กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

องค์การบริหารส่วนจังหวัด ( อบจ.) ตอนที่ 1


 จอมพล ป.พิบูลสงคราม
                                                                      
                   การกระจายอำนาจมีอยู่ 2 รูปแบบ


1.   แบบทั่วไป ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ( อบจ. ) องค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.) และเทศบาล

2.  แบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา

ความเป็นมา
  • ปี 2476มี พ.รบ.ว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476 กำหนดให้จังหวัดเป็นหน่วยงานบริหารส่วนภูมิภาค โดยอำนาจบริหารจังหวัด อยู่ ภายใต้ กรมการจังหวัด ผมย้ำกรมการจังหวัดครับ ไม่ได้พิมพ์ผิด (ไม่ใช่กรรมการ)
มีข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นประธาน
  • ปี 2481มีการตรา พ.ร.บ.สภาจังหวัด พ.ศ.2481ขึ้น มีวัตถุประสงค์ แยกสภาจังหวัดโดยเฉพาะ แต่ยังให้สภาจังหวัดทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษา ของกรมการจังหวัดเหมือนเดิม ( แยกไม่ขาด )
  • ปี 2485ได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชแผ่นดิน กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าฝ่ายปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในจังหวัดของกระทรวง ทบวง และกรม ต่างๆ ( ผู้ว่าราชการจังหวัดเพิ่งเกิดขึ้นตอนนี้ครับ ) เป็นข้อสอบบ่อย

อำนาจของ กรมการจังหวัดทั้งหมดจึงตกมาเป็นของผู้ว่า และ สภาที่ปรึกษา ก็ตกมาเป็นสภาที่ปรึกษาผู้ว่าแทนกรมการจังหวัดโดยอัตโนมัติ ( ต้องจำว่า สภาจังหวัด เกิดก่อนผู้ว่าครับ )


  • ปี 2498ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ผลักดันให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเกิดขึ้น โดยตรา พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498ขึ้น ทำให้ อบจ.มีฐานะเป็นนิติบุคคล (สภาพ นิติบุคคลเพิ่งเกิดตอนนี้ ก่อนหน้านี้ ยังอยู่ส่วนกลางหมด )  และให้แยกจากจังหวัด ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาค แต่ให้ผู้ว่าเป็นหัวหน้า อบจ.เหมือนเดิมจนถึง พ.ศ. 2540 
  •  ( อธิบายตรงนี้ได้ไหมครับมันเกิดอะไรขึ้น *** เกิดข้อดีและข้อเสียขึ้นพร้อมกัน ข้อดีคือ จอมพล ป. ผลักดันสุดกำลังให้เกิด องค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้น เพื่อให้เป็นเอกเทศ คือเป็นนิติบุคคลได้ แต่ ข้อผิดพลาด ของจอมพล ป.คือ อุตสาห์ดันสุดแรงเกิด แต่สุดท้าย ยกอำนาจทั้งหมดในการบังคับบัญชาไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเหมือนเดิม  ทำให้เกิด โครงสร้างทับซ้อนครับ คือ ตัวจังหวัดซึ่งเป็นส่วนภูมิภาค 1 โครงสร้าง และเกิดอีก 1 โครงสร้างคือ อบจ. แต่อยู่ในมือผู้ว่าหมด ทำให้ผู้ว่าสวมหมวก 2 ใบมาตั้งแต่นั้น และลากเอาความผิดพลาดนี้มาชั่วลูกชั่วหลานจนถึง พ.ศ.2540   
  •   (นี่คือที่ไปที่มา )เวลาเราตอบข้อสอบเราต้องเขียนที่มาก่อนไล่ลำดับให้ได้อะไรเกิดก่อนเกิดหลังแจกแจงให้เห็นประเด็นครับ ผ่านตลอด เนื้อหานี้จะอยู่ในการปกครองส่วนท้องถิ่น หรือการกระจายอำนาจ ตามแต่ละมหาวิทยาลัย แต่สาระหลักเป็นตามนี้
  • เมื่อพูดถึงองค์การบริหารไม่ว่า จะเป็น อบจ.อบต. สท.กทม.และพัทยา ก็ตามแต่ ให้เรา จำลองจากโครงสร้างใหญ่ของประเทศไปเลย รูปแบบเหมือนกันครับแต่ต่างกันตรงอำนาจ เขตอำนาจ และวิธีการนิดหน่อย
กล่าวคือ โครงสร้างใหญ่ มีรัฐบาล เป็นฝ่ายบริหารมีนายกฯเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีสภาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมีประธานสภาเป็นหัวหน้าฝ่านิติบัญญัติ 

  • เหมือนกัน อบจ.อบต. ก็มีนายกองค์การบริหาร เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และมีสภาท้องถิ่น เรียกชื่อต่างไป เช่น สจ. สมาชิสภาจังหวัด ) สท. สมาชิกสภาเทศบาล ) สก.สมาชิกสภากรุงเทพฯ )เป็นต้น พวกนี้คอยออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ที่เรียกว่า กฎ   ซึ่งผมเคยแจกแจงไปแล้วว่า กฎ กับ กฎหมายต่างกันอย่างไร ไปอ่านทบทวนได้

  • นายกฯ อบจ. มีอำนาจแต่งตั้ง รองนายกได้จะกี่คนขึ้นอยูกับจำนวนสมาชิกสภาจังหวัดเป็นเกณฑ์กำหนดครับ
  • ถ้าถ้าสภา  อบจ.มี 24-30คน ตั้งรองนายกได้ไม่เกิน 2 คน
  • ---------36-42 คน---------------------3 คน
  • --------------48 คน------------------------ 4 คน
  • นี่คือหลักเกณฑ์ ว่าจะกี่คน ขึ้นอยู่กับ ตัวเลข สจ.***
  • นอกจากนี้ นายกฯยังสามารถตั้งคนนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิก อบจ. ให้เป็น เลขาฯนายกฯ และที่ปรึกษาได้ ไม่เกิน 5คนรวมกัน คือเลขา 1 ที่ปรึกษา 4 รวม เป็น 5   **นี่คือรายละเอียดปลีกย่อยที่คนที่จะสมัครเป็นนายกฯ อบจ.ต้องเรียนรู้และปฏิบัติ มันมีกฎหมายวางไว้อยู่ เราต้องไม่พลาด ไม่เช่นนั้นถูกฟ้องครับจากคู่แข่งทางการเมือง ต้องระวังข้อนี้
  •         ลำดับชั้นบังคับบัญชาใน อบจ. นายกฯสูงสุด เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มาจากการเลือกตั้ง เป็นนักการเมือง รองลงมาคือ  รองนายกฯ ( ฝ่ายการเมือง ) รองลงมา มีปลัด อบจ. เป็นข้าราชการประจำ รองลงมา มีรองปลัด อบจ. เป็นข้าราชการประจำบังคับบัญญชาหน่วยงานทางปกครองที่ชื่อว่า อบจ.

         ในตอนต่อไปจะเสนออำนาจหน้าที่ของนายกฯและสภาในโอกาสต่อไป

                           กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น