


คู่ซ้าย -ขวา  คู่ที่ 2


  • เกิดขึ้นภายหลังการปฏิวัติรัสเซีย และจีน สิ้นสุดลง เนื่องจาก รัสเซียและจีน ได้หยิบยก กรรมกร ชาวไร่ ชาวนา มาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ปฏิวัติ เมื่อปฏวัติสำเร็จ จึงมีผู้ตีความ การเมืองของรัสเซียและจีนว่า เป็นการเมืองที่ปกครองโดยคนจนหรือชนชั้นกรรมาชีพ ( ไพร่ ) ซึ่งซ้ายในความหมายของคู่ที่ 2 นี้มีเนื้อหาแตกต่างจากซ้ายต้นแบบของฝรั่งเศส เพราะ ซ้ายของจีนกับรัสเซีย เป็นแบบคอมมิวนิสต์ ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ตามลัทธิคอมมิวนิสต์ ของ คาร์ล มาร์กซ์ และปรับมาใช้โดย เลนิน จึงเรียกรวมกันว่า มาร์กซ์-เลนิน ในขณะที่ซ้ายฝรั่งเศสคือประชาธิปไตยแบบสาธารณะรัฐ นี่คือความแตกต่าง


  • ในขณะที่อีกซีกโลกหนึ่งคือฝั่ง สหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกมองว่า ใช้ระบบทุนนิยม และคนรวยเป็นผู้ปกครองประเทศ ฝั่งอเมริกา จึงถูก นำมาประกบคู่กับ ซีกโลกค่ายคอมมิวนิสต์คือโซเวียตรัสเซีย และ จีน ที่ถูกจัดให้เป็นซ้าย ดังนั้น สหรัฐอเมริกา เมื่อนำมาเปรียบเทียบประกบคู่จึงถูกกันให้เป็นฝ่ายขวา


  • แต่คำว่าขวาในที่นี้ก็ไม่ได้มีความหมายอย่างเดียวกับขวาของฝรั่งเศส เพราะการเมืองในอเมริกาไม่ได้แตกแยกจากกรณีนี้ เมื่อครั้งสงครามการเมืองก็เกิดจากรัฐฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ เรื่องการค้าทาส ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน
  • แต่อเมริกาถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่ายคอมมิวนิสต์ดังนั้นอเมริกาจึงเป็นฝ่ายขวา แต่เป็นขวาแบบประชาธิปไตย รูปแบบรัฐเดิมทีเดียวอเมริกาเป็นแบบสมาพันธรัฐ และได้เปลี่ยนมาเป็น สหพันธรัฐ


ดังนั้นในความหมาย ซ้ายขวาของคู่นี้ จึงเป็นเรื่องของการเมืองโลกระหว่างสองค่ายมหาอำนาจของโลก อย่างโซเวียตรัสเซีย ซึ่งเป็นค่ายคอมมิวนิสต์ และ สหรัฐอเมริกาที่เป็นโลกค่ายเสรี 



ส่วนคู่ที่3 กัมพูชาผมเรียกมันว่าคู่พิกล
พราะมันผิดรูปแบบ ไม่ชัดเจนในรูปแบบ แต่เขาก็เรียกตัวเองว่าฝ่าย ซ้าย ฝ่ายขวาเช่นกัน และมันเป็นอีกหน้าหนึ่งของการเมืองโลก ผมจึงได้นำมาอธิบายไว้ตรงนี้ด้วย


  1. ฝ่ายขวาของกัมพูชา นำโดย นายพล ลอนนอล ( Lon Nol ) และนายพลเจ้าสิริมาตะ เป็นแกนนำฝ่ายขวาจัดกลุ่มนี้มีแนวคิดนิยมหรือเอียงไปทางค่ายของอเมริกาในระยะต้นขวานี้ก็ต้องการให้มีระบบกษัตริย์ด้วย
  2. ฝ่ายซ้ายนำโดย นาย เขียว สัมพัน ( Khieu Samphan)  และนาย เอียง สารี ( Ieng Sary) กลุ่มนี้มีแนวคิดนิยมไปค่ายโลกคอมมิวนิสต์ คือรัสเซียและจีน
  • ฝ่ายขวาต้องการให้เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจกัมพูชาเป็นแบบทุนนิยมตามอย่างอเมริกา
  • ส่วนฝ่ายซ้ายกลับเสนอให้ยึดกิจการต่างๆให้ตกเป็นของรัฐตามแนวทางมาร์กซ์ซิสต์
  • แต่ที่แปลกก็คือ ซ้ายแบบเขมร ยังคงให้มีระบบกษัตริย์อยู่ นี่คือสิ่งที่ผมบอกว่ามันพิกลผิดรูปผิดแบบแผน
  • แต่เมื่อเราวิเคราะห์ลงไปให้ลึกจะเห็นว่ากษัตริย์สีหนุมีแนวคิดเอียงมาทางรัสเซียและจีนชัดเจน ดังนั้นคงไม่ผิดถ้าผมจะเรียกว่า ตัวเจ้ากลับเป็นซ้ายเสียเองตามแบบ จีนรัสเซีย ต้องการให้กัมพูชาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมตามฝ่ายซ้ายเสนอ แต่แก้ปัญหาชาติไม่ได้ จนเจ้านโรดมสีหนุ ยอมให้นายพล ลอนนอล และเจ้าสิริมาตะเข้ามาคุมอำนาจในรัฐบาลอย่างเต็มที่ แต่เจ้าสีหนุก็ไม่พอใจรัฐบาลของ ลอนนอล เช่นกัน จนในที่สุดฝ่ายขวาของ ลอนนอลได้โค่น ระบบกษัตริย์คือเจ้าสีหนุลง นำไปสู่สงครามกลางเมืองแตกเป็นเขมร สามฝ่าย เขมรสี่ฝ่าย เขมรแดงในเวลาต่อมา




ส่วน คู่ต่อมาคือไทย คู่นี้ก็ไม่ได้ต่างไปจากกัมพูชาเท่าใดนัก

  • กล่าวคือฝ่ายที่เรียกตัวเองหรือถูกเรียกว่าซ้าย เรียกตัวเองว่าสหายทั้งหลาย ส่วนใหญ่นิยมแบบมาร์กซ์ซิสต์ตามอย่างรัสเซียและจีน ต้องการจัดรูปแบบรัฐเป็นสาธารณะรัฐ และสังคมนิยม ไม่นิยมอเมริกาและทุนนิยม แต่กลับมีบางส่วนที่นิยมอเมริกา
  • ดังนั้นซ้ายของไทยอาจสรุปได้ว่าเป็นซ้ายแบบโลกคอมมิวนิสต์
  • ส่วนขวาของไทยกลับไม่ใช่คู่ของมันคืออเมริกา แต่กลับเป็นขวาแบบฝรั่งเศสคือขวาตกขอบสุดโต่งเช่นกัน
  • จะเห็นได้ว่ามันเป็นการจับคู่ขัดแย้งที่ผิดคู่มารวมไว้ในการเมืองไทยจึงทำให้หลายคนสับสนว่า ซ้าย-ขวาในไทยมันต่างจากซ้ายขวาของฝรั่งเศส และอเมริกาอย่างไร ตามที่ผมได้อธิบายไว้แล้วเมื่อเป็นเช่นนี้ผมจึงสรุปได้ว่าคำว่าซ้ายขวามันมี 2 รูปแบบครึ่ง

ซ้าย 2 รูปแบบครึ่ง

  1. ซ้ายต้นแบบตามอย่างฝรั่งเศสผมใช้สีขาวแทนรูปแบบนี้ซึ่งเป็นซ้ายประชาธิปไตยแบบสาธรณะรัฐ
  2. ซ้ายตามอย่างรัสเซียและจีน เป็นซ้ายแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ตามแนว มาร์กซ์ -เลนิน
  3. ซ้ายครึ่งเดียวตามแบบฉบับเขมร มีแนวคิดเอียงซ้ายตามโลกคอมมิวนิสต์ แต่เนื้อในกลับมีศักดินาซึ่งขัดหลักทฤษฎีตามต้นฉบับของ คาร์ล มาร์กซ์
ขวา มี 2 รูปแบบครึ่ง
  1. ขวาตามต้นแบบฝรั่งเศสคืออนุรักษ์นิยมสุดขั้วต้องการให้ประเทศคงรูปแบบราชอาณาจักร
  2. ขวาแบบสหรัฐอเมริกา ซึ่งผมขอย้ำตรงนี้อีกครั้งว่า กรณีอเมริกาที่เป็นขวาเพราะถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่ายคอมมิวนิสต์ของรัสเซียและจีน ซึ่งตัวอเมริกาเองไม่ได้เรียกตัวเขาเองว่าขวาเหมือนที่อื่นแต่ข้างต้น ดังนั้นขวาตามความหมายของอเมริกาจึงเป็นขวาแบบ ประชาธิปไตย ต่างจากขวาฝรั่งเศสสุดขั้วเช่นกัน
  3. ขวาแบบกัมพูชา แม้นิยมขวาแบบเดียวกับอเมริกา แต่ระยะต้นก็ยังให้มีการปกครองประเทศในรูปแบบราชอาณาจักรอยู่ จึ่งเป็นขวาไม่เต็มรูปแบบตามอย่างอเมริกานั่นเอง
จึงสรุปได้ว่า

  • ซ้ายมี 2 ความหมายคือ
  1. ซ้ายประชาธิปไตย  (ฝรั่งเศส )
  2. ซ้ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (จีนรัสเซีย )
  • ขวามี 2 ความหมายคือ
  1. ขวาสุดขอบคืออนุรักษ์นิยม  (ฝรั่งเศส )
  2. ขวาโลกเสรีค่ายอเมริกา ตามที่ผมได้อธิบายมาแล้วทั้งหมด
คราวนี้ท่านก็จงตรวจสอบอุมการณ์ของตัวท่านเองว่า ท่านซ้ายแบบไหน หรือขวาแบบไหนตามที่อธิบายแต่ข้างต้น

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง ศศ.บ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

เรอแนสซองส์คืออะไร






ผลงานของ ลีโอนาร์โด ดาวินชี่


  • เรอแนสซองส์ ( Renaissance) หมายถึงยุคของการฟื้นฟู หรือการเกิดใหม่ ทั้งด้านศิลปวิทยาการของยุโรป 
กล่าวคือเมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายลง ทำให้ศิลปวัฒนธรรมและความรู้ต่างๆในยุครุ่งเรืองของยุโรปถูกทำลายลงไปด้วย
เมื่อยุคมืดของยุโรปสิ้นสุดลงก็มีบรรดาเศรษฐีได้คิดรวบรวมและอุปถัมภ์ศิลปินขึ้นโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่อิตาลี
โดยนักวิชาการหลายคนเห็นว่า เรแนสซองส์ เป็นยิ่งกว่าการเกิดใหม่ เพราะเป็นทั้งการเชื่อมต่อยุคสมัยคือยุคกลางกับยุคสมัยใหม่เข้าด้วยกัน


ขบวนการเรแนสซองส์ได้เริ่มขึ้นที่อิตาลีก่อนประมาณ ค.ศ.1400

  • มีพ่อค้าชาวเวนิส เป็นเจ้าของกองเรือขนาดใหญ่มากถึง 300 ลำ และเรือที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 100 ตันอีก 3,000 ลำ เรือสำเภาอีก 45 ลำ มีฝีพาย 28,000 นาย ใช้ช่างไม้ต่อเรืออีก 6,000 นาย กองเรือของเขาออกค้าขายตามเมืองสำคัญ เช่น ฟลอเรนส์ เจนัว ปิซ่า และโรม 
และต่อมาเริ่มมีผู้คนสนใจเศษซากของความยิ่งใหญ่ในอดีต เหล่าบรรดา ขุนนางและพ่อค้าจึงหันมาสะสมของเก่าและสนับสนุนโครงการและเผยแพร่ความเจริญสมัยยุคคลาสสิคโบราณ
โดยตระกูล เมดิชี่
ได้ส่งเสริมศิลปินประจำถิ่นและจัดตั้งโครงการสร้างสิ่งใหม่ๆขึ้น

และมีศิลปินที่ร่วมทำงานอยู่ในพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ได้แก่

  • แบร์โทลโด ไมเคิล แองเจโล ลีโอนาร์โด ดาร์วินชี่ เป็นต้น
และ แวโรซีโอ ลอเรนโซ เดอ เมดิชี่ เป็นทั้ง กวี และคีตกวี จึงทำให้เหล่าศิลปินนิยมชมชอบเขาด้วย เพราะพวกเขาต้องการความเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง เรียกว่า ธรรมเนียมปัจเจกชนนิยม แต่ก็มีศิลปินส่วนหนึ่งที่รับจ้างให้กับพวกขุนนางและโบสถ์คริสต์


ซึ่งในยุคสมัยนี้การยึดถือลัทธิวีรคติ เริ่มเสื่อมลง และสิ่งที่กำลังจะมาแทนคือ อุดมคติสุภาพชน
ลัทธิวีรคติ >>> คลิกอ่านที่นี่


( Very perfect gentlemen ) หรือความนิยมวางมาดวางท่าทีให้เหมาะสม ซึ่งแนวคิดนี้มีอยู่ในหนังสือ สุภาพชน ( IL Cortigiano ) เขียนโดย บาลดาสซาร์ คาสตีญลีโอน เมื่อ ค.ศ. 1478-1529 จนได้รับความนิยม

บางส่วนของหนังสือ เช่น ผู้ที่กำเนิดในตระกูลขุนนาง ต้องมีมารยาทสุภาพเรียบร้อยทั้งกายใจ มีมาตรฐานและรสนิยม ขุนนางจะเติบโตขึ้นมากับ การฝึกอาวุธ กีฬา เต้นรำอย่างสง่างาม และการดนตรี รวมไปถึงเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษาลาติน วรรณคดี ศิลปะต่างๆ

และยังระบุอีกว่าสตรีจำเป็นต่อสภาพแวดล้อมที่จะทำให้คนเป็นสุภาพบุรุษได้ เพราะสตรีทำให้เราเกิดความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน ไม่ว่าบุรุษนั้นจะมีสันดานหยาบช้าเพียงใดเมื่ออยู่ต่อหน้าสตรีเพศแล้วก็จะทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นสุภาพบุรุษขึ้นมาได้

เขายังกล่าวอีกว่า สตรีจึงควรจะฝึกฝนตัวเองให้พร้อมแก่บุรุษ เช่นการวางตัว การแต่งกาย กริยาท่าที ทั้งนี้เพื่อให้สามารถสนทนากับบุรุษได้อย่างเสมอกัน
สตรีจำเป็นต้องเรียนหนังสือ วรรณคดี ศิลปกรรม การบ้านการเมือง และรู้หลายภาษาอีกด้วย ฯลฯ

ศิลปินมากมายแข่งขันกันผลิตผลงาน รวมถึง ไมเคิล แองเจโล และ ดาร์วินชี่ด้วย ทั้งสองอยู่ที่ฟลอเรนส์และต่างมีความเชี่ยวชาญ ในการสื่อแนวคิดผ่านออกมาทางภาพได้จนเป็นที่ประจักษ์

จนทั้งสองกลายเป็นคู่แข่งกันในเวลาต่อมา




งานที่สำคัญของ ดาร์วินชี่ เช่น Virgin of the Rock,The Last supper ,The MONA Lisa เป็นต้น





Virgin of the Rock 

ส่วนแองเจโล เขาเชี่ยวชาญงานที่เป็นรูปตัวคน งานที่เลื่องชื่อของเขาคือ ภาพวาดในโบสถ์ชืองานว่า The Sistine Chapel ซึ่งมีรูปคนแทรกอยู่มากมายถึง 350 รูป แทบทุกช่องว่าที่เขาสามารถวาดมันลงไปได้




The Sistine Chapel ของแองเจโล



The Sistine Chapel

The Sistine Chapel

The Sistine Chapel 

  • สมัยเรแนสซองส์มีความเจริญถึง 200 ปี จึงเสื่อมลงเมื่อประมาณ ค.ศ.1550 ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งคือสงคราม โดยฝรั่งเศสได้บุกยึดอิตาลี เมื่อ ค.ศ. 1494 และได้นำคนภายนอกเข้ามายังอิตาลีและได้ทำลายดินแดนี้ให้ราบลงอีกครั้ง 
รวมไปถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจด้วยเพราะเศรษฐกิจของอิตาลียุคนี้จะเป็นแบบผูกขาดโดยชนชั้นกลางที่ค้าขายระหว่างยุโรปตะวันตกและการค้ากับโลกตะวันออก สิ้นสุดลง
  • เรแนสซองส์อาจสรุปได้ว่า เป็นขบวนการของพวกขุนนางที่มีความเชื่อว่าชนชั้นของตนมีวัฒนธรรมที่สั่งสมมานาน เป็นเรื่องของลัทธิที่มนุษย์นิยมในตัวมนุษย์ว่าเป็นสิ่งพิเศษ และนิยมสะสมศิลปินและผลงานไว้ในสังกัดของตนเอง เพื่อประดับบารมี รสนิยม ค่านิยมในยุคนั้นๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า เรแนสซองส์ เป็นยุคทองของศิลปินด้วยเช่นกันที่จะได้สร้างผลงานฝากไว้ให้กับโลกสืบมาจนวันนี้ 

ภาพด้านล่างทั้งหมดเป็นผลงานของ ลีโอนาร์โด ดาร์วินชี่





ช่วงชีวิตหนึ่งเขาได้แอบผ่าศพและวาดภาพทุกอณูที่เขาได้เห็นไว้ จนถูกกล่าวว่าเขาเป็นบ้า แต่ผลงานของเขากลับเป็นประโยชน์กับนักศึกษาแพทย์ในเวลาต่อมา




ดาร์วินชี่






แบบร่างอาวุธในจินตนาการที่ดาร์วินชี่ออกแบบร่างไว้





St.John the Baptist เชื่อกันว่านี่เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของดาร์วินชี่




The Mona Lisa



โครงสร้างทางกายภาค ซึ่งต่อมาได้ถูกนำเข้าไปในการศึกษา




อ้างอิงจาก

Thank you friend blog >>[1] 2 ] 3 ] 4 ] 5 ] 6 ] 7 ] 8 ] 9 ] 10 ] 11 ] 12 ][13][14]



วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

คลิปเสียงดำเนิน ยาท้วม












  • ที่จริงเทปชุดนี้ยาวเป็นชั่วโมงครับ อัดจากตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อยตามที่เราเคลื่อนที่ไปทั่วอุตรดิตถ์เลยแต่ผมตัดมาแค่นี้ก่อนเพื่อที่จะเก็บรักษาไว้ในบล็อกของผมแห่งนี้

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

คลิปเสียงประกาศคำสั่งคณะ รสช.23/2/2534


พล.ต.จำลอง    ศรีเมือง  ถูกจับกุมในเหตุการณ์ เมื่อพฤษภาทมิฬ 2535



 จอมพล ผิน ชุณหวัณ บิดาของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ ที่ยึดอำนาจเมื่อปี 2490 และนำมาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม (ฉบับที่ 4 ) ที่สถาปนาอภิรัฐมนตรีขึ้นมา



พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ นายกรัฐมนตรี ที่ถูกยึดอำนาจ โดยคณะ รสช.


พล.อ.สุนทร  คงสมพงษ์ หัวหน้า คณะ รสช.ที่ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย




                                         

ชุดนี้ความยาว 21.16นาทีโดยประมาณ
ประกาศคำสั่ง รสช.เหตุผลในการยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ การแต่งตั้งบุคคล
ในขณะยึดอำนาจผมกำลังอยู่บนรถส่งของและกำลัง ซาวด์อะเบ้าท์ที่มีเครื่องอัดในตัว เทปม้วนที่อัดเป็นการแสดงสดของ สายัณห์ สัญญา พอเกิดเหตุการณ์ขึ้น ผมหาซื้อเทปเปล่าไม่ทันผมจึงใช้เทปสายัณห์ม้วนนี้อัดทับลงไป เหตุการณ์นี้มันทำให้ผมเสียของรักไปม้วนนึง
ผู้ที่จะดาวน์โหลดหรือก๊อปปี้ต้องขออนุญาตผมก่อนครับตามมารยาทสังคมที่ปัญญาชนเขาปฏิบัติกันอย่าเป็นประเภทเกลียดตัวกินไข่เกลียดปลาไหลกินน้ำแกงครับไม่ดีแน่
                                       
ชุดนี้เป็นคำสั่งฉบับที่ 4 เป็นต้นไป

คลิปเสียงนี้ผมได้บันทึกไว้ด้วยคลาสเส็ตเทป และได้แปลงไฟล์มาเป็น mp3 คุณภาพเสียงก็ตามเวลา แต่ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย 

กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง



วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

รายชื่อข้าหลวงอังกฤษที่ไปปกครองอินเดีย



Robert Clive ค.ศ. 1757-1760


รายชื่อข้าหลวงของอังกฤษที่เข้ามาปกครองอินเดียสมัยที่อังกฤษเข้าปกครองอินเดียมีดังนี้

ตำแหน่งข้าหลวงมี 6 คน ( The Governors of Bengal )

  1. โรเบิร์ต ไคลฟ์      ( Robert Clive 1757-1760 )
  2. โฮเวลล์                  ( Holwell 1760-1760 )
  3. แวนซิททาร์ต        ( Vansittart  1760-1765 )
  4. โรเบิร์ต ไคลฟ์       ( Robert Clive 1765-1767) ครั้งที่ 2
  5. เวอร์เรลสต์            ( Verelst 1769-1772 )
  6. คาร์เทียร์                (  Cartier  1769-1772 )
  7. วอร์เรน  เฮสติงส์    (  Warren Hastings  1772-1774 )
ข้าหลวงมีอำนาจหน้าที่

ประสานงานระหว่าบริษัทอินเดียตะวันออกกับรัฐบาลอังกฤษ ตลอดจนให้ความคุ้มครองคนอังกฤษในอินเดีย

ตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ ( The Governors General )
  1. วอร์เรน เฮสติงส์                   ( Warren hasting  1774-1785)
  2. แมคเฟอร์สัน                         ( Macpherson  1785-1786)
  3. ลอร์ด คอร์นวอลลิส             ( Lord Cornwallis 1786-1793)
  4. เซอร์ จอห์น ชอร์                  ( Sir John Shore 1793-1798)
  5. ลอร์ด  เวลเลสลีย์                 ( Lord Wellesly 1798-1805)
  6. ลอร์ด คอร์นวอลลิส             ( Lord Cornwallis 1805-1806)
  7. เซอร์ จอร์จ บาร์โลว์             ( Sir George  Barlow 1806-1807 )
  8. ลอร์ด มินโต                          ( Lord Minto 1807-1813 )
  9. มาร์ควิส  เฮสติงส์                  ( Marquis Hasting  1813-1823)
  10. จอห์น  อาดัม                         ( John Adam   1823-1823)
  11. ลอร์ด อามเฮิร์สต์                   ( Lord Amherst  1823-1828 )
  12. ลอร์ด วิเลี่ยม  เบนทิงค์          ( Lord William Bentinck  1828-1835 )   
  13. ชาร์ลส เมทคอลฟ์                 ( Charles Metcalfe  1835-1837)
  14. ลอร์ด อาร์คแลนด์                 ( Lord Arcland  1837-1842)
  15. ลอร์ด เอลเลนโบเราจ์            ( Lord Ellenborough  1842- 1844)
  16. ลอร์ด ฮาร์ดดิงส์                     ( Lord Harding 1844- 1847)
  17. ลอร์ด ดัลฮูซี                           ( Lord Dalhousie  1847- 1856)
  18. ลอร์ด แคนนิ่ง                          ( Lord Canning 1856 -1858)     

ข้าหลวงใหญ่มีอำนาจหน้าที่ สร้างอำนาจจักรวรรดิ์นิยมในอินเดีย เสนอร่างกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆไปยังรัฐบาลอังกฤษเพื่อให้กษัตริย์อังกฤษลงพระนามประกาศใช้

ตำแหน่งอุปราช ( Viceroys )
  1. ลอร์ด แคนนิ่ง                                              ( Lord Canning  1858-1862)
  2. ลอร์ด เอลจิน                                              ( Lord Elgin  1862 -1863)
  3. โรเบิร์ต นาเปียร์ และวิลเลี่ยม เดนิสัน          (  Robert Napier and William Demison 1863-1864 )
  4. ลอร์ด ลอร์เรนซ์                                           ( Lord Lawrence  1864-1869 )
  5. ลอร์ด เมโย                                                  ( Lord Mayo       1869-1872 )
  6. ลอร์ด นอร์ธบรูค                                           ( Lord Northbrook  1872- 1876 )
  7. ลอร์ด ลิตตัน                                                 ( Lord  Lytton  1876-1880)
  8. ลอร์ด ริปปอน                                                ( Lord Ripon  1880-1884  )
  9. ลอร์ด ดัฟเฟอรีน                                            ( Lord Dufferine  1884-1888 )
  10. ลอร์ด แลนส์โดวน์                                          ( Lord Landsdowne  1888-1894)
  11. ลอร์ด เอลจิน                                                  ( Lord Elgin    1894-1899 )
  12. ลอร์ด คูร์ซอน                                                 ( Lord Curzon  1899-1905 )
  13. ลอร์ด มินโต                                                    ( Lord minto 1905-1910 )
  14. ลอร์ด ฮาร์ดดิงส์                                              ( Lord  Harding  1910-1916)
  15. ลอร์ด เชล์มสพอร์ต                                         ( Lord  Chelmsford 1916-1921 )
  16. ลอร์ด รีดดิง                                                     ( Lord Reading  1921-1926 )
  17. ลอร์ด เออร์วิน                                                 ( Lord Irwin 1926-1931)
  18. ลอร์ด วิลลิงดอน                                             ( Lord Willingdon  1931-1936)
  19. ลอร์ด ลินลิธโกว์                                              ( Lord  Linlithgow 1936-1944 )
  20. ลอร์ด วาเวลล์                                                   ( Lord Wavell   1944-1947 )
  21. ลอร์ด เมาท์แบทเทน                                        ( Lord Mounbatten  1947  มอบเอกราชคืนกลับสู่อินเดีย ) 


ตำแหน่งอุปราชมีหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนกษัตริย์อังกฤษ โดยมีอำนาจเสมือนดั่งเป็นกษัตริย์ของอังกฤษ
Lord Mounbatten 










กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง


อ่านเพิ่มเติมที่ >>>[ 1 ] [ 2 ]

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

อาณาจักรฮิบรูว์ (เมโสโปเตเมีย 2 )



Our Lady of the Miracle - An Apparition Beloved by Hebrew Catholics


อาณาจักรฮิบรูว์ ( The Hebrew Kingdom )


  • ฮิบรูว์ หรือ ยิวเป็นเผ่า เซมิติก ที่อาศัยอยู่ทางตอนล่างของลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส และตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนคานาน ( ปาเลสไตน์ )
  • ตลอดเวลาชาวฮิบรูว์ ต้องเผชิญจากภัยคุกคามจากพวก ฟิลิสไตน์ ( Philistine) และตกอยู่ภายใต้อำนาจของชนกลุ่มนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยของ ซามูเอล และ ซอล ประมาณ 1,025 ปี ก่อนคริสตกาล
  • และชาวฮิบรูว์ ได้ล้มล้างการปกครองของพวก ฟิลิสไตน์ลงได้ในที่สุด ในสมัยของ กษัตริย์ เดวิด ( David ) ประมาณปี 1013 -973 ก่อนคริสตศักราช
 และได้มีการสถาปนาอาณาจักร ฮิบรูว์ ขึ้น

  • มีเมืองหลวงอยู่ที่ เยรูซาเล็ม และเป็นศูนย์กลางทางศาสนา สังคม การเมือง และฮิบรูว์ มาเจริญสูงสุดในสมัย พระเจ้า โซโลมอน โดยพระองค์ปกครอง โดยให้ความยุติธรรมและเท่าเทียม มีเศรษฐกิจก้าวหน้ามีการขยายเขตการค้าเข้าไปยังอียิปต์ และฟินิเชีย
  • ต่อมาเมื่อพระเจ้าโซโลมอนสิ้นพระชนม์ ได้เกิดกบฎขึ้นในราชอาณาจักร ทำให้ ฮิบรูว์ แตกออกเป็น 2 ส่วนได้แก่
  1. อิสราเอล อยู่ทางตอนเหนือ มีเมืองหลวงชื่อ  ซามาเรีย
  2. จูดาห์  อยู่ทางตอนใต้ มีเมืองหลวงชื่อ เยรูซาเล็ม


เงินของชาวฮิบรูว์

ทั้งสองอาณาจักรสามารถดำรงอยู่ได้นานถึง 200 ปี หลังจากนั้นทั้งสองอาณาจักรถูกรุกราน ก่อนศตวรรษที่ 6 อิสราเอล ต้องตกเป็นของ แอสซีเรีย

  • และต่อมาพระเจ้าเนบูดัดเนซซาร์ แห่ง แคลเดีย ได้ส่งกองกำลัง เข้าทำลายเยรูซาเล็มลงได้อีก และได้กวาดต้อนไพร่พล ชาวยิว ไปไว้ที่ บาบิโลน เป็นเหตุการณ์คุมขังที่ลือชื่อในประวัติศาสตร์ ที่เรียกว่า การคุมขังที่บาบิโลเนีย ( Babylonian Captivity )
  • ต่อมาเป็นยุคที่เปอร์เซีย ( อิหร่าน ) มีอำนาจ พระเจ้าไซรัส แห่งเปอร์เซีย ได้ปลดปล่อยชาวฮิบรูว์ ให้เป็นอิสระ 
  • บางส่วนได้กลับคืนสู่ปาเลสไตน์ แต่มีสถานะเป็นเมืองขึ้นของเปอร์เซียแทน

ในยุคกรีกมีอำนาจ
 ฮิบรูว์ ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของกรีกแทนจากเปอร์เซีย
  • ยุคที่โรมันรุ่งเรือง ฮิบรูว์ก็ต้องไปอยู่ภายใต้ปกครองของโรมันต่อไปอีก
  • นับว่าเป็นความตกต่ำของชาวฮิบรูว์จนถึงขีดสุด ชาวฮิบรูว์ อยู่ในสภาพคนไร้รัฐต้องเร่ร่อนหนีไปอาศัยตามเมืองต่างๆ ทั้งฝั่งยุโรป และเอเชียตะวันตก จนกลายเป็นชาวยิวที่ไร้รัฐ 
  • บางส่วนหนีเข้าไปอยู่ในอียิปต์ ในราว 1600 B.C. ได้ไปตั้งถิ่นฐานในแถบ เดลตา แต่ถูกฟาโรห์จับไปเป็นทาสในราว ค.ศ. 1300-1250 








  • ครั้นพอสิ้นโยเซฟไป ฟาโรห์องค์ต่อมาได้เกิดความไม่ไว้ใจต่อ ชาวฮีบรูว์  ด้วยเกรงว่าพวกเขาจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ จึงได้แยกฮีบรูว์ให้ไปอยู่อีกอาณาเขตหนึ่งห่างจากพวกตน และลดฐานะให้เป็นทาส แล้วเกณฑ์แรงงานไปใช้ในการก่อสร้างพีระมิด อีกทั้งปริมาณประชากรของชาวฮีบรูว์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ฟาโรห์ต้องมีคำสั่งให้ประหารชีวิตเด็กฮิบรูว์ที่เกิดใหม่เป็นจำนวนมาก

  • อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่ามีทารกเพศชายคนหนึ่งรอดตายจากคำสั่งประหารนั้นมาได้ เพราะมารดาได้นำเด็กใส่ตระกร้าลอยน้ำ เจ้าหญิงอียิปต์องค์หนึ่งทรงพบเข้า และนำเขาไปอุปการะ ประทานชื่อว่า โมเสส  (Moses) พระนางตรัสว่า เพราะเราได้ฉุดเขาขึ้นมาจากน้ำ

ภาพยนต์เอนิเมชั่นที่บอกเล่าเรื่องราวของชาวฮิบรูว์โดยอิงประวัติศาสตร์


  • โมเสส เติบโตขึ้น เป็นผู้มีสติปัญญาดี และได้รับการศึกษาสูงเยี่ยงเจ้าชายองค์หนึ่ง เขามีจิตเมตตา และสงสารทาสชาวฮีบรูว์ที่ถูกเกณฑ์แรงงานมาสร้างพีระมิดให้ฟาโรห์
  •  และถูกผู้คุมทำทารุณกรรมต่างๆ จนพลั้งเผลอสังหารผู้คุมคนหนึ่ง เพื่อต้องการช่วยเหลือทาสที่กำลังถูกทารุณ  จากนั้นเขาได้ละทิ้งตำแหน่งและฐานันดรของตัวเอง มาอยู่กับพวกทาสชาวฮีบรูว์  และพวกอิสราเอล
  •  พวกฮิบบรูว์มีผู้นำคนใหม่คือ โมเสส ได้ทำการปลดปล่อยพวกฮิบบรูว์เป็นอิสระและพาไปอยู่ที่คาบสมุทร ซีนาย โมเสสได้รวบรวมพวกฮิบบรูว์เผ่าต่างๆเข้าด้วยกัน 
  • เป็นการรวมแบบสมาพันธรัฐ และแนะนำให้พวกฮิบบรูว์นับถือยาห์เวห์ หตือยะโฮวาห์ การที่รวมกันได้ครั้งนี้เองทำให้พวกฮิบบรูว์พยายามจะยึดดินแดนปาเลสไตน์ให้หมด ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นอาณาจักรของพวกเจริญที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนช้านานแล้ว เรียกว่าพวก เคนันไนท์ (Canannite)
  • โมเสส พา ฮีบรูว์ถึงสามแสนคนออกจากอียิปต์กลับไปสู่ประเทศปาเลสไตน์ ดินแดนแห่งนี้พวกฮิบรูว์ถือว่าเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาของพระเจ้า ที่ทรงประทานให้แก่พวกเขา และระหว่างทางที่โมเสส นำชาวอิสราเอลกลับไปยังดินแดนแห่งพันธสัญญาที่ ยาโคบเคยอยู่ โมเสสได้พบพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย และรับพระบัญญัติสิบประการ The Ten commanment ที่นั้น
ด้านศาสนา 
ชาวฮิบรูว์เคารพบูชาในพระเจ้าองค์เดียว คือพระยะโฮวาห์ ( Monotheism) พระองค์ส่งผู้นำศาสนาให้แก่ชาวยิวในรูปของศาสดาพยากรณ์ ( Prophets ) ทำการสั่งสอนและชักชวนชาวฮิบรูว์ให้นับถือและเคารพในพระบิดาซึ่งเป็นพระเจ้าที่แท้จริงเพียงองค์เดียว







แผนที่แบ่งแนวเขตระหว่างฮิบรูว์ทั้งสองออกจากกันเป็นเหนือใต้คือ อิสราเอล และจูดาห์ ซึ่งเป็นยิว หรือฮิบรูว์ด้วยกัน


 The Hebrew Kingdom


กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง  (ศศ.บ ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ติดตามอ่านดินแดนเมโสโปเตเมีย 1ได้ที่ >>> เมโสโปเตเมีย 1 อ้างอิง >>>  [1 ] ] 2 ] [3 ] [ 4 ] [ 5 ] [ 6 ][ 7 ] [ 8 ] [ 9 ] [ 10 ]