กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเภทของกราฟฟิค


ภาพแบบเวคเตอร์


ภาพกราฟฟิคในคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

    1. แบบเวคเตอร์ ( Vector ) เป็นแบบเส้นตรง เส้นโค้ง และรูปทรงเรขาคณิต ถูกเก็บอยู่ในรูปของคำสั่งโปรแกรมและค่าตัวเลขที่มีการคำนวณเมื่อแสดงผล ดังนั้นภาพประเภทนี้จึงมีความคมชัด ไม่ว่าจะขยายให้ใหญ่ขึ้นเท่าใด ก็ยังคงคงสภาพเช่นเดิมโดยไม่มีรอยแตกหัก หยัก หรือ เบลอ ของภาพ แต่อย่างใด ชุดโปรแกรมที่จะใช้จัดการภาพประเภทนี้คือ Adobe Illustrator    หรือ AI  และ โปรแกรม CorelDraw เป็นหลัก
    2. แบบบิทแมพ ( Bitmap ) เป็นภาพที่ประกอบขึ้นจากจุดสีขนาดเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล ( Pixel )  เรียงไล่เฉดสีกันจนเราสามารถมองเห็นเป็นภาพขึ้น ภาพปรพเภทนี้จะดูหยาบและเห็นรอยจุดสีอย่างชัดเจน โปรแกรมที่ใช้จัดการภาพประเภทนี้คือ  Adobe Photoshop หรือ PS และโปรแกรม PhotoPaint เป็นตัวหลัก



ภาพแบบเวคเตอร์ ที่สร้างจากโปรแกรม Illustrator เราสามารถนำไปขยายได้สูงสุดเท่าที่เราต้องการโดยที่ภาพไม่แตกหัก และ เบลอ


ทั้ง 3 ภาพล่างนี้เป็นภาพแบบบิทแมพ เมื่อเราขยายใหญ่จะสังเกตุเห็นภาพแตก มีรอยหยักที่ขอบภาพ และเลบอเสียสัดส่วน ไม่คมชัด



ภาพแบบบิทแมพ

ภาพแบบบิทแมพจะมีอยู่หลายชนิดไฟล์ที่เรารู้จักกันดีคือ
  1. JPG ( Joint Photographic Expert Group )  หรือ JPEG ภาพนี้สามารถแสดงสีได้สูงถึง 16.7 ล้านสี หรือ 24 บิท จึงเหมาะสำหรับภาพถ่ายและภาพที่ใช้สีมาก คุณสมบัติคือเมื่อแรกแสดงภาพจะเบลอก่อนแล้วค่อยๆชัดเจนขึ้น เรียกว่า Progressive ภาพชนิทนี้ไม่สามารถ ทำให้โปร่งใสหรือเคลื่อนไหวได้ และสามารถบีบอัดให้ไฟล์มีขนาดเล็กลงได้แต่คุณภาพก็จะต่ำลงตามด้วย ไฟล์ชนิดนี้อยู่ในนามสกุล .JPG. .Jpeg. .jfif.  หรือ .jpe.
  2. GIF  ( Graphic interchange Format ) ไฟล์ภาพชนิดนี้นิยมนำไปสร้างเป็นภาพ โลโก้ การ์ตูน ภาพวาดลายเส้น ตัวอักษร และภาพเคลื่อนไหว จุดเด่นของไฟล์ชนิดนี้คือเราสามารถกำหนดพื้นหลังให้เป็นแบบโปร่งใสได้จนมองทะลุด้านหลังได้ แต่มีข้อจำกัดตรงที่จำนวนเม็ดสีซึ่งสามารถใช้สีได้สูงสุดเพียง 256 เฉดสีเท่านั้นซึ่งเป็นข้อจำกัด และสีเหล่านี้ก็จะมีลักษณะเป็นสีทึบไม่ไล่ระดับ ไฟล์ GIF จะเป็นไฟล์ขนาดเล็กจึงนิยมนำไปใช้ในการตกแต่งเว็บไซต์ ทำป้ายโฆษณา ทำหัวคอลัมน์ ทำแบนเนอร์โฆษณา ในเว็บไซต์ต่างๆเนื่องจากไม่เปลืองพื้นที่และลดเวลาการดาวน์โหลดลงได้มาก
  3. PNG (  Portable Network Graphic ) เป็นไฟล์ภาพที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแทนไฟล์ Gif เพื่อแก้ปัญหาเรื่องสิทธิบัตร ไฟล์ชนิดนี้มีคุณสมบัติเด่นคือ สนับสนุนระบบสีหลายรูปแบบ มีคุณสมบัติคล้ายกับ GIF  จึงนิยมนำไปใช้แทน GIF  ที่ติดปัญหาสิทธิบัตร โดย PNG-8 จะใช้สีได้ 256 สีเท่า Gif ส่วน PNG -24 ใช้สีได้สูงถึง 16.7 ล้านพิกเซล โดยโปรแกรมที่สามารถสร้างไฟล์รูปแบบนี้ได้ คือ PS ตั้งแต่ รุ่น CS3 เป็นต้นไป และ โปรแกรม FW  หรือ FIREWORK และ Macromedia
  4. TIFF ( Tagged Image File Format )  ไฟล์ภาพชนิดนี้นิยมใช้งานทางด้านสิ่งพิมพ์ เช่นโปรแกรมจัดหน้า หรือ PageMaker และ  InDesign ไฟล์ชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยความร่วมมือของ Aldus Corporation กับ บริษัท Microsoft สามารถใช้ได้ทั้งเครื่อง พีซี และแมค สามารถบีบอัดข้อมูลเป็นแบบ ซิบ Zip ได้โดยข้อมูลไม่เสียหาย แต่ไฟล์มีขนาดใหญ่
  5. RAW File ไฟล์ Raw  จะเป็นไฟล์ข้อมูลดิบทั้งหมดที่ถูกบันทึกหรือมาจากกล้องดิจิตอล ซึ่งจะมีความละเอียดของสีมากกว่าไฟล์ภาพที่มาจากไฟล์ JPG  แต่ขนาดของไฟล์ชนิดนี้จะใหญ่มาก โดยกล้องดิจิตอลแต่ละค่ายจะมีการบันทึกไฟล์ RAW ที่ต่างกันออกไป จึงไม่สามารถเปิดดูไฟล์ภาพโดยผ่านคอมพิวเตอร์ธรรมดาทั่วไปได้ ต้องใช้โปรแกรมดูภาพโดยเฉพาะ เช่น ACDSee เวอร์ชั่น 8 ขึ้นไป หรือดูและปรับแต่งผ่าน PS ได้









ไฟล์ GIF รูปแบบต่างๆ ตามที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมา โดยไม่มีขอบจำกัดทางความคิด ยกเว้นข้อจำกัดเรื่องเฉดสี


  • กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง กราฟฟิคดีไซน์ มัลติมิเดีย มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เหตุผลที่คนไทยต้องขอบคุณคณะราษฎร




มีคำพูดโฆษณาชวนเชื่ออยู่ตลอดมาว่าคณะราษฎรชิงสุกก่อนห่ามในเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475
แต่สำหรับผมต้องขอขอบคุณผู้ทำการเปลี่ยนแปลง ภายใต้ชื่อคณะราษฎรทุกท่าน เพราะถ้าไม่มีพวกท่าน ธรรมนูญการปกครองที่อยู่ด้านล่างนี้ อาจจะถูกนำมาประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญของไทย ซึ่ง ณ.เวลานี้ไม่ทราบว่าคนไทยจะมีสถานะความเป็นอยู่มีสิทธิเสรีภาพทางการเมือง แค่ไหนอย่างไร เชิญอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ และหาใจความสำคัญ


มาตรา1  อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์


มาตรา2  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีนายหนึ่งซึ่งรับผิดชอบต่อพระองค์ใน การบริหารราชการแผ่นดินทั้งปวง และให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งตามพระราชอัธยาศัย


มาตรา3  ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีทั้งหลาย ซึ่งเป็นเจ้ากระทรวงต่าง ๆ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ในกิจการทั้งปวงของแต่ละ กระทรวง และจะต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติภารกิจตามนโยบายทั่วไปของรัฐบาล ดังที่มีพระบรมราชโองการ และรับผิดชอบในการประสานงานระหว่างกระทรวงต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุนโยบายดังกล่าว


มาตรา4 ให้รัฐมนตรีแต่ละนายรับผิดชอบโดยตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำหรับงานในกระทรวงของตน และให้ร่วมปฏิบัติภาคกิจตามนโยบายทั่วไปของรัฐบาลตามคำบัญชาของนายกรัฐมนตรี


มาตรา5  ให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยรัฐมนตรีทุกนาย คณะรัฐมนตรีอาจอภิปรายปัญหาสำคัญอันเป็นประโยชน์ได้เสียร่วมกันได้แต่ให้ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการลงมติทั้งปวง


มาตรา6  ให้นายกรัฐมนตรีกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อขอรับพระบรมราชวินิจฉัย ในปัญหาทั้งปวงอันเกี่ยวด้วยนโยบายทั่วไป และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตาม นายกรัฐมนตรีต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ


มาตรา7 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมนตรี 5 นาย ประกอบกันเป็น อภิรัฐมนตรีสภา ให้นายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกอภิรัฐมนตรีสภาโดยตำแหน่ง แต่ห้ามรัฐมนตรีนายอื่นดำรงตำแหน่งสมาชิกด้วย อภิรัฐมนตรีไม่มีอำนาจทางบริหาร ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ตาม อำนาจหน้าที่ของอภิรัฐมนตรีสภามีเพียงถวายความคิดเห็นแด่พระมหากษัตริย์ ในปัญหาเกี่ยวด้วยนโยบายทั่วไป หรือปัญหาอื่นใดอันมิใช่รายละเอียดเกี่ยวกับงานบริหารราชการแผ่นดินของ รัฐบาลเท่านั้น อภิรัฐมนตรีสภาไม่มีอำนาจเสนอแนะให้แต่งตั้งใครดำรงตำแหน่งใดตลอดจนเสนอแนะ รายละเอียดเกี่ยวกับการปกครอง อย่างไรก็ตาม อภิรัฐมนตรีสภามีอำนาจเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี


มาตรา8  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอนสมาชิกองคมนตรีสภาตามพระราชอัธยาศัย


มาตรา9   ภายในระยะเวลา 3 วันนับแต่วันเสวยราชสมบัติ พระมหากษัตริย์จะทรงเลือกบุคคลหนึ่ง เป็นทายาทด้วยคำแนะนำและยินยอมขององค์มนตรีสภา บุคคลผู้จะเป็นรัชทายาทได้นั้น จะต้องเป็นโอรสของพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินี หรือเป็นบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในราชตระกูล แต่ทั้งนี้ไม่จำต้องอยู่ในลำดับฐานะมีพระอิสริยยศสูง หรือมีอาวุโสสูง การกำหนดบุคคลใดให้เป็นรัชทายาทย่อมไม่อาจเพิกถอนได้ แต่อาจถูกทบทวนใหม่ได้ในเวลาสิ้นสุดของทุกกำหนด 5 ปี โดยพระมหากษัตริย์ด้วยคำแนะนำและยินยอมขององคมนตรีสภา หากพระมหากษัตริย์สวรรคตก่อนมีการเลือกรัชทายาท ให้องคมนตรีสภาเลือกบุคคลหนึ่งขึ้นเป็นรัชทายาททันทีหลังจากที่พระมหา กษัตริย์สวรรคต ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตาม สามในสี่ของสมาชิกองคมนตรีสภา ซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร ย่อมประกอบกันเป็นองค์ประชุมกำหนดตัวรัชทายาท


มาตรา10    ภายใต้บังคับแห่งพระราชอำนาจสูงสุด ศาลฎีกาและศาลอื่นใดทั้งหลายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตั้งขึ้นเป็นคราว ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ


มาตรา11  อำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของพระมหากษัตริย์


มาตรา12  การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญนี้กระทำได้โดยพระมหากษัตริย์ประกอบด้วยคำแนะ นำและยินยอมจากสามในสี่ของสมาชิกองคมนตรีสภา



วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของคำและพยางค์








ระบบคำ

ระบบคำหรือระบบหน่วยคำเป็นองค์ประกอบหนึ่งของภาษา




  • หน่วยคำ ( Morpheme ) หมายถึงหน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย 
  • หน่วยคำเป็นที่เกิดจากการเรียงลำดับของหน่วยเสียงทำให้เป็นหน่วยที่มีความหมายขึ้นมา หน่วยคำจึงใหญ่กว่าหน่วยเสียง



  • หน่วยคำหนึ่งๆจะต้องมีความหมายคงเดิมเสมอไม่ว่าจะไปปรากฎอยู่ ณ ที่ใด 
  • หน่วยคำ 2 หน่วยคำมีรูปและเสียงเหมือนกันก็ไม่ถือว่าเป็นหน่วยคำเดียวกันจึงเห็นได้ว่าการที่จะตัดสินคำใดว่าเป็นหน่วยคำเดียวกันหรือไม่ให้ดูตามความหมายเป็นเกณฑ์สำคัญ เช่น 

  • คำที่มีรูป เสียง และความหมายเหมือนกันย่อมเป็นหน่วยคำเดียวกัน

ตัวอย่าง



  • คุณกินอะไร 
  • กินข้าวหรือยัง 
  • อย่าห่วงแต่กิน
คำว่า กิน  ที่ปรากฎในประโยคนั้นเป็นคำเดียวกัน เพราะมีรูปเสียงและความหมายเดียวกัน



  • คำที่มีรูป เสียง เหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน ย่อมไม่ใช่หน่วยคำเดียวกัน 


ตัวอย่าง



  • คุณจะไปเวียนเทียนที่วัดไหน 
  • อย่า วัด ค่าของคนด้วยทรัพย์สมบัติ 
  • ช่างตัดเสื้อกำลังวัดตัวเธออยู่ 
  • ผลงานของผมพอจะวัดกับเขาได้หรือไม่

คำว่า วัด ที่อยู่ในแต่ละประโยคแม้จะมีรูปและเสียงเหมือนกัน แต่ก็เป็นคนละหน่วยคำ เพราะมีความหมายไม่เหมือนกัน



  • คำที่มีเสียงเหมือนกัน แต่ถ้ารูปและความหมายต่างกันก็เป็นคนละหน่วยคำ เช่น

ตัวอย่าง


  • เขาโจษกันถึงเรื่องของคุณเซ็งแซ่ 
  • ผมเป็นโจทก์ในคดีนี้ 
  • โจทย์ข้อนี้ยากเหลือเกิน 


คำว่า โจษ โจทก์ โจทย์ เป็นคนละหน่วยคำ แม้จะออกเสียงเหมือนกัน แต่ มีรูปและความหมายต่างกัน



  • คำที่มีรูป และเสียง ต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่มีความหมายเหมือนกัน ก็อาจ อนุโลมให้เป็นหน่วยคำเดียวกันได้ เช่น

ตัวอย่าง



  • เผลอ แผล็บเดียว เขาหนีไปเสียแล้ว 
  • ผมจะไปแพล็บเดียวเท่านั้น 


คำว่า แผล็บ ที่ใช้ ผ.ผึ้ง และ คำว่า แพล็บ ที่ใช้ พ.พาน ในประโยคอนุโลมได้ว่าเป็นหน่วยคำเดียวกัน เพราะมีความหมายเหมือนกัน แม้รูปเสียงจะต่างกันเล็กน้อยก็ตาม


  • นอกจากนี้ยังมีบางกรณี ซึ่งหน่วยคำที่มีรูป และเสียงต่างกัน แต่ถือว่าเป็นหน่วยคำเดียวกัน เช่น

คลุมเครือ  กับ คลุมเคลือ ที่มีตัวกล้ำเป็น ร.เรือ และ ล.ลิง ถือเป็นหน่วยคำเดียวกัน
ลอมชอม กับ  รอมชอม       " --------------------------"    ถือเป็นหน่วยคำเดียวกัน
อย่างนี้     กับ  อย่างงี้           "                                              "-----------------------" 
ข้าพระเจ้า กับ ข้าพเจ้า         "                                              "-----------------------"


หน่วยคำกับพยางค์มีหลักเกณฑ์แยกอย่างไร

หน่วยคำหนึ่งอาจมีพยางค์เดียว หรือ หลายพยางค์ก็ได้ ( หน่วยคำ กับคำ เป็นคนละเรื่อง  ) เช่น



  • ไป : มี ๑ พยางค์ ๑ หน่วยคำ เป็น ๑ คำ 
  • มะนาว : มี ๒ พยางค์ ๑ หน่วยคำ เป็น ๑ คำ 
  • มะละกอ : มี ๓ พยางค์ ๑ หน่วยคำ เป็น ๑ คำ 


แต่มีบางคำ เกิดจากการรวมหน่วยคำ ก็จะเป็น คำที่มีหลายหน่วยคำ ไม่ใช่หน่วยคำเดียว อาทิ



  • โรงเรียน : มี ๑ คำ มี ๒ หน่วยคำ ๒ พยางค์ 
  • ละเอียดลออ : มี ๑ คำ มี ๒ หน่วยคำ ๔ พยางค์ 
  • พระเจ้าอยู่หัว : มี ๑ คำ มี ๔ หน่วยคำ ๔ พยางค์ 



ประเภทของหน่วยคำ

หน่วยคำมีอยู่ ๒ ประเภท ใหญ่ๆ คือ

๑.  หน่วยคำอิสระ ( Free morpheme ) หมายถึง หน่วยคำที่ปรากฎอยู่ตามลำพัง โดย ไม่ผูกพันกับหน่วยคำอื่น หน่วยคำชนิดนี้จะมีกี่พยางค์ก็ได้  อาทิ กิน เดิน นั่ง สะอาด นครสวรรค์ ร้องเพลง ฯลฯ


  • ข้อสังเกตุ คำที่ใช้เรียกชื่อ สัตว์ ผลไม้ ถือว่าเป็นหน่วยคำอิสระด้วย เช่น มะละกอ สับปะรด มะม่วง มะขามเทศ กระต่าย ฯลฯ 


๒ .หน่วยคำไม่อิสระ ( Bound morpheme ) หรือหน่วยประกอบคำผูกพัน หมายถึง หน่วยคำที่จะปรากฎอยู่อย่างอิสระตามลำพังไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น

นัก  การ กร ปฏิ อธิ น่า ผู้ ชาว ใน ฯลฯ จะเกิดหน่วยคำลำพังไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกับหน่วยคำอื่น เช่น
การเดิน การฟัง การบ้าน ความรู้ ชาวนา นักการเมือง ในบ้าน ผู้ร้าย ผู้ดี เป็นต้น

หน่วยคำไม่อิสระนี้ยังสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 3 ประเภท

  1. อุปสรรค ( Prefix ) กลุ่มนี้จะประกอบอยู่ข้างหน้าหน่วยคำอื่น เช่น การ ชาว โรง เป็นต้น
  2. อาคม     ( Infix )    กลุ่มนี้จะประกอบอยู่ตรงกลางหน่วยคำอื่น เช่น อำ ตัวอย่าง กราบ เป็น กำราบ
  3. ปัจจัย      ( Suffix)  กลุ่มนี้จะประกอบ อยู่หลังหน่วยคำอื่น เช่น แล้ว ก็จะเป็น ไปแล้ว ขึ้น เป็น ดีขึ้น เป็นต้น

  • ดังที่ผมได้อธิบายไว้แล้วในก่อนหน้า ว่า ภาษาไทยนั้น เดิมเป็นภาษาคำโดด คำไทยโบราณ จึงเป็นคำพยางค์เดียวโดดๆ ไม่เหมือนภาษาอังกฤษ ที่ใช้ รากศัพท์เดิม ( Root ) มาลงอุปสรรค หรือ Prefix และลง ปัจจัย หรือ Suffix เพื่อประกอบเป็นคำใหม่ออกมาดังที่ทราบกัน


กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาษาไทยในสมัยจอมพล ป.


จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย

ในสมัยที่จอม พล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุง แบบแผน วัฒนธรรมทางสังคม หลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือ ให้มีการเปลี่ยนแปลงอักษรไทยด้วย

โดยให้มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
  1. ให้ตัดพยัญชนะและสระดังต่อไปนี้ออกไปคือ  หมวดอักษรให้ตัด  ฃ ฅ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ ฬ หมวดสระ ให้ตัด  สระ ใ ฤ ฤา ฦ ฦา
  2. ให้ตัดเชิง ทิ้ง (ที่เป็นไม้หันอากาศห้อยอยู่ด้านล่าง )
  3. ให้เปลี่ยนคำที่ใช้ ทร  ให้มาใช้ แทน ทร เช่น ทรง ให้ใช้ ซง ทราบให้เป็น ซาบ ทรวง ให้ใช้ ซวง เป็นต้น
  4. ให้ใช้แทนในคำไทย ทุกคำ เช่น หญิง ให้เปลี่ยน เป็น หยิง แทน เป็นต้น
  5. ให้ใช้แทน ตัว และ เช่น ดาษดา ให้ใช้เป็น ดาสดา  ศาสดา ให้เปลี่ยน เป็น สาสดา แทน
  6. ให้เลิกใช้ ตัวนำหน้า เช่น อยู่ ให้เปลี่ยน เป็น หยู่ อย่า เป็น หย่า อยาก เปลี่ยนเป็น หยาก
  7. ให้เลิกใช้ ร หัน (รร ) ให้เปลี่ยนมาใช้ อัน แทน เช่น บรร เปลี่ยนเป็น บัน
  8. ให้ใช้เลขฮินดู-อารบิค เพียงอย่างเดียว
  9. ไม่ใช้ไม้ไต่คู้ จากคำที่มาจากภาษา บาลี - สันสกฤต  เช่น เบ็ญจ ให้เขียน เป็น เบญจ เป็นต้น
  10. ณ (นะ ) ให้เขียนเป็น นะแทน เช่น ณ จุดหนึ่ง เปลี่ยนเป็น นะจุดหนึ่ง ณ สารขันธ์ เป็น นะสารขันธ์ เป็นต้น
ทั้งนี้วิธีการเขียนภาษาไทยตามแบบของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ใช้อยู่ เป็นเวลา 3 ปี และได้ล้มเลิก เมื่อ ปี พ.ศ.2488 แต่ยังคงเหลือหลักเกณฑ์ บางประการที่ยังใช้สืบมาจนทุกวันนี้ คือ ห้ามใช้ไม้ไต่คู้ในภาษา บาลี- สันสกฤต ซึ่งยังคงยึดแบบที่จอมพล ป. วางแบบแผนเอาไว้ เช่นเดิม รวมถึงคำที่มาจาก ภาษา บาลี สัน สกฤต ที่มีตัว สะกด และตัวตาม ซ้ำกัน ก็ให้ตัด ตัวหน้าทิ้ง เช่น สัจจะ เป็น สัจ จิตต เป็น จิต ซึ่งยังคงยึดแบบไว้ตามแบบจอมพล ป. พิบูล สงคราม 

กังวาล ทองเนตร
ค้นคว้าเรียบเรียง


อย่าลืมเมืองไทย เพลิน  พรมแดน

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2517



คลิกที่ภาพเพื่อขยายภาพและหมุนลูกกลิ้งเพื่ออ่านหน้าต่อไป หรือคลิกที่กากบาทเพื่อกลับสู่สถานะเดิม
 กังวาล  ทองเนตร