กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สงครามครูเสด ( The Crusade War ) ค.ศ. 1096 - 1270


สงครามครูเสด ( The Crusade War ) ค.ศ. 1096 - 1270


  •     สงครามครูเสดเป็นสงครามทางศาสนา ระหว่าง คริสเตียน กับ มุสลิม เพื่อแย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา คือ เยรูซาเล็ม Jerusalem  และปาเลสไตน์ Palestine
  • ตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดสงครามครูเสดคือ จักรพรรดิ อเล็กซิอัส คอมมินัส Alexius Commenus จักรพรรดิแห่งอาณาจักร ไบแซนไทน์ ที่เขียนสาส์น ส่งไปยังสันตะปาปาเออร์บันที่2  แจ้งว่าบัดนี้อาณาจักรไบแซนไทน์และศาสนาคริสต์ในตะวันตกถูกรุกรานจากพวก  เซลจุก เตอร์ก ( ตุรกี ) Seljuk Turks ที่นับถือศาสนาอิสลาม ขอให้ส่งทหารมาช่วยปราบปราม
  • สันตะปาปาเออร์บันที่ 2 มีความประสงค์จะรวมศาสนาคริสต์ ฝั่งตะวันตก และตะวันออกเข้าด้วยกันอยู่แล้ว โดยให้ขึ้นตรงต่อสันตะปาปาที่โรม โป๊ป จึงได้เรียกประชุมผู้แทนทางศาสนาจากประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมัน ให้มาประชุมที่เมือง แคลมองต์เพื่อร่วมตกลงทำสงครามทางศาสนา
  • โดยผู้จะไปรบจะมีเครื่องหมายกางเขนติดไว้ที่ไหล่ เพื่อแสดงว่าเป็นทหารของ พระไครส์ จึงเกิดคำว่า ครูเสด ( Crusade)    มาจากคำว่า Croix ในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ไม้กางเขน Cross  ดังนั้นพวกคริสเตียนที่ไปทำสงครามจึงถูกเรียกว่า พวกครูเสด
  • ในยุคนั้น เป็นยุคที่ศาสนาคริสต์และสันตะปาปามีอำนาจและทรงอิทธิพลเป็นอย่างมากกับความเชื่อมั่น จากจักรพรรดิ กษัตริย์ ขุนนาง อัศวิน พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา สงครามครูเสดนับเป็นมหาสงครามอย่างแท้จริง เพราะรบกันต่อเนื่องหลายชั่วอายุคนถึง 200 ปี จาก ศตวรรษที่ 11 - 13 
  • สาเหตุของสงครามครูเสดแอบแฝงทั้ง การเมือง ศาสนา การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
โดยผลของสงครามครูเสดจะมีความหมายมากกว่า สาเหตุแห่งสงคราม คือต้องการผลจากสงครามครั้งนี้ มากกว่าไปสนใจว่ารบเพราะอะไรหรือเพราะอะไรถึงรบ

            กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น