กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ศาลปกครอง คืออะไร



ศาลปกครอง 



ศาลปกครอง ถูกตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีทางปกครองพ.ศ.2542 และภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 16 หรือฉบับปี 2540 

ศาลปกครองมีเพียง 2 ชั้นนะครับ โดยระบุไว้ชัดเจนในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง ฯ2542 ดังนี้ 


มาตรา 7 ศาลปกครองแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ

(1) ศาลปกครองสูงสุด

    (2) ศาลปกครองชั้นต้น ได้แก่
         (ก) ศาลปกครองกลาง         (ข) ศาลปกครองในภูมิภาค

  • ดังนั้นศาลปกครองกลางและศาลปกครองภูมิภาค ก็คือศาลปกครองชั้นต้นนั่นเอง 
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง

  • ศาลปกครองมีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีทางปกครอง หรือมีคำสั่ง ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 
มาตรา 9 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้


( 1 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎคำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริตหรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

( 2 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

( 3 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

( 4 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

( 5 ) คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

( 6 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
          เรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง
( 1 ) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร

( 2 ) การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ

( 3 ) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชน และครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น


ผู้ที่ใช้อำนาจทางปกครองมีอยู่ 2 คนคือ

1. หน่วยงานทางปกครอง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม อบจ. อบต. เทศบาล.รัฐวิสาหกิจ รวมถึงเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองแทนรัฐ

2. เจ้าหน้าที่ ได้แก่บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานทางปกครอง
  • ดังนั้นคดีทางปกครองจึงเป็นคดีที่เกิดขึ้นจากการ ออกคำสั่งทางปกครอง และ การออกกฎ ของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ซึ่งมีผลกระทบต่อบุคคลอื่น
คู่กรณีในคดีทางปกครอง

1) หน่วยงานทางปกครอง พิพาทกับ หน่วยงานทางปกครอง

2) หน่วยงานทางปกครอง   พิพาทกับ    เจ้าหน้าที่
3) หน่วยงานทางปกครอง   พิพาทกับ    เอกชน
4) เจ้าหน้าที่                           พิพาทกับ    เจ้าหน้าที่
5) เจ้าหน้าที่                           พิพาทกับ    เอกชน


  • คู่พิพาททางคดีปกครองจะมี 5 กรณีนี้เท่านั้น และ การนำคดี เข้าสู่ศาลปกครอง ผู้เสียหายโดยตรง ตามมาตรา 42 วรรค หนึ่งนำฟ้องได้โดยตรงโดยไม่ต้องใช้ทนายก็ได้ และกรณีอื่นที่เป็นไปตามระเบียบขั้นตอนตามกฎหมายให้ปฏิบัติต้องดำเนินตาม มาตรา 42 วรรค สอง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง ฟ้องความผิดเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ นี้ เพื่อขอให้ศาลสั่ง ตามมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ.นี้เช่นกัน 

ศาลปกครองสูงสุด

  • ศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.นี้คือ
มาตรา 11 ศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ดังต่อไปนี้ 
( 1 ) คดีพิพาทเกี่ยวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด

( 2 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือ กฎ ที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

( 3 ) คดีที่มีกฎหมายกำหนด ให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด

( 4 ) คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

  • นอกจากนี้ ยังมี พ.ร.บ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 นำมาประกอบกันไปด้วย
  • และในมาตรา 51 ของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ระบุให้ 
มาตรา 51 การฟ้องคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) (4) ให้ยื่นฟ้องภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีแต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี


การขอการคุ้มครองจากศาล

  • มาตรา 52 การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ หรือสถานะของบุคคลจะยื่นฟ้องคดีเมื่อใดก็ได้ 





กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์เอกการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น