กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สึนามิคืออะไร




สึนามิคืออะไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร


  • สึนามึ มาจากภาษาญี่ปุ่น มาจากคำว่า TSU หมายถึง อ่าว หรือท่าเรือ ส่วนคำว่า NAMI หมายถึง คลื่น

 ( สึนามิ ) เป็นคลื่นทะเลที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน เป็นอย่างมาก

สาเหตุของการเกิดสึนามิ


  • การเกิดสึนามิ มีสาเหตุมาจาก การเคลื่อนตัวของพื้นผิวโลกใต้ทะเลในแนวดิ่ง จมตัวลงในแนวรอยเลื่อน สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว 
  • คลื่นน้ำที่เกิดจะมีขนาดเล็กไม่สามารถตรวจวัดได้ ( ขณะอยู่ในทะเลเปิด ) แต่เมื่อคลื่นเดินทางเข้าใกล้ชายฝั่งตื้นๆ ความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้นทวีคูณตามสภาพภูมิศาสตร์จนเกิดผลกระทบอย่างร้ายแรง 
  • โดยเฉพาะอ่าวที่มีรูปตัว วี ( V ) และเปิดไปสู่มหาสมุทร


  • นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดสึนามิได้อีก เช่น การระเบิดของภูเขาไฟที่อยู่ใกล้ทะเลอย่างรุนแรง หรือการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเล อุกาบาทพุ่งชนโลก แผ่นดินเลื่อนถล่มก้อนหินขนาดใหญ่ตกไปในอ่าวหรือมหาสมุทร หรือการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ เป็นต้น


คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นทะเลทั่วไปอย่างไร


  • คลื่นสึนามิจะต่างจากคลื่นทะเลทั่วไปคือ จะมีคาบเวลาการเดินทางจากยอดคลื่นหนึ่ง ถึงอีกยอดคลื่นหนึ่งที่เดินทางมาก่อนหน้านี้ประมาณ  10 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ซึ่งใช้เวลานานกว่าคลื่นทะเลที่เกิดทั่วไป
  • และคลื่นสึนามิมีความยาวคลื่น มากกว่า 500 กิโลเมตรขึ้นไป ส่วนคลื่นทะเลทั่วไปจะมีความยาวคลื่นเพียง 100 - 300 เมตรเท่านั้น




คลื่นสึนามิเมื่ออยู่ในทะเลจะมีความเร็วคลื่นสูงมาก


  • มีความเร็วเท่ากับอัตราเร่ง ของแรงโน้มถ่วงโลกมีค่า 9.8 เมตร/วินาที คูณด้วยความลึก ของพื้นทะเล
  • เช่น ถ้าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ระดับความลึกของทะเล 6,100 เมตร สึนามิจะเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 890 กม./ชม. หรือสามารถเดินทางข้ามฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกด้วยเวลาเพียง น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และจะมีความเร็วช้าลงเมื่อเข้าใกล้ฝั่งแต่พลังงานยังคงที่ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับระดับความลึกของทะเล  และ ถูกถ่ายเทพลังงานไปดันตัวทำให้คลื่นสูงขึ้นโดยเฉพาะชายฝั่งที่เป็นแนวอ่าวที่แคบ คลื่นสึนามิจะทำความเสียหายได้เป็นอย่างมาก อาจมีความสูงคลื่นถึง 30 เมตร



ข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่ กรมอุตุนิยมวิทยา
กังวาล  ทองเนตร




กราฟฟิกการเกิดสึนามิ










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น